ประกาศปฏิญญาเดลีและพิธีสารไซเบอร์พีซ
ไซเบอร์พีซ (CyberPeace) ร่วมกับซีวิล 20 (Civil 20), G20 อินเดีย (G20 India) โดยมีสถาบันสหบริการของอินเดีย (United Service Institution of India) เป็นพันธมิตรด้านองค์ความรู้ ปิดฉากการประชุมสุดยอดไซเบอร์พีซ (CyberPeace Summit) ครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 ที่กรุงนิวเดลี โดยมีผู้สนับสนุน ได้แก่ กระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และไอที, รัฐบาลอินเดีย, ศูนย์พิทักษ์โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลสำคัญแห่งชาติ (NCIIPC), ทีมตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางคอมพิวเตอร์-อินเดีย (CERT-In); บริษัทเทคโนโลยีและความปลอดภัยทางไซเบอร์ เช่น ซูม (Zoom), เมตา (Meta), อินโมบิ (InMobi), จีเอ็มอาร์ กรุ๊ป (GMR Group), ออโตบอท อินโฟเซค (Autobot Infosec); องค์กรระดับโลก เช่น อินเทอร์เน็ตโซไซตี้ (Internet Society), องค์กรอินเทอร์เน็ตเพื่อกำกับดูแลชื่อและหมายเลขที่ได้รับการกำหนด (ICANN), บรรทัดฐานที่ตกลงร่วมกันสำหรับการรักษาความปลอดภัยการจัดเส้นทาง (MANRS), ศูนย์ข้อมูลเครือข่ายเอเชียแปซิฟิก (APNIC), แอฟริกาไซเบอร์ดีเฟนซ์ฟอรัม (Africa Cyber Defense Forum), โกลบธิคส์ (Globethics); องค์กรในอินเดีย เช่น เดลเน็ต (DELNET), อินเดีย ฟาวน์เดชัน (India Foundation), เอสไอเอ อินเดีย (SIA India); สถาบันวิชาการ เช่น เอ็นแอลยู เดลี, บังคาลอร์ และโภปาล (NLU Delhi, Bangalore และ Bhopal); ไอเอสบี ไฮเดอราบาด (ISB Hyderabad), มหาวิทยาลัยราชตรียา รักชา (Rashtriya Raksha University), อมฤต วิศวะ วิทยาปีธรรม (Amrita Vishwa Vidyapeetham) และวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ชาห์ แอนด์ แองเคอร์ กัตชี มุมไบ (SAKEC Mumbai)
การประชุมสุดยอดดังกล่าว ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์, ผู้กำหนดนโยบาย, ผู้บริหารในอุตสาหกรรม และผู้สนใจด้านดิจิทัลระดับโลก มีบุคคลที่มีชื่อเสียงของโลกเข้าร่วมมากมาย อาทิ คุณแอนน์ นอยเบอร์เกอร์ (Ms. Anne Neuberger), รองผู้ช่วยประธานาธิบดีและผู้อำนวยการด้านไซเบอร์ของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา; คุณสุเรช ยาดาฟ (Mr. Suresh Yadav), สำนักงานเลขาธิการประเทศเครือจักรภพ; คุณเอสตี เพชิน (Ms. Esti Peshin), สำนักงานอวกาศอิสราเอล (Israel Aerospace); คุณปาโบล ฮิโนโฆซา (Mr. Pablo Hinojosa), APNIC; คุณเจย์ กัลลิช (Mr. Jay Gullish), สภาธุรกิจอินเดียแห่งสหรัฐ (USIBC); คุณจีนี ซูจีน กัน (Ms. Genie Sugene Gan), แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky); คุณกิลเบิร์ต เนียนเดเจ (Mr. Gilbert Nyandeje), แอฟริกา ไซเบอร์ ดีเฟนซ์ ฟอรัม, คุณสกอตต์ เจมส์ (Mr. Scott James), มหาวิทยาลัยอินเดียนา; พลโทเอ็มยู แนร์ (Lt Gen MU Nair), ผู้ประสานงานความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งชาติแห่งรัฐบาลอินเดีย; คุณเอสเอ็น ปราธาน (Mr. SN Pradhan), กรมตำรวจอินเดีย (IPS), อธิบดีสำนักงานปราบปรามยาเสพติดอินเดีย (NCB India); คุณนาวิน ซิงห์ (Mr. Navin Singh), IPS, อธิบดี NCIIPC และ ดร. ซานเจย์ บาห์ล (Dr. Sanjay Bahl), อธิบดี CERT-In
“ปฏิญญาเดลีและพิธีสารไซเบอร์พีซถือเป็นก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่ไซเบอร์สเปซที่ปลอดภัย ครอบคลุม และเข้มแข็งมากขึ้น เป้าหมายคือการยกระดับความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลก เสริมสร้างความรับผิดชอบของรัฐในโลกไซเบอร์ และสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางออนไลน์ให้กับทุกคน” พลโท (ดร.) ราเจช ปันท์ (เกษียณ) (Lt Gen (Dr.) Rajesh Pant (Retd)) อดีตผู้ประสานงานความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งชาติแห่งรัฐบาลอินเดีย กล่าว
ด้วยตระหนักถึงความเป็นผู้นำและบทบาทสำคัญของกลุ่มประเทศ G20 ในการกำหนดภูมิทัศน์ทางไซเบอร์ทั่วโลก โครงการริเริ่มนี้ได้เรียกร้องให้พวกเขาสนับสนุนหลักการเหล่านี้และเสริมสร้างความมุ่งมั่นของพวกเขาต่อโลกไซเบอร์ที่เปิดกว้าง ปลอดภัย และเข้มแข็ง
พันตรี วีนีต กุมาร์ (Major Vineet Kumar) ผู้ก่อตั้งไซเบอร์พีซ กล่าวว่า “การประชุมสุดยอดโกลบอลไซเบอร์พีซแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของเราในการส่งเสริมความร่วมมือ ความเข้มแข็ง และความสามัคคี ในภูมิทัศน์ไซเบอร์สเปซที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราผนึกกำลังกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางไซเบอร์จากทั่วโลก เราก็ไม่ได้เพียงแค่จินตนาการถึงอนาคตเท่านั้น หากแต่กำลังกำหนดอนาคตด้วย”
นอกจากนี้ ในการประชุมสุดยอดไซเบอร์พีซยังมีการมอบรางวัลไซเบอร์พีซ ออเนอร์ส (CyberPeace Honours) และอีรักชา อวอร์ดส์ (eRaksha Awards) ให้กับบุคคลในสาขาสันติภาพทางไซเบอร์อีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.cyberpeace.org/
รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/2213354/CyberPeace.jpg
โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/2213353/CyberPeace_Logo.jpg