วีมิกซ์ ฟาวน์เดชัน ตั้งคณะกรรมการดูแลการลงทุนตามโปรโตคอล WAIT

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วีมิกซ์ ฟาวน์เดชัน (WEMIX Foundation) ได้สร้างโปรโตคอล WAIT ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการตัดสินใจอย่างโปร่งใส เพื่อดำเนินกิจกรรมการลงทุนและการตลาดด้วยการสนับสนุนจากชุมชน

จากนั้นก็ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลการลงทุนขึ้นมา โดยเริ่มแรกนั้นตั้งใจไว้ว่าจะมีสมาชิก 3 ราย แต่ต่อมาก็ได้เพิ่มเป็น 5 ราย หลังจากที่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อให้สะท้อนความคิดเห็นได้อย่างหลากหลาย คณะกรรมการชุดนี้มีขึ้นเพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างยุติธรรม และรักษาจำนวนตัวแทนให้เหมาะสมเพื่อให้ดำเนินการได้อย่างว่องไวและมีประสิทธิภาพ

สมาชิกคณะกรรมการดูแลการลงทุนชุดแรกของวีมิกซ์ (WEMIX) ซึ่งจะทำหน้าที่พิจารณาการลงทุนของวีมิกซ์ ฟาวน์เดชัน ในรอบปีหน้าเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 และดำเนินการตามคะแนนโหวตที่ได้รับการอนุมัติแล้วของกลุ่ม 40 วอนเดอร์ส (40 WONDERS) ประกอบด้วย

  • ซูยอง ปาร์ค (Sooyong Park) ศาสตราจารย์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประจำมหาวิทยาลัยซอกัง หัวหน้าแผนกหลอมรวมเทคโนโลยีประจำคณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจเอสเอ็มอี และอดีตประธานคนที่ 2 ของสำนักงานส่งเสริมสารสนเทศและการสื่อสารของเกาหลี
  • ยู่หัว อัน (Yuhua An) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเออร์ไวน์ และอดีตกรรมการในคณะกรรมการทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
  • คุน-โฮ ลี (Kun-Ho Lee) ประธานเครือข่ายวิจัยนวัตกรรมทางการเงิน ผู้อำนวยการภายนอกของทอสส์ แบงก์ (Toss Bank) และอดีตซีอีโอของเคบี กุกมิน แบงก์ (KB Kookmin Bank)
  • เฮนรี ชาง (Henry Chang) ซีอีโอของวีเมด (WEMADE)
  • ไดวอน ฮยอน (Daiwon Hyun) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเมตาเวิร์สและศูนย์วิจัยสินทรัพย์ดิจิทัลที่มหาวิทยาลัยซอกัง และอดีตประธานสมาคมอุตสาหกรรม VR AR ของเกาหลี

ในอนาคตข้างหน้า ทางคณะกรรมการดูแลการลงทุนจะใช้แนวทางหลายมิติในการลงทุน เพื่อขยายระบบนิเวศของวีมิกซ์ ซึ่งเชื่อว่านอกจากจะส่งผลดีต่อวีมิกซ์ ฟาวน์เดชัน แล้ว ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อชุมชน นักลงทุน และอุตสาหกรรมด้วย แนวทางนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มความโปร่งใสของกระบวนการตัดสินใจเท่านั้น แต่ยังช่วยให้วีมิกซ์เติบโตอย่างแข็งแรงและมั่นคงอีกด้วย

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2048438/WEMIX_Foundation_establishes_WAIT_Protocol_Investment_Committee.jpg

คำบรรยายภาพ – วีมิกซ์ ฟาวน์เดชัน ตั้งคณะกรรมการดูแลการลงทุนตามโปรโตคอล WAIT

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์