รายงานประจำปีหัวข้อ IT Security Economics ฉบับล่าสุดจากแคสเปอร์สกี้ เปิดเผยว่าจากการที่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีมีความซับซ้อนขึ้นทุกวัน องค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องยกระดับทักษะความชำนาญงานของผู้เชี่ยวชาญระบบรักษาความปลอดภัยเช่นกัน ผนวกกับปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ที่ได้เข้ามาอีกปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใดก็ตาม จำเป็นต้องเพิ่มการลงทุนด้านระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของตนเองให้แน่นหนายิ่งขึ้นด้วย
ผลสำรวจจาก PWC ระบุว่า อัตราการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลที่สูงขึ้น ทำให้ธุรกิจต่างๆ หันมาให้ความสนใจต่อการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น อีกทั้งแนวโน้มของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาก็ยังเป็นผลให้เกิดความต้องการในการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยด้านไอทีมากขึ้น ในการสำรวจว่าธุรกิจต่างๆ ใช้งบประมาณลงทุนมากเท่าใดในด้านการรักษาความปลอดภัยทางไอทีและมีแผนลงทุนในอนาคตอย่างไร แคสเปอร์สกี้ได้ทำการสำรวจโดยใช้การสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจที่มีจำนวนพนักงานเกิน 50 คนมากกว่า 3,230 ราย ใน 26 ประเทศ โดยผู้ให้สัมภาษณ์กว่า 834 รายมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ผลสำรวจระบุว่ามีการตั้งงบประมาณการลงทุนด้านไอทีสำหรับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้สูงขึ้นในอีกสามปีข้างหน้าสำหรับ SMB และองค์กรขนาดใหญ่ครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ค่าเฉลี่ยของงบลงุทนระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปี 2665 จึงอยู่ที่ 3.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หรือเอ็นเทอร์ไพรซ์ จะมีงบประมาณสำหรับด้านไอทีโดยทั่วไปออยู่ที่ 12.5 ล้านดอลลาร์ และ SMB จะลงทุนอยู่ที่ 1.5 แสนดอลลาร์ จากค่าเฉลี่ยของงบประมาณด้านไอทีจำนวน 3.75 แสนดอลลาร์
นอกจากนี้ SMB และเอ็นเทอร์ไพรซ์ในเอเชียแปซิฟิก ยังมีแผนที่จะเพิ่มงบประมาณด้านการป้องกันภัยคุกคามบนช่องทางออนไลน์อีกร้อยละ 3 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกถึงร้อยละ 14
ผู้ตอบคำถามจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบุว่าหนึ่งในสาเหตุของการเพิ่มงบประมาณลงทุนด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ คือ ความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานทางไอที (คิดเป็นร้อยละ 61 นับรวมทั้ง SMB และเอ็นเทอร์ไพรซ์) และความต้องการในการยกระดับความรู้ความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย (คิดเป็นร้อยละ 56 นับรวมทั้ง 2 กลุ่ม) ขณะที่แนวโน้มความเสี่ยงใหม่ซึ่งเกิดขึ้นจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์หรือความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจถูกเน้นย้ำให้เป็นเหตุผลในการเพิ่มงบลงทุน (คิดเป็นร้อยละ 45 สำหรับ SMB และ ร้อยละ 50 สำหรับเอ็นเทอร์ไพรซ์)
นายคริส คอนเนล กรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “EY CEO Outlook Pulse เผยให้เห็นว่า ปัญหาธุรกิจหยุดชะงักในช่วงโรคระบาด ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ยังตามหลอกหลอนบรรดาองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปีที่ผ่านมา สิ่งที่ตามมาหลังจากปัญหาในข้างต้น คือปัญหาด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ เข่น การโจรกรรมข้อมูลและแรนซัมแวร์ซึ่งทำให้หลายธุรกิจใหญ่ในภูมิภาคไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นจนเกิดการหยุดชะงักภายในช่วงปี 2565 ดังนั้นการเพิ่มงบลงทุนในด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์คือการก้าวเดินอย่างถูกต้องการสร้างเกราะป้องกันให้กับธุรกิจต่อการเผชิญภัยคุกคามทางไซเบอร์ อันรวมถึงการปกป้องสินทรัพย์จากภัยคุกคาม black swans ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2566”
การเพิ่มงบลงทุนในด้านนี้ถือเป็นความคาดหวังในการที่จะช่วยผู้ประกอบการท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้สามารถบ่งชี้ถึงข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยด้านไอทีได้ ในปีนี้ พบว่าร้อยละ 59 ของธุรกิจได้หันมามองเห็นความสำคัญของการปกป้องข้อมูลองค์กรเป็นประเด็นที่ท้าทายที่สุด รองลงมา คือ ค่าใช้จ่ายในการปกป้องระบบเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 51 และปิดท้ายด้วยการนำโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์เข้ามาประยุกต์ใช้คิดเป็นร้อยละ 44
นายอิวาน วาสซูนอฟ รองประธาน ฝ่ายผลิตภัณฑ์องค์กร แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ความต่อเนื่องในการดำเนินการของธุรกิจขึ้นอยู่กับความมั่นคงทางข้อมูล ปัจจุบันนี้ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และการโจมตีทางไซเบอร์ต่างมีความซับซ้อน ธุรกิจต่างๆ จะต้องตื่นตัวและการทำความเข้าใจถึงความจำเป็นในการปกป้องสินทรัพย์ขององค์กรมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน การกำกับดูแลจากภาครัฐเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการขยายงบลงทุนด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากองค์กรเหล่านี้ได้กำหนดให้ธุรกิจต่างๆ ดำเนินธุรกิจ ควบคู่ไปกับการที่ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ดี บางครั้งหน่วยงานกำกับดูแลก็มีการออกข้อบังคับ มาตรการ ที่เข้มงวดต่อระบบช่องทางการตลาดแนวตั้งหรือทั้งอุตสาหกรรม”
เพื่อให้การลงทุนด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีประสิทธิภาพสูงสุด และลดความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีและการโจรกรรมข้อมูลทางธุรกิจ การใช้โซลูชั่นระบบป้องกันปลายทางที่มีประสิทธิภาพซึ่งมาพร้อมกับความสามารถในการตรวจจับและตอบสนองภัยคุกคามจึงเป็นเรื่องจำเป็น โซลูชั่นในการปกป้องอุปกรณ์ปลายทางที่ต้องมีได้แก่ Kaspersky Optimum Security framework ส่วนองค์กรที่ต้องการใช้งานฟังก์ชั่นระบบรักษาความปลอดภัยทางไอทีขนาดใหญ่ Kaspersky Expert Security framwork จะมอบการป้องกันด้วยฟังก์ชั่น anti-APT พร้อมทั้งข้อมูลล่าสุดจาก threat intelligence และ professional training ให้อีกด้วย
สำหรับ SMB และองค์กรธุรกิจขนาดกลางนั้น แคสเปอร์สกี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังได้เปิดตัวโปรโมชั่นซื้อ 1 ฟรี 1 สำหรับธุรกิจ SMB และองค์กรขนาดกลาง องค์กรธุรกิจสามารถใช้งานการป้องกันอุปกรณ์เอ็นด์พอยต์ระดับองค์กรเป็นเวลาสองปีในราคาหนึ่งปี ด้วย Kaspersky Endpoint Security for Business หรือ Cloud หรือ Kaspersky Endpoint Detection and Response Optimum พร้อมการสนับสนุนทางโทรศัพท์ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ลูกค้าที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ [email protected]
ศึกษาข้อมูลรายละเอียดเชิงลึกเพิ่มเติมในด้านต้นทุนระบบรักษาความปลอดภัยทางไอทีและงบประมาณลงทุนในธุรกิจ ประจำปี 2565 ได้โดยการเข้าชม Kaspersky IT Security Calculator ที่ให้บริการแบบอินเทอร์แอคทีฟ รายงาน IT Security Economics 2022 เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วที่นี่ https://calculator.kaspersky.com/report
ที่มา: พิตอน คอมมิวนิเคชั่น