หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชัน “การเชื่อมต่อที่ครอบคลุม 2.0” ที่งาน MWC 2566 ยกระดับการเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียม

หัวเว่ย (Huawei) เปิดตัวโซลูชัน “การเชื่อมต่อที่ครอบคลุม 2.0” (Inclusive Connectivity 2.0) ที่งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) ประจำปี 2566 การเปิดตัวครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนาในหัวข้อ “การขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลของบริการสาธารณะ” (Accelerating Digital Transformation of Public Services) ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญด้านบริการสาธารณะเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลของภาคส่วน เพื่อมองหาวิธีการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

การส่งเสริมความครอบคลุมทางดิจิทัลด้วยการเชื่อมต่อสากล

แม้จะมีการเข้าถึงการเชื่อมต่อที่มากขึ้น แต่ผู้คนกว่า 400 ล้านคนทั่วโลกยังคงไม่สามารถเข้าถึงเครือข่ายบรอดแบนด์โทรศัพท์มือถือ (ประมาณ 5% ของประชากรทั้งหมด) ผู้ที่อาศัยในแถบชนบทของประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง มีโอกาสใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือน้อยกว่าผู้อยู่อาศัยในเมืองถึง 33%

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลทั่วโลกจึงเริ่มหันมาใช้กลยุทธ์เพิ่มการเชื่อมต่อในพื้นที่ชนบทด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในพื้นที่ห่างไกล โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการบรรลุบริการดิจิทัลที่ครอบคลุมและเท่าเทียมเพื่ออุดช่องโหว่ทางดิจิทัล

โซลูชันของหัวเว่ยมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล คุณแอนดรูว์ จาง (Andrew Zhang) รองประธานภาคสาธารณะของหัวเว่ย อธิบายว่า “หัวเว่ยเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลชั้นนำระดับโลก มอบการสนับสนุนรัฐบาลหลายแห่งในเส้นทางการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล โซลูชันที่ทันสมัยของเราสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล เปิดใช้งานการเชื่อมต่อที่ครอบคลุม นำเสนอโลกดิจิทัลสู่ผู้คน”

ในการนี้ หัวเว่ยจึงได้เปิดตัวโซลูชันการเชื่อมต่อที่ครอบคลุม 2.0 ภายในงาน MWC 2566 ซึ่งจะอำนวยความสะดวกการสร้างเครือข่ายในพื้นที่ห่างไกลที่มีสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน โซลูชันนี้รวมไว้ซึ่งดาต้าคอม เครือข่ายออปติก และผลิตภัณฑ์ไร้สาย ซึ่งออกแบบมาเพื่อนำการเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ชนบทและพื้นที่ภูเขาที่ห่างไกล

เป้าหมายเบื้องหลังโซลูชันการเชื่อมต่อที่ครอบคลุม 2.0 คือการลดต้นทุนการสร้างเครือข่ายและเร่งการเปิดตัวเครือข่าย ขับเคลื่อนข้อมูลระดับชาติที่รวดเร็วและคุ้มค่า เพื่อช่วยให้รัฐบาลทั่วโลกสามารถยกระดับการส่งมอบบริการและคุณภาพชีวิตผู้คนในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก

ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลของบริการสาธารณะ

ทุกวันนี้ บริการสาธารณะต้องมุ่งเน้นที่ประชาชน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐาน “คลาวด์ + เครือข่าย” ด้วยการออกแบบระดับชั้นนำเพื่อให้บริการสาธารณะดิจิทัลมีความครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มและบรรลุการเชื่อมต่อโครงข่ายที่ทั่วถึง

สถาปัตยกรรม “คลาวด์ + เครือข่าย” แบบบูรณาการช่วยให้ภาครัฐสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่ายและภูมิภาคได้อย่างง่ายดายและปลอดภัย นำเสนอบริการแบบครบวงจรสำหรับสาธารณะ ในขณะเดียวกัน ยังสามารถสร้างสภาพแวดล้อมของผู้รับแบบรวมศูนย์ ปลอดภัย และเชื่อถือได้สำหรับหน่วยงานของรัฐในการเชื่อมต่อระหว่างกันและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้บรรลุประสิทธิภาพการกำกับดูแลที่ดีขึ้น

คุณหง เอิง โก๊ะ (Hong-Eng Koh) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมบริการสาธารณะระดับโลกของหัวเว่ย กล่าวว่า “หัวเว่ยมอบความช่วยเหลือแก่ลูกค้าภาครัฐ วงการการศึกษาและการดูแลสุขภาพทั่วโลกในเส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีที่ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น 5G, F5G, คลาวด์, บิ๊กดาต้า และเอไอ เราช่วยเหลือลูกค้าของเราด้านโครงสร้างพื้นฐานระดับประเทศและการเชื่อมต่อในระยะสุดท้าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสังคมดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัล และรัฐบาลดิจิทัล”

คุณคริส บาร์โยมุนสิ (Chris Baryomunsi) รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีและยุทธศาสตร์ชาติของยูกันดากล่าวว่า “ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอัจฉริยะทั่วประเทศนั้น รัฐบาลได้ทำงานอย่างจริงจังเพื่อขยายความเป็นดิจิทัลของประเทศในหลายสาขา สร้างความเปลี่ยนแปลงแบบทวีคูณด้านไอซีทีในอุตสาหกรรมระดับทุติยภูมิและตติยภูมิที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่คุณค่ามหาศาลต่อเศรษฐกิจของประเทศ”

พันธกิจของหัวเว่ยในภาครัฐและบริการสาธารณะคือการช่วยเหลือประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ในการ “ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลระดับชาติและเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลของบริการสาธารณะ” เราหวังว่าจะช่วยให้รัฐบาลทั่วโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้เร็วยิ่งขึ้น

สื่อมวลชนติดต่อ:
[email protected]

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2013176/image_986294_75812793.jpg
คำบรรยายภาพ – คุณหง เอิง โก๊ะ (Hong-Eng Koh) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมบริการสาธารณะระดับโลกของหัวเว่ย เปิดตัวโซลูชัน “การเชื่อมต่อที่ครอบคลุม 2.0” (Inclusive Connectivity 2.0)

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์