บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยา ต่อยอดโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม เร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรไอซีทีในกลุ่มเจ้าหน้าที่ เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพจังหวัดพะเยา เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ 5G คลาวด์ AI และ IOT สำหรับเพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันในตลาด การทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และประสิทธิภาพการดำเนินงานในภาคเกษตรกรรม โดยโครงการครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดจากการพัฒนาทักษะดิจิทัลในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาไทย ตอบโจทย์การแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรไอซีทีในประเทศไทย และตอกย้ำพันธกิจของหัวเว่ยด้านการ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย”
โดยจากเป้าหมายของโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคมคือ การพัฒนากลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่ห่างไกลเป็นขั้นแรก ได้ขยายผลการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลมาที่ภาคธุรกิจ ซึ่งจังหวัดพะเยาถือเป็นจังหวัดทีมีศักยภาพทางธุรกิจในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ทั้งยังมีศักยภาพในการช่วยรองรับการเติบโตของกลุ่มธุรกิจระดับเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ หัวเว่ย ประเทศไทย ต้องการช่วยเพิ่มศักยภาพให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยาและกลุ่มบุคลากรภาคธุรกิจด้วยการส่งมอบองค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G และคลาวด์ให้แก่กลุ่มเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ สำหรับช่วยส่งเสริมการทำธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI และ IOT เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและผลิตภัณฑ์ในภาคเกษตรกรรมผ่านการเรียนรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล เพื่อช่วยพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นอกเหนือจากนี้ หัวเว่ย ยังเดินทางไปฝึกอบรมและร่วมเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ณ โรงเรียนมัธยมศึกษาและประถมศึกษาอีก 4 โรงเรียน ในพื้นที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ได้แก่ โรงเรียนบ้านท่าฟ้าใต้ โรงเรียนเชียงม่วนวิทยาคม โรงเรียนชุมชนบ้านหลวง และโรงเรียนบ้านไชยสถาน เพื่อให้นักเรียนในพื้นที่ดังกล่าวได้รับโอกาสในการเรียนรู้ทางด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เทคโนโลยี 5G กับเทรนด์เทคโนโลยี และการเดินทางไปฝึกอบรมของโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคมในครั้งนี้ทำให้สามารถฝึกอบรมบุคลากรของหอการค้า กลุ่มเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือได้มากถึง 150 คน
การขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเรื่องความไม่เท่าเทียมในสังคมไทย ดังนั้นการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีจึงถือเป็นเรื่องสำคัญมากในยุคดิจิทัลที่กำลังจะมาถึง โดยหัวเว่ย ประเทศไทย มีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันความเท่าเทียมและคุณภาพของการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคมถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยส่งมอบองค์ความรู้ พัฒนาทักษะ และผลักดันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในหมู่ประชาชน และบุคคลทั่วไป ทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและทักษะเทคโนโลยีให้แก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลอีกด้วย
ในช่วงเวลาสองถึงสามทศวรรษต่อจากนี้ เทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่พาเราเข้าสู่โลกอัจฉริยะ ซึ่งเข้ามามีบทบาทที่เด่นชัดมากขึ้นในช่วงสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 โดยมีนวัตกรรมต่าง ๆ มาช่วยเปิดโอกาสแทนที่รูปแบบเดิม สำหรับประเทศไทย เศรษฐกิจดิจิทัลถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสร้างตำแหน่งหน้าที่การงานใหม่ ๆ และทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ตาม ช่องว่างที่มาจากการขาดแคลนบุคลากรด้านไอซีทีและการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมทำให้เกิดปัญหาคอขวดแก่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ซึ่งหัวเว่ย ได้จับมือกับกระทรวงต่าง ๆ อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ในการนำโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคมเข้าไปปิดช่องโหว่ด้านดิจิทัลด้วยการขยายทักษะและบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทย
หัวเว่ย ตระหนักถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือสังคมผ่าน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถทำได้ภายในระยะเวลาอันสั้น หัวเว่ยจึงได้มุ่งมั่นที่จะเข้ามาสนับสนุนสังคมโดยเริ่มปูพื้นฐานจากด้านการศึกษาเพื่อให้เด็ก นักเรียน และประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา โครงการ หัวเว่ย รถดิจิทัลเพื่อสังคม ได้ส่งมอบความรู้ให้กับพื้นที่ห่างไกลใน 10 จังหวัด กว่า 25 โรงเรียนทั่วประเทศไทย เพื่อสร้างความเท่าเทียมในสังคม พร้อมยกระดับประสิทธิภาพทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และเพิ่มโอกาสเรียนรู้ในคุณภาพที่เท่ากันทั้งในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี 5G AI และคลาวด์ โดยกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการมีตั้งแต่กลุ่มเด็กประถม กลุ่มเด็กมัธยมต้น กลุ่มเปราะบาง กลุ่มแรงงานและพาณิชย์จังหวัดรวมไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย จำนวนกว่า 2,000 คน ในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจ “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” ที่หัวเว่ยมุ่งมั่นจะส่งเสริมการยกระดับทักษะบุคลากรไทยด้านไอซีที เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสำคัญในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาบุคลากรของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นการนำเทคโนโลยีไปสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกอค์กร และเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคอัจฉริยะที่เชื่อมถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ
ที่มา: คาร์ลบายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์