ในงาน Supercomputing Conference 2022 (SC22) AMD (NASDAQ: AMD) ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและแสดงศักยภาพความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) โดยโปรเซสเซอร์ AMD EPYC และกราฟิกการ์ด AMD Instinct ยังคงเป็นตัวเลือกสำหรับเวิร์คโหลดงานด้าน HPC ที่มีความต้องการมากที่สุด เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการจำลองงานและเป็นเครื่องมือในการสร้างโมเดลที่ซับซ้อนที่สุด
ฟอร์เรสต์ นอร์รอด รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Data Centre และ Embedded Solution Business Group บริษัท AMD กล่าวว่า “นวัตกรรมด้านการประมวลผลประสิทธิภาพสูงนั้นมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมากในสังคม ทั้งในด้านความก้าวหน้าในการวิจัยที่ล้ำสมัย ซึ่งสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลกได้อย่างมหาศาล AMD ยังคงคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์ AMD EPYC และกราฟิกการ์ด AMD Instinct อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่านักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่กำลังทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มีความท้าทายมากที่สุดในโลกจะมีเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการวิจัยของพวกเขา”
ไฮไลท์สำคัญในงานด้าน HPC
AMD กำลังขับเคลื่อนในเชิงนวัตกรรมทั้งในด้านของประสิทธิภาพการประมวลผลและการใช้พลังงาน ดังที่ได้เห็นในการจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Top500 ครั้งล่าสุด ซึ่งประกอบไปด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์จำนวน 101 เครื่องที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพบนขุมพลังผลิตภัณฑ์ AMD ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่มีทั้งหมดเพียง 73 เครื่อง หรือเพิ่มขึ้นถึง 38 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Frontier ที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพบนโปรเซสเซอร์และกราฟิกการ์ด AMD ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ Oak Ridge National Laboratory (ORNL) ยังคงมีประสิทธิภาพติดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับ Top500 ด้วยประสิทธิภาพ 1.1 เอ็กซะฟล็อป โดยมีประสิทธิภาพมากกว่าอันดับถัดไปถึงสองเท่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าผลรวมของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 4 อันดับถัดไป อีกทั้งประสิทธิภาพการประมวลผลในรูปแบบ mix-precision ของ Frontier เมื่อโอเวอร์คล็อก มีประสิทธิภาพอยู่ที่ 7.94 เอ็กซะฟล็อป ทดสอบโดย HPL-MxP Mixed-Precision Benchmark รวมไปถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Setonix ที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพการประมวลผลบนโปรเซสเซอร์ AMD EPYC และกราฟิกการ์ด AMD Instinct ซึ่งตั้งอยู่ที่ Pawsey Supercomputing Centre ได้เข้ามาติด Top500 ในอันดับที่ 15 ด้วยประสิทธิภาพ 27.2 เพตะฟล็อป
นอกจากนี้ AMD ยังมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนการใช้พลังงานบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นจำนวนกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของ 20 อันดับแรกในการจัดอันดับ Green500 ซึ่งรวมไปถึงอันดับที่ 2 อย่าง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Frontier TDS และอันดับที่ 6 ซึ่งเป็นระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบเต็มรูปแบบ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Adastra พัฒนาโดย GENCI ส่งมอบประสิทธิภาพการประมวลผล 58.02 กิกะฟล็อปต่อวัตต์ และอยู่ในอันดับที่ 3 ของการจัดอันดับ โดย Adastra เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพบนโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เจนเนอเรชั่นที่ 4 และกราฟิกการ์ด AMD Instinct MI250
ฟิลิปเป้ ลาโวแคท ซีอีโอ บริษัท GENCI กล่าวว่า “ในช่วงต้นปี 2566 GENCI ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้าน HPC/AI ของประเทศฝรั่งเศษ จะมีการปรับใช้พาร์ติชั่นสเกลาร์เพิ่มเติมบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ HPE Cray EX400 ในชื่อ Adastra ซึ่งดำเนินงานโดย CINES (Montpellier) พาร์ติชั่นใหม่นี้มีโหนดประมวลผล 536 โหนด แต่ละโหนดจะมีโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เจนเนอเรชั่นที่ 4 แบบคอร์ประมวลผล 96 คอร์ จำนวน 2 ตัว และหน่วยความจำ DDR5 ขนาด 768 GB ซึ่งจะได้รับประสิทธิภาพจากนวัตกรรมล่าสุดของ AMD ในด้านความหนาแน่น/ประสิทธิภาพของคอร์ประมวลผล และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พาร์ติชั่นใหม่นี้จะตอบสนองความต้องการด้านการวิจัยให้กับผู้ใช้ด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศฝรั่งเศษ ทั้งในด้านภูมิอากาศ ชีววิทยาและการแพทย์ พลังงานหรือส่วนประกอบใหม่ ๆ”
ปีแห่งชัยชนะในด้านความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและระบบนิเวศ
AMD ยังคงสร้างประวัติศาสตร์ในการเป็นบริษัทแรกในอุตสาหกรรมที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพล้ำสมัย นอกจากนี้ ในความร่วมมือครั้งล่าสุดยังได้พัฒนาอุตสาหกรรมด้าน HPC อย่างมีนับสำคัญ และแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่เติบโตขึ้นอย่างมากในผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์และกราฟิกการ์ด AMD
- AMD ประกาศเปิดตัวโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เจนเนอเรชั่นที่ 4 พร้อมคอร์ประมวลผลสูงสุด 96 คอร์ 12 แชนแนล และหน่วยความจำ DDR5 สูงสุด 384GB เสนอประสิทธิภาพการประมวลผลในระดับผู้นำที่จำเป็นสำหรับเวิร์คโหลดงานสำคัญด้าน HPC
- HPE ประกาศรองรับโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เจนเนอเรชั่นที่ 4 และกราฟิกการ์ด AMD Instinct MI250X บนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ HPE Cray EX2500 และ HPE Cray XD2000
- Lenovo ประกาศว่า Potsdam Institute for Climate Research (PIK) ได้เลือกโซลูชั่นระบายความร้อนระบบน้ำสำหรับงานด้าน HPC และ Lenovo Neptune ของ Lenovo มาใช้ในการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ซึ่งจะรองรับโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เจนเนอเรชั่นที่ 4
- Microsoft ประกาศเปิดตัวเวอร์ชวลแมชชีน (VMs) รุ่นทดลอง สำหรับการทำงานด้าน HPC โดยเวอร์ชวลแมชชีนซีรีย์ HBv4 และซีรีย์ HX ใหม่ ขับเคลื่อนประสิทธิภาพบนโปรเซสเซอร์ 4th Gen AMD EPYC และจะมาพร้อมเทคโนโลยีฟีเจอร์ AMD 3D V-Cache(TM) Technology เมื่อวางจำหน่ายในปี 2566 นอกจากนี้ Microsoft ยังได้ประกาศเปิดตัวเวอร์ชวลแมชชีนและคอนเทนเนอร์เพิ่มเติมที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพบนโปรเซสเซอร์ 4th Gen AMD EPYC อีกด้วย
- ความร่วมมือระหว่าง DeVito และ AMD ในการรองรับกราฟิกการ์ด AMD Instinct MI200 และซอฟต์แวร์ AMD ROCm บน HIP เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงานให้กับลูกค้า DeVito
- AMD ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม 5 รางวัลในงานประจำปี HPCwaire Readers’ and Editors’ Choice Awards ประกอบด้วยรางวัล Top Supercomputing Achievement และ Best Sustainability Innovation in HPC
AMD ขับเคลื่อนการทำงานบนโอเพนซอร์ส AI
กราฟิกการ์ด AMD ได้รับการสนับสนุนบนซอฟต์แวร์ระบบเปิด ROCm ซึ่งช่วยให้กระบวนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สามารถดำเนินงานไปอย่างราบรื่น โดยสามารถรวมเข้ากับการทำงานบนซอฟต์แวร์ของผู้จัดจำหน่ายและในด้านสถาปัตยกรรมหลากหลายราย ในปีนี้ AMD ประกาศขยายระบบนิเวศบนผลิตภัณฑ์กราฟิกการ์ด AMD Instinct และซอฟต์แวร์ ROCm เสนอเทคโนโลยีระดับเอ็กซาร์สเกลให้กับลูกค้าในด้าน HPC และ AI
นอกจากนี้ AMD ยังได้เข้าร่วม PyTorch Foundation อย่างเป็นทางการ ในฐาณะสมาชิกผู้ก่อตั้ง ซึ่งแต่เดิมถูกตัดตั้งขึ้นโดย Meta AI โดยจะอยู่ภายใต้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Linux Foundation เพื่อผลักดันการเครื่องมือด้าน AI มาใช้ในการส่งเสริมและรักษาระบบนิเวศด้านโครงการโอเพนซอร์ส ซึ่งทาง Meta AI ได้พัฒนาโอเพนซอร์ส AITemplate (AIT) ซึ่งเป็นระบบการอนุมานแบบรวมศูนย์ที่สามารถเร่งกระบวนการทำงานผ่านกราฟิกการ์ด AMD Instinct เสนอประสิทธิภาพการทำงานบนเมทริกซ์คอร์ที่ใกล้เคียงบนฮาร์ดแวร์ในรูปแบบ AI ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมบูธ AMD หมายเลข #2417 ที่งาน SC22 เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นด้าน HPC และร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของ AMD
ที่มา: พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง