ผู้ทดสอบและนักพัฒนากว่า 2,500 คนจากกว่า 100 ประเทศ เข้าร่วมงานประชุมเทสต์มิวครั้งแรก เป็นแหล่งรวมชุมชนการทดสอบซอฟต์แวร์เข้าด้วยกัน

งานประชุมเทสต์มิวซึ่งจัดขึ้นทางออนไลน์โดยแลมบ์ดาเทสต์เสร็จสิ้นลงด้วยความสำเร็จอย่างล้นหลาม โดยมีนักทดสอบและนักพัฒนาจากทั่วโลก วิทยากรกว่า 30 คน และพันธมิตรในอุตสาหกรรม 17 รายได้เชื่อมต่อถึงกันเพื่อหารือเกี่ยวกับอนาคตของการทดสอบซอฟต์แวร์

แลมบ์ดาเทสต์ (LambdaTest) แพลตฟอร์มทดสอบคุณภาพซอฟต์แวร์แบบต่อเนื่องในคลาวด์ระดับแนวหน้า ประสบความสำเร็จในการจัดงานประชุมเทสต์มิว (Test?) เสร็จสิ้นเป็นครั้งแรก อีเวนต์ออนไลน์ระยะเวลาสามวันซึ่งเข้าร่วมได้ฟรีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 ถึง 25 สิงหาคม 2565 โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นนักทดสอบและนักพัฒนากว่า 2,500 คนจากกว่า 100 ประเทศ ซึ่งใช้เวลาเฉลี่ยมากกว่า 5 ชั่วโมงในงานประชุมครั้งนี้ งานประชุมเทสต์มิวนี้ได้เป็นแหล่งรวมชุมชนการทดสอบและทำให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับอนาคตของการทดสอบซอฟต์แวร์

ด้วยวิทยากร 47 คนและรายการประชุมที่มุ่งเน้นการทดสอบซอฟต์แวร์รวม 1,900 นาที งานประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยการประชุมหลายรายการจากผู้นำในชุมชน นักนวัตกรรม และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ผู้นำทางความคิดระดับแนวหน้า อย่างเช่น มาเร็ต พีฮายาร์วี (Maaret Pyhaejaervi) หัวหน้าวิศวกรทดสอบจากไวซาลา (Vaisala), ริชาร์ด แบรดชอว์ (Richard Bradshaw) ซีอีโอมินิสตรี ออฟ เทสติง (Ministry of Testing), ไชธันยา โคลาร์ (Chaithanya Kolar) กรรมการผู้จัดการและผู้นำวิศวกรคุณภาพจากดีลอยท์ (Deloitte) สหรัฐ, มานีช ชาร์มา (Maneesh Sharma) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ แลมบ์ดาเทสต์ และมาโนจ คูมาร์ (Manoj Kumar) รองประธานฝ่ายนักพัฒนาสัมพันธ์ แลมบ์ดาเทสต์ ได้จัดรายการประชุมหลักในงานประชุมเทสต์มิวในหัวข้อต่าง ๆ ตั้งแต่เทคโนโลยีเชิงลึกไปจนถึงบทบาทของชุมชนในการทดสอบ วิทยากรกว่า 40 คนได้กล่าวในหัวข้อต่าง ๆ เกี่ยวกับการทดสอบในด้านที่สำคัญ อย่างเช่น การทดสอบระบบอัตโนมัติ การทดสอบตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม (shift-left testing) การทดสอบ API การทดสอบแบบ TRIM(S) ความเป็นผู้นำของทีมนักทดสอบ การทดสอบการเข้าถึงได้ วิวัฒนาการของการทำให้เบราว์เซอร์สืบค้นเป็นอัตโนมัติ เซเลเนียม (Selenium) 4.0 โอเพนซอร์สด้วยเซเลเนียม การทดสอบด้วยไซเปรส (Cypress) และแอปเพียม (Appium) และอื่น ๆ

มาเร็ต พีฮายาร์วี ผู้นำชุมชนการทดสอบที่มีชื่อเสียงและวิทยากรหลักในงานประชุมเทสต์มิว กล่าวว่า “ผู้จัดงานประชุมเทสต์มิวได้นำเสนอหัวข้อที่เป็นประโยชน์ซึ่งเลือกสรรมาเป็นอย่างดีโดยเชื่อมต่อสิ่งที่เราต้องการจะเรียนรู้กับผู้ที่สามารถสอนสิ่งนั้นได้ การสร้างพื้นที่สำหรับการสนทนา ทั้งในการประชุมกับวิทยากรและภายนอกในแชทการพูดคุยระยะใกล้ เอื้อต่อการแสวงหาคำตอบให้กับคำถามที่เราต้องการ การจัดเตรียมดีเยี่ยม ผู้คนดีเยี่ยม พื้นที่ดีเยี่ยมสำหรับให้คนได้เชื่อมต่อกัน”

ผู้เข้าร่วมงานได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้นำทางความคิดระดับโลกผ่านช่วงถาม-ตอบคำถามและพื้นที่ที่ลื่นไหล โดยฟลูอิด สเปซ (Fluid Spaces) ฟีเจอร์รองรับการสนทนาที่ทำงานได้อย่างชาญฉลาดจากแอร์มีท (Airmeet) แพลตฟอร์มโลกเสมือนซึ่งเป็นพื้นที่จัดงานประชุมเทสต์มิว ได้ทำให้การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการประชุมแบบต่อหน้าได้มีชีวิตขึ้นมา ผู้เข้าร่วมงานประชุมครั้งนี้ยังได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเทสต์อะธอน (Test-a-thon) กิจกรรมท้าทายการเขียนโค้ดประจำวัน มาราธอนการรับรอง และตารางอันดับของงานประชุม นอกจากนี้ยังมีการจัดการประชุมสร้างเครือข่ายแบบตัวต่อตัว เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างผู้เข้าร่วมงาน

“ชุมชนเป็นหัวใจสำคัญของทุกอย่างที่เราทำที่แลมบ์ดาเทสต์ ขณะที่อุตสาหกรรมการทดสอบมีวิวัฒนาการและมีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ความต้องการที่จะสร้างการมีส่วนร่วมโดยชุมชนและผู้ใช้หลักได้กลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยงานประชุมเทสต์มิว เราคาดหวังในโอกาสที่จะนำพื้นที่การทดสอบทั้งหมดมาอยู่ภายใต้หลังคาโลกเสมือนเดียวกัน งานประชุมครั้งนี้ได้ช่วยให้ชุมชนเชื่อมต่อถึงกันในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและผู้นำชุมชน ตลอดจนกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน” อาซาด ข่าน (Asad Khan) ซีอีโอของแลมบ์ดาเทสต์ กล่าว

“เรารู้สึกขอบคุณนักทดสอบ/นักพัฒนา บรรดาวิทยากรที่ยอดเยี่ยม และแน่นอน พันธมิตรในชุมชนของเราเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมเทสต์มิว งานประชุมครั้งนี้เป็นก้าวเล็ก ๆ ของเราในการสร้างชุมชนการทดสอบที่เฟื่องฟูซึ่งมีการทำงานร่วมกันมากขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของทุกการหารือใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอนาคตของการทดสอบ” คุณอาซาด กล่าว

งานประชุมครั้งนี้ยังมีการเข้าร่วมโดยพันธมิตรระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรมการทดสอบจำนวน 17 ราย อย่างเช่น แอคเซลคิว (ACCELQ), คาตาลอน (Katalon), แพร็คทิเทสต์ (Practitest), คิวเมทรี (QMetry), ควอลิทริกซ์ (Qualitrix), ซูเธอร์แลนด์ (Sutherland), เทสติงเอ็กซ์เพิร์ตส์ (TestingXperts) และเวอร์ชูโอโซ (Virtuoso) ซึ่งได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมกับผู้เข้าร่วมงาน

“งานประชุมเทสต์มิวประจำปี 2565 เป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับเราทุกคน การดำเนินการจัดงานครั้งนี้เป็นไปอย่างล้ำเลิศและมีการเลือกสรรอย่างดี โดยครอบคลุมหัวข้อที่หลากหลายจากผู้เชี่ยวชาญด้านการทดสอบซอฟต์แวร์ทั่วโลก พวกเราจากแอคเซลคิวต่างรู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือและทำงานร่วมด้วย เราขอแสดงความยินดีอย่างจริงใจกับทีมงานแลมบ์ดาเทสต์ และตั้งตารองานประชุมนี้ในครั้งที่สอง” จอสลีย์ แอนดราดีส (Geosley Andrades) ผู้อำนวยการฝ่ายการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของแอคเซลคิว กล่าว

เมื่อไม่นานมานี้ แลมบ์ดาเทสต์ระดมทุนได้ 45 ล้านดอลลาร์ในรอบธุรกิจร่วมลงทุน นำโดยเพรมจิ อินเวสต์ (Premji Invest) พร้อมด้วยการมีส่วนร่วมจากนักลงทุนกลุ่มเดิมที่มีอยู่ บริษัทยังได้เปิดตัวไฮเปอร์เอ็กซีคิวท์ (HyperExecute) แพลตฟอร์มประสานการทดสอบอัจฉริยะรุ่นใหม่ ซึ่งช่วยให้ผู้ทดสอบและผู้พัฒนาดำเนินการทดสอบอัตโนมัติแบบครบวงจรได้อย่างรวดเร็วสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้

เกี่ยวกับแลมบ์ดาเทสต์

แลมบ์ดาเทสต์ (LambdaTest) คือแพลตฟอร์มทดสอบคุณภาพซอฟต์แวร์แบบต่อเนื่องในคลาวด์ ที่ช่วยให้นักพัฒนาและนักทดสอบซอฟต์แวร์พัฒนาโค้ดได้รวดเร็วขึ้น ลูกค้ากว่า 7,000 รายและผู้ใช้หนึ่งล้านรายในกว่า 130 ประเทศพึ่งพาแลมบ์ดาเทสต์สำหรับความต้องการด้านการทดสอบซอฟต์แวร์

แพลตฟอร์มแลมบ์ด้าเทสต์ให้บริการการประสานการทดสอบที่มั่นคงปลอดภัย ขยายได้ และให้มุมมองเชิงลึกสำหรับลูกค้าที่อยู่ในจุดต่าง ๆ ของวงจร DevOps (CI/CD) ดังนี้

  • เบราว์เซอร์และการทดสอบแอป (Browser & App Testing) ระบบคลาวด์ ช่วยให้ผู้ใช้ดำเนินการทดสอบเว็บและแอปพลิเคชันมือถือได้ทั้งแบบไม่อัตโนมัติและแบบอัตโนมัติในเบราว์เซอร์ อุปกรณ์จริง และสภาพแวดล้อมระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันกว่า 3,000 รายการ
  • ไฮเปอร์เอ็กซีคิวท์ (HyperExecute) ช่วยลูกค้าดำเนินการทดสอบและประสานกริดการทดสอบในระบบคลาวด์สำหรับทุกแพลตฟอร์มและทุกภาษาโปรแกรม ด้วยความเร็วสูงเพื่อลดระยะเวลาทดสอบคุณภาพ ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสร้างซอฟต์แวร์ได้รวดเร็วขึ้น

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://lambdatest.com

โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/1721228/Lambda_Test_Logo.jpg

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์