ในงานประชุมพันธมิตรและนักพัฒนาของหัวเว่ย (Huawei Partner and Developer Conference) หัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud) ได้ประกาศเปิดตัวบริการล้ำสมัย 15 รายการ และกรอบความร่วมมือของพันธมิตร 2 รายการ ได้แก่ โกคลาวด์ (GoCloud) และโกรวคลาวด์ (GrowCloud) นอกจากนี้ การแข่งขันนักพัฒนาของหัวเว่ย (Huawei Developer Competition) ซึ่งเป็นการแข่งขันด้านไอซีที (ICT) ครั้งสำคัญของบริษัทก็เปิดฉากในการประชุมดังกล่าวเช่นเดียวกัน
นายจาง ผิงอัน (Zhang Ping’an) ซีอีโอของหัวเว่ย คลาวด์ กล่าวปาฐกถาว่า “ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ มุ่งเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลกันมากขึ้น การใช้ SaaS จึงเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เรากำลังมุ่งหน้าสู่ทศวรรษทองของ SaaS ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยหัวเว่ย คลาวด์จะมอบทุกสิ่งในรูปแบบบริการ (Everything as a Service) และเรามุ่งมั่นที่จะสร้างระบบคลาวด์ที่ดีที่สุดเพื่อนำ SaaS ไปสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยในการสร้างสรรค์บริการคลาวด์อย่างต่อเนื่องและทำงานใกล้ชิดกับพันธมิตรและนักพัฒนานั้น เราหวังว่าจะได้กระตุ้นนวัตกรรมและจุดประกายอนาคตร่วมกัน”
บริการล้ำสมัย 15 รายการจะครอบคลุมด้านความเชี่ยวชาญในรูปแบบของบริการ (Expertise as a Service), เทคโนโลยีในรูปแบบของบริการ (Technology as a Service) และโครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบของบริการ (Infrastructure as a Service) ซึ่งรวมถึงบริการ aPaaS จำนวน 5 รายการสำหรับภาคอุตสาหกรรม, รัฐบาล, การทำความร้อน, การขุดถ่านหิน และการศึกษา โดยบริการ aPaaS หลัก 2 รายการ ได้แก่ คูเมสเสจ (KooMessage) สำหรับการส่งข้อความริชมีเดียแบบครบวงจร และคูแมป (KooMap) สำหรับแผนที่คลาวด์ดิจิทัลทวิน ตลอดจนคลาวด์สโตร์แห่งใหม่อย่าง คูแกเลอรี (KooGallery) นอกจากนี้ นายจางยังประกาศไปป์ไลน์การกำกับดูแลข้อมูลของดาตาอาร์ทส์ (DataArts) และบริการใหม่ ๆ มากมายสำหรับไปป์ไลน์อื่น ๆ อีก 3 รายการ ได้แก่ บริการมนุษย์เสมือนสำหรับไปป์ไลน์คอนเทนต์ดิจิทัลของเมตาสตูดิโอ (MetaStudio), โมเดลบ็อกซ์ (ModelBox) (กรอบการพัฒนาการประยุกต์ใช้ AI) สำหรับไปป์ไลน์การพัฒนา AI ของโมเดลอาร์ตส์ (ModelArts) และโค้ดอาร์ทส์ ไอดีอี (CodeArts IDE) สำหรับไปป์ไลน์การพัฒนาซอฟต์แวร์เดฟคลาวด์ (DevCloud)
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการประกาศกรอบความร่วมมือของพันธมิตร 2 รายการ ได้แก่ โกคลาวด์และโกรวคลาวด์ ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อช่วยพันธมิตรในการยกระดับขีดความสามารถและขยายตลาด โดยโกคลาวด์มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความสามารถของพันธมิตร ช่วยพันธมิตรสร้างโซลูชันและบริการที่แข็งแกร่งบนหัวเว่ย คลาวด์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ขณะที่โกรวคลาวด์มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้พันธมิตรได้ขยายความครอบคลุมลูกค้า เร่งการเติบโตของยอดขาย และบรรลุความสำเร็จร่วมกัน
หัวเว่ย คลาวด์ให้ความสำคัญกับอีโคซิสเต็มเสมอมา โดยปัจจุบันหัวเว่ย คลาวด์มีพันธมิตรมากกว่า 38,000 ราย นักพัฒนา 3.02 ล้านราย และข้อเสนอสำหรับมาร์เก็ตเพลสที่เผยแพร่โดยพันธมิตร 7,400 รายการ ขณะเดียวกัน ในฐานะที่เป็นรากฐานระบบคลาวด์ของโลกอัจฉริยะ หัวเว่ย คลาวด์ได้ร่วมมือกับอีโคซิสเต็มต่าง ๆ เช่น คุนเผิง (Kunpeng), แอสเซนด์ (Ascend), ฮาร์โมนีโอเอส (HarmonyOS) และหัวเว่ย โมบายล์ เซอร์วิส (HMS) เพื่อสนับสนุนอีโคซิสเต็มของนักพัฒนา และหัวเว่ย คลาวด์ตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักพัฒนามากกว่า 1.4 ล้านรายในปีนี้ และมีแผนสนับสนุนนักพัฒนาโดยรวม 5 ล้านราย
นอกจากนั้นแล้ว การแข่งขันนักพัฒนาของหัวเว่ยภายใต้แนวคิด “สปาร์ก อินฟินิตี” (Spark Infinity) ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งในฐานะที่เป็นการแข่งขันด้าน ICT ระดับแนวหน้า การแข่งขันนักพัฒนาของหัวเว่ยจึงจัดตั้ง คลาวด์ ฟาวเดชัน แทร็ก (Cloud Foundation Track) และอินดัสทรี แทร็ก (Industry Track) ซึ่งครอบคลุม 6 ภูมิภาคทั่วโลก และมอบเงินรางวัลรวมมูลค่า 5 ล้านหยวน หัวเว่ย คลาวด์ยินดีต้อนรับนักศึกษา องค์กร และแฟน ๆ เทคโนโลยีให้เข้าร่วมการแข่งขันและสร้างมูลค่าใหม่บนระบบคลาวด์
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1839360/1.jpg
คำบรรยายภาพ – นายจาง ผิงอัน ซีอีโอของหัวเว่ย คลาวด์