สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ซึ่งมีภารกิจหลักในการส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในภาพใหญ่ระดับประเทศ ได้จัดพิธีมอบใบสัมฤทธิบัตรให้แก่ผู้สำเร็จหลักสูตร ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร รุ่น 3 (Chief of Digital AGRO Business: CDA#3) พร้อมนำเสนอผลงานภายใต้แนวคิด “การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมในธุรกิจเกษตร” มุ่งเพิ่มทักษะให้กับผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรในทุกมิติ โดยมี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ( Ministry of Digital Economy and Society; MDES) เป็นประธานมอบใบสัมฤทธิบัตรให้แก่ผู้สำเร็จหลักสูตร และมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ให้การต้อนรับ ณ รร. เอส 31 สุขุมวิท เมื่อเร็วๆ นี้
หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร (Chief of Digital AGRO Business: CDA) ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 3 เพื่อเพิ่มทักษะให้กับผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร ซึ่งเป็นภาคธุรกิจรากฐานสำคัญของประเทศ มีผู้บริหารระดับสูงทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนด้านธุรกิจเกษตรให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยดีป้ามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้นำองค์กรภาคธุรกิจเกษตรในทุกมิติ เน้นต่อยอดองค์ความรู้ การบริการจัดการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในการบริหารจัดการองค์กร รวมถึงการสร้างนวัตกรรมให้ตอบโจทย์เศรษฐกิจสังคมยุคใหม่ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารภาครัฐและเอกชนที่เป็นเครือข่ายอันเข้มแข็งในการพัฒนาภาคธุรกิจเกษตรของประเทศไทย โดยมีผู้สำเร็จหลักสูตร ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรแล้ว 3 รุ่น รวมทั้งสิ้น 144 คน
สำหรับผู้สำเร็จ หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร รุ่น 3 (CDA#3) มีจำนวนทั้งสิ้น 33 คน ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงทั้งจากภาครัฐและเอกชน เช่น จุมพฏ วรรณฉัตรสิริ, สมชาย คมพงษ์ปภา, ดร.ชวลิต นิ่มละออ, ดร.จรวยพรภัทร ลีสมสิริ, ชวลิต หวังธำรง, ดุสิต เต็งไตรรัตน์, เกศนรี จองโชติศิริกุล, ประภาพรรณ เวลเซอร์, ทวีพงศ์ สุธรรมพันธุ์, กรณ์พงษ์ เจริญฐิติวงศธร, ถาวร เผด็จสุวันนุกูล, รภัสษร ฮุนพงษ์สิมานนท์, ศศิญา ปานตั้น, นันทภรณ์ อังศุกุลธร, ดร.นภาพร มณฑานพรัตน์, เอกชัย ตั้งรัตนาวลี, สาโรช กิจประเสริฐ, นงลักษณ์ วัชระเกียรติพงษ์, กษิญา จรัญวงศ์, กรินทร์ นนทปัทมะดุลย์, ศิวโรจน์ เสาวมล, วิวรรธน์ เทียนศิริ, ศิวโรจน์ เสาวมล เป็นต้น
ภายในงานมอบใบสัมฤทธิบัตร เปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จหลักสูตรนำเสนอผลงานกลุ่ม ภายใต้แนวคิด “การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมในธุรกิจเกษตร” ในหัวข้อต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อภาคการเกษตร เพื่อนำแนวคิดไปต่อยอดในการพัฒนาประเทศ อาทิ
1.Digital Upstream Agro Business (DU): การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเกษตรต้นน้ำ ได้นำเสนอโครงการ “พืชทางเลือกแห่งอนาคต (VALUABLE FUTURE PLANT)” ยกกรณีพืชตัวอย่าง หญ้าเนเปียร์ ที่มีจุดเด่น โตง่าย เก็บเกี่ยวได้หลายรอบ/ปี ให้โปรตีนและกากใยสูง เหมาะสำหรับเป็นอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง สามารถทดแทนข้าวโพดที่นำเข้า ขาดแคลน และราคาสูงในขณะนี้
2.Digital Midstream Agro Business (D Mid): การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเกษตรกลางน้ำ ได้นำเสนอโครงการ Thailand Sustainable Food Hub โดยยกกรณีตัวอย่าง THAILANDPLANT BASED FOOD HUB ผลผลิตจากถั่วเขียวคุณภาพดี รับเทรนด์ PROTEIN PLANT BASED
3.Digital for Downstream Agro Business (DD) : การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเกษตรปลายน้ำ ได้นำเสนอโครงการ “การส่งเสริมความยั่งยืนในภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล (Incentivizing Sustainable Agriculture by Digital Technology)” ได้นำเสนอยุทธศาสตร์และแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลช่วยด้านการขาย หรือการตลาดในภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายแก่เกษตรกร อาทิ Solution Provider ช่วยเกษตรกร นำ Carbon Credit มาเป็น incentive สร้างรายได้ส่วนเพิ่ม ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการประเมินการกักเก็บ Carbon และบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ทำ International Platform เชื่อมโยงผู้ซื้อกับผู้ขาย Carbon Credit ต่อยอดการหาตลาดและประสาน ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยมีการนำเสนอเกษตรกรสวนยางเป็นกรณีตัวอย่าง
4.Digital Manpower (DM) : การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล Digital Manpower นำเสนอโครงการ “เราจะนำเทคโนโลยดิจิทัลมาช่วยเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร” มีการนำเสนอโครงการมันแก้จนที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็น Pilot Model มีการนำเทคโนโลยี แพลตฟอร์มเกษตรอัจฉริยะ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร รวมถึงผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ และการใช้ Value Chain โดยการใช้กระบวนการด้านการตลาดเป็นตัวนำการผลิต
นอกจากนี้ ภายในงานผู้เข้าอบรมยังได้รับฟังข้อเสนอแนะ จากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา ทั้งภาครัฐและเอกชน เกือบ 30 ท่าน อาทิ อาทิ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง, รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม, หม่อมราชวงศ์ จัตุมงคล โสณกุล, สมัย ลี้สกุล, อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย, ชยันต์ ศิริมาศ, ดาเรศร์ กิตติโยภาส, ผศ.ดร.จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร, ดร.ดี จันทร์ศุภฤกษ์, คมสัน จำรูญพงษ์, ดร.ปิยะนุช สัมฤทธิ์, สมศักดิ์ มาอุทธรณ์ , ดร.บังอร เกียรติธนากร, ดร.ตุลย์ วงศ์ศุภสวัสดิ์, เลิศรัตน์ รตะนานุกูล, ศลิษา หาญพานิช, วิทวัส ปัญญาแหลม, ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์, ดร.ปรีสาร รักวาทิน ทั้งนี้เพื่อนำแนวคิดไปต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจด้านเกษตรให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป..
ที่มา: คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์