อาลีบาบาคลาวด์เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ในไทย รองรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

  • ปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของไทย
  • นำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

อาลีบาบา คลาวด์ (Alibaba Cloud) ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป (Alibaba Group) เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในไทย พร้อมสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลขององค์กรธุรกิจในประเทศ ซึ่งสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี[1] (พ.ศ. 2561-2580) ของรัฐบาลไทยในการเสริมสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และความยั่งยืนให้กับประเทศ

การเปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในประเทศไทย ในช่วงเวลาที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย (PDPA) จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน เป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอาลีบาบา คลาวด์ ที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ เมื่อเข้ามาดำเนินงานในประเทศ ควบคู่กับการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ปลอดภัยเข้ามาสู่ประเทศไทย ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งนี้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO27001 และ ISO20000 และเป็นไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย รวมถึงกฎระเบียบด้านการเงินที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

นายไทเลอร์ ชิว ผู้จัดการประจำประเทศไทยของอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “ในขณะที่เราขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เรายังคงให้ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูล การเปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่นี้ เรามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับต่าง ๆ ของประเทศไทย นอกจากนี้ เราต้องการนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของบริษัทฯ มานำเสนอในประเทศไทย รวมถึงองค์ความรู้เฉพาะทางด้านต่าง ๆ อาลีบาบา คลาวด์ ประสบความสำเร็จในการช่วยสนับสนุนธุรกิจทั่วโลกให้ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย และเราหวังว่าบริษัทฯ จะสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่ครบครันเพื่อช่วยผลักดันวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน”

บริการด้านการรักษาความปลอดภัยที่นำเสนอให้แก่ลูกค้าในไทย ได้แก่ บริการป้องกันการโจมตีแบบ DDoS, WAF, ศูนย์ความปลอดภัย, การตรวจสอบการดำเนินการ, บริการใบรับรอง SSL และการจัดการการเข้าถึงทรัพยากร โดยบริการบางประเภทที่กล่าวมานี้ได้ถูกใช้งานจริงเพื่อรองรับการดำเนินงานอย่างราบรื่นในช่วงที่มีการจัดมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 ของอาลีบาบา กรุ๊ป ซึ่งเป็นหนึ่งในมหกรรมช้อปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

บริการด้านการรักษาความปลอดภัยเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับแพลตฟอร์ม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการป้องกันเชิงรุก การตรวจจับภัยคุกคาม การตรวจสอบและการตอบสนอง เช่น การปกป้องซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ให้รอดพ้นจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware), มัลแวร์สำหรับการขุดเหรียญและแบ็คดอร์ (Mining and Backdoor) และโทรจัน (Trojan) เพื่อลดปัญหาในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ในแง่ของสถาปัตยกรรม ศูนย์ความปลอดภัยของอาลีบาบา คลาวด์ ยังสามารถทำการตรวจสอบประเมินให้กับองค์กรธุรกิจ เพื่อปกป้องเซิร์ฟเวอร์ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่สำคัญอื่น ๆ ที่บริษัทฯ ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทยพร้อมกับดาต้าเซ็นเตอร์ ได้แก่ ระบบประมวลผลที่ยืดหยุ่น (elastic compute) บริการด้านดาต้าเบส ด้านเน็ตเวิร์ก และ สตอเรจ รวมถึงบริการสำหรับนักพัฒนา การส่งคอนเทนต์ และแอปพลิเคชันระดับองค์กรต่าง ๆ

ผลิตภัณฑ์ของอาลีบาบาคลาวด์ได้ผ่านการทดสอบความแข็งแกร่งของสมรรถนะ ทั้งนี้บริษัทวิเคราะห์ชั้นนำระดับโลก เช่น ไอดีซี[2] ระบุว่าผลิตภัณฑ์ CDN ของบริษัทฯ เป็นผู้เล่นรายสำคัญ ขณะที่เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ได้รับการจัดอันดับเป็น “ผู้นำ” โดยฟอเรสเตอร์[3] ส่วนผลิตภัณฑ์ด้านดาต้าเบสของอาลีบาบาคลาวด์ได้รับการจัดอันดับเป็น “ผู้นำ” ในรายงาน Gartner Magic Quadrant[4] และการ์ทเนอร์[5] ยังรับรองความสามารถด้านคลาวด์ที่สำคัญของบริษัทฯ ทั้งในส่วนของระบบประมวลผล สตอเรจ เน็ตเวิร์ก และระบบรักษาความปลอดภัย ว่าอยู่ในระดับเทียบเท่าผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลก

อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้เทคโนโลยีในประเทศ และนำความสามารถทางเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาในประเทศไทยผ่านการสนับสนุนของพันธมิตร ทั้งนี้ตั้งแต่บริษัทฯ เปิดตัวโปรแกรม Thailand Partner Alliance 100 เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว บริษัทฯ มีพันธมิตรมากกว่า 40 รายเข้าร่วมโครงการเพื่อทำธุรกิจและเติบโตไปด้วยกันกับอาลีบาบาคลาวด์ เช่น บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT), สมาคมฟินเทคประเทศไทย, ไฮคลาวด์ (HiCloud), บริษัท ที เอ็ม อี เอส จำกัด (TMES), ทรูไอดีซี (True IDC), ทรู ดิจิทัล อคาเดมี (True Digital Academy), เอสไอเอส (SIS) นอกจากการขายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทฯ แล้ว อาลีบาบา คลาวด์ยังจะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างสรรค์โซลูชันใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจไทยอีกด้วย

นายดิเอโก หม่า ซีอีโอของไฮคลาวด์ กล่าวว่า “เราร่วมมือกับอาลีบาบา คลาวด์ นำเสนอโซลูชันระดับแนวหน้าของโลกให้กับลูกค้าไทย เพื่อให้ธุรกิจของลูกค้าเหล่านี้ได้ใช้คลาวด์เพิ่มขึ้น อาลีบาบา คลาวด์ พยายามสร้างระบบนิเวศในประเทศ โดยให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มากมายกับเรา เช่น การฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถ และโอกาสทางการตลาดร่วมกัน เพื่อขยายการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ให้กับฐานลูกค้าที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น และช่วยลูกค้าของเราให้เปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลได้เร็วขึ้น”

ในแง่ของกลยุทธ์ อาลีบาบา คลาวด์ ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมสำคัญหลายกลุ่ม เช่น ธุรกิจค้าปลีกและโลจิสติกส์ การเงินและฟินเทค ความบันเทิงดิจิทัล และบริการภาครัฐ ผลิตภัณฑ์และโซลูชันของอาลีบาบา คลาวด์ ที่รองรับอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิภาพจากการใช้งานจริงของลูกค้าระดับโลก เช่น Singapore Post, Binangonan Rural Bank (ฟิลิปปินส์), Animal Logic (ออสเตรเลีย) และพันธมิตรระดับโลก เช่น Red Hat, Salesforce และ VMware

อาลีบาบา คลาวด์ ครองตำแหน่งผู้นำอันดับหนึ่งด้านการให้บริการคลาวด์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตามข้อมูลจากไอดีซี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ที่สุด 3 อันดับสูงสุดเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ตามการจัดอันดับของการ์ทเนอร์ ปัจจุบันอาลีบาบา คลาวด์ เปิดให้บริการใน 84 เขตพื้นที่ใน 27 ภูมิภาคทั่วโลก และได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลราว 80 รายการทั่วโลก โดยสามารถแก้ไขปัญหาช่องโหว่ของระบบมากกว่า 7.3 ล้านครั้งต่อปี

เพื่อรองรับการพัฒนาที่ยั่งยืน อาลีบาบา คลาวด์ ตั้งเป้าที่จะปรับปรุงดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกให้เปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดทั้งหมดภายในปี 2573 นอกจากนี้ อาลีบาบา กรุ๊ป ยังเข้าร่วมกลุ่มความร่วมมือ Low Carbon Patent Pledge เพื่อกระตุ้นการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนับเป็นครั้งแรกที่บริษัทฯ เปิดให้มีการใช้งานสิทธิบัตรทางเทคโนโลยีประหยัดพลังงานของบริษัทฯ 9 ฉบับได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

[1] http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/2019/10/PPT-National-Strategy.pdf

[2] IDC MarketScape: Worldwide Commercial Content Delivery Network Services 2022 Vendor Assessment:

https://www.alibabacloud.com/about/idc-marketscape-worldwide-commerical-content-delivery-network-services-2022#J_7385364600

[3] The Forrester Wave(TM): Public Cloud Container Platforms, Q12022: https://reprints2.forrester.com/#/assets/2/1948/RES176569/report

[4] Magic Quadrant for Cloud Database Management Systems: https://www.gartner.com/doc/reprints?spm=a3c0i.26030505.6635313870.2.5b9c220ftQsWAL&id=1-28FRDHKI&ct=211215&st=sb

[5] Solution Scorecard for Alibaba Cloud International IaaS+PaaS: https://www.gartner.com/doc/reprints?spm=a3c0i.26391636.3616221970.1.16384acfSQKUTF&ip&id=1-288OG5JN&ct=211126&st=sb

เกี่ยวกับ Alibaba Cloud

อาลีบาบา คลาวด์ (www.alibabacloud.com) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 เป็นธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ให้บริการคลาวด์แบบครบวงจรกับลูกค้าทั่วโลก รวมถึงการให้บริการ การประมวลผลแบบยืดหยุ่น ดาต้าเบส สตอเรจ บริการเน็ตเวิร์กเวอร์ชวลไลเซชัน การประมวลผลขนาดใหญ การรักษาความปลอดภัย บริการด้านการบริหารจัดการและแอปพลิเคชัน การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ แพลตฟอร์มแมชชีนเลิร์นนิ่ง และบริการ IoT ข้อมูลของ IDC ระบุว่า อาลีบาบา คลาวด์ เป็นผู้ให้บริการพับลิคคลาวด์ชั้นนำของประเทศจีน โดยพิจารณาจากรายรับในปี 2019 รวมถึงให้บริการ PaaS และ IaaS

ที่มา: เอฟเอคิว