หัวเว่ย (Huawei) เข้าร่วมงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระบบรางเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2565 (2022 Asia Pacific Rail Exhibition) และได้จัดแสดงชุดโซลูชันเครือข่ายนำแสงเต็มรูปแบบ (all-optical) สำหรับระบบรางในเมือง ซึ่งรวมถึงโซลูชันหมอนรองรางรถไฟในเมือง และโซลูชันสถานี Fiber to the Machine (FTTM) ที่เป็นใยแก้วน้ำแสงเต็มรูปแบบ โดยมุ่งเน้นนำเสนอโซลูชันเครือข่ายระบบรางในเมืองเพื่อสนับสนุนบริการรถไฟในเมืองเข้าสู่ยุคอัจฉริยะ
เครือข่ายคลาวด์ถือเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญสำหรับการพัฒนาระบบรางในเมืองอัจฉริยะ ช่วยลดความซับซ้อนของระบบย่อยด้านการผลิต การจัดการ และการบริการรถไฟในเขตเมือง ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาอย่างรวดเร็วของการขนส่งทางรางในเมือง ทั้งนี้ เครือข่ายคลาวด์สำหรับระบบรางในเมืองมีข้อกำหนดสามประการสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างคลาวด์กับสถานี ประการแรกคือ เทอร์มินัล IoT และบริการวิดีโอจำนวนมากต้องการแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้น ประการที่สอง การเข้าถึงข้อมูลบนคลาวด์แบบเรียลไทม์ต้องการค่าความหน่วงในการรับส่งข้อมูลที่ต่ำลง ประการที่สาม ข้อมูลการผลิต ข้อมูลการทำงาน ข้อมูลภายในและภายนอกอื่น ๆ จะถูกดำเนินการในลักษณะที่เป็นหนึ่งเดียว โดยต้องมีการแยกทางกายภาพเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
เพื่อตอบสนองความต้องการและความท้าทายของเครือข่ายคลาวด์สำหรับระบบรางในเมือง หัวเว่ยขอเสนอ Smart300G โซลูชันเครือข่ายระบบรางในเมืองแห่งอนาคต โดยใช้เทคโนโลยี OTN ที่ปรับปรุงแพ็คเก็ต ทำให้ Smart300G ตรงตามข้อกำหนดของบริการคลาวด์สำหรับระบบรางในเมืองที่ใช้แบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ มีค่าความหน่วงต่ำ ความปลอดภัยสูง และความน่าเชื่อถือสูง โซลูชัน Smart300G มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้:
ท่อนำแสงแบบอัลตร้าบรอดแบนด์: แสงเทาและแสงสีอยู่ร่วมกันในเครือข่ายเดียว ซึ่งเป็นโหมดนวัตกรรมที่รองรับการขยายความจุเครือข่ายที่ยืดหยุ่นตามต้องการด้วยการขยายความยาวคลื่น ทั้งนี้ แบนด์วิดท์ที่รองรับสามารถพัฒนาได้อย่างราบรื่นจาก 100G เป็น 200G หรือสูงกว่า 300G ทำให้อุปกรณ์หนึ่งชุดและไฟเบอร์หนึ่งคู่สามารถตอบสนองความต้องการด้านวิวัฒนาการแห่งทศวรรษหน้า
ค่าความหน่วงต่ำมาก: บริการแบบคลาวด์ใช้การส่งผ่านความยาวคลื่นเดียวด้วยความเร็ว 10G ไปยังศูนย์ควบคุมในจุดเดียว ซึ่งช่วยขจัดความหน่วงในการส่งของโหนดกลาง ค่าความหน่วงตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางที่น้อยกว่า 1 มิลลิวินาที ทำให้มั่นใจได้ถึงประสบการณ์การใช้บริการระดับพรีเมียม
การทำงานที่ปลอดภัย: ระบบบริการถูกแยกออกจากกันทางกายภาพตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยแต่ละบริการใช้ช่องทางกายภาพเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย
ในระหว่างงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระบบรางเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2565 หัวเว่ยยังได้สาธิตโซลูชัน Fiber to the Machine (FTTM) สำหรับสถานีรถไฟในเมืองที่เป็นระบบใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบ โซลูชันนี้ใช้ตัวแยกสัญญาณแบบพาสซีฟเพื่อแทนที่เลเยอร์การรวมเครือข่ายแบบเดิม และบรรลุการเชื่อมต่อแบบ one-hop ระหว่างศูนย์ข้อมูลกับแอปพลิเคชันปลายทางในสภาพแวดล้อมแบบรถไฟใต้ดิน ซึ่งช่วยขจัดปัญหาระยะการส่งข้อมูลที่สั้นของเครือข่ายแบบเดิม และทำให้การวางแผนเครือข่ายง่ายขึ้น โซลูชัน FTTM ของหัวเว่ยที่เป็นใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบ ได้ถูกนำไปใช้งานตามสถานีรถไฟใต้ดินในหลายเมืองของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อสร้างเครือข่าย IoT เมโทรแบบครบวงจรที่ให้บริการ video backhaul, PIS, การควบคุมการเข้าถึง และบริการนำทางแบบอิเล็กทรอนิกส์ โซลูชันนี้จะช่วยสร้างเส้นทางหลักในการรับส่งข้อมูลสำหรับเครือข่ายการสื่อสารที่สถานีรถไฟใต้ดิน
หัวเว่ยนำเสนอโซลูชันเครือข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบสำหรับระบบรางในเมืองแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อสร้างเครือข่ายนำแสงที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และยืดหยุ่นสำหรับระบบรางในเมืองอัจฉริยะ โดยรับประกันเครือข่ายขั้นพื้นฐานสำหรับระบบรางในเมืองที่เป็นอัจฉริยะและดิจิทัล