เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 มีผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายใหญ่ทั้งหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนกว่า 10 ราย ได้ทำโครงการดี ๆ เพื่อปล่อยสินเชื่อสำหรับอุปกรณ์สื่อสารอินเทอร์เน็ตราคาประหยัด(เฉพาะกิจพิเศษ) รองรับการศึกษายุคใหม่ เชื่อมโลกเป็นหนึ่งเดียวกัน เผย วิสดอมวี กรุ๊ป 1 ในพันธมิตรรับหน้าที่ดูแลคอนเทนต์วิชาการ จัดหลักสูตรเสริมทักษะวิชาการ (Hard Skill) และทักษะที่ทำให้ผู้เรียนมีความโดดเด่นเป็นมืออาชีพ (Soft Skill) รองรับการทำงานในโลกยุคใหม่
นางสาวไหมฟ้ารดา ธัชรัชตะอนันต์ (Maifarada) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วิสดอม วี กรุ๊ป จำกัด (WISDOM V GROUP CO., LTD) กล่าวถึงโครงการปล่อยสินเชื่อสำหรับอุปกรณ์สื่อสารอินเทอร์เน็ตราคาประหยัด ว่า เป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่ผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ รวมตัวกันเข้าช่วยเหลือให้ภาคประชาชน ภาครัฐ และผู้ประกอบการให้ได้ใช้อุปกรณ์สื่อสารอินเทอร์เน็ตราคาประหยัดผ่านช่องทางการให้บริการสินเชื่อจากสหกรณ์ทุกแห่งที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ถือเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคดิจิทัลเชื่อมโลกเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยบริษัทที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย
- บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเครือข่าย NT
- บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ผู้ให้บริการเครือข่าย AIS
- บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ผู้ให้บริการเครือข่าย DTAC
- บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ผู้ให้บริการเครือข่าย TRUE
- บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ทีดับบลิวแซต คอร์ ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไอที ซิตี้ คอร์ป จำกัด
- บริษัท แฟมิลี่ คอร์ป จำกัด
- บริษัท อัลฟ่า แท็บ จำกัด
- บริษัท ทีจี เซลลูล่าร์เวิล์ด จำกัด
- บริษัท วิสดอม วี กรุ๊ป จำกัด (WISDOM V GROUP CO., LTD)
สำหรับ “วิสดอมวี กรุ๊ป ไม่ตกขบวนโครงการฯดี ๆ คือเราเป็น 1 ในพันธมิตรรับหน้าที่ดูแลคอนเทนต์วิชาการ ร่วมผลักดันสื่อการศึกษา จัดหลักสูตรเสริมทักษะวิชาการ (Hard Skill) และทักษะที่ทำให้ผู้เรียนมีความโดดเด่นเป็นมืออาชีพ (Soft Skill) รองรับการศึกษายุคใหม่ เพราะเมื่อผู้เรียนมีอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในราคาประหยัด และยิ่งมีเนื้อหา(คอนเทนต์)การเรียนการสอนที่ผ่านการวิจัยจาก นักวิชาการ,วิทยากรชั้นนำระดับประเทศ นำเสนอผ่านแพลตฟอร์มกลาง ที่มุ่งเน้นวางเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้เรียน และผู้สอนเพื่อฉายภาพอนาคตของผู้เรียนออกมา (Future Projection) สอนให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมาย วาดภาพอนาคตของตัวเองในอาชีพที่อยากจะทำ
การแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 มีส่วนให้การแก้ไขปัญหาระบบการศึกษาไทยล้าช้า เพราะเมื่อรูปแบบการเรียน การสอนแบบห้องเรียนปกติ ยกไปไว้ในห้องเรียนออนไลน์ ผู้เรียน และครูผู้สอนยังกระจัดกระจาย ยังไม่น่าสนใจเพียงพอ ทำให้ผู้เรียนเบื่อไม่สามารถที่จะวัดผลการเรียนได้ สิ่งที่จะช่วยได้คือปรับเวลาการเรียนใหม่ เนื่องจากข้อมูลวิจัยพบว่าผู้เรียนจะสนใจในวิชาจะอยู่ในช่วง 30 นาทีแรก การเรียนจึงจะมีประสิทธิภาพ และการเรียนผ่านแพลตฟอร์มจะไม่เหมือนกับคลิปวีดีโอทั่ว ๆ ไปที่สอนกันทางยูทูปหรือทางสื่อSocial Facebook อย่างไรก็ตามเรากำลังพัฒนาการเรียนการสอนบน Metaverse
นางสาวไหมฟ้ารดา กล่าวเพิ่มเติมถึง แพลตฟอร์ม ว่า ไม่จำกัดผู้เรียน เรียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา-มัธยม-มหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนี้ได้เดินหน้าไปแล้วส่วนหนึ่งเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนควบคู่กับห้องเรียนปกติ และพร้อมที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงกลางปี 2565 โดยตั้งเป้าจะมีผู้เข้ามาใช้แพลตฟอร์ม 5 ล้านคน(User) และทุกหลักสูตรเมื่อจบแล้วจะมี Certificate ให้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ
ที่มา: เออาร์ไอพี