การศึกษาล่าสุดเผย 3 เหตุผลที่ผู้นำด้านไอซีทีขององค์กรเลือกใช้โซลูชัน POL ของหัวเว่ย

หัวเว่ย (Huawei) ได้มอบหมายให้ฟอร์เรสเตอร์คอนซัลติง (Forrester Consulting) ดำเนินการศึกษาวิจัยในหัวข้อผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมจากเครือข่ายแลนออปติคอลแบบพาสซีฟของหัวเว่ย (The Total Economic Impact(TM) Of Huawei Passive Optical LAN) ในงานวิจัยนี้ ฟอร์เรสเตอร์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ในการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่โซลูชัน Passive Optical LAN (POL) หรือข่ายงานเชิงแสงบริเวณเฉพาะที่แบบพาสซีฟของหัวเว่ยมีต่อองค์กรจากสามแง่มุม โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ลูกค้า

เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัล องค์กรต่าง ๆ ใช้เทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นคลาวด์คอมพิวติง บิ๊กดาต้า และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เนื่องจากการเชื่อมต่อของเครือข่ายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับเทคโนโลยีเหล่านี้ จึงถือเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลในหลากหลายอุตสาหกรรม จากการสำรวจเชิงลึกเกี่ยวกับกรณีการประยุกต์ใช้งานในวงการอุดมศึกษา สุขภาพ อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมการผลิต การศึกษาของฟอร์เรสเตอร์พบว่าโซลูชัน POL ของหัวเว่ยได้สร้างเครือข่ายในพื้นที่ท้องถิ่นขึ้นใหม่ด้วยการเชื่อมต่อแบบใยแก้วนำแสงทั้งระบบ (full-fiber) การรองรับหลายบริการ และการนำส่งทางไกลแบบพาสซีฟ โซลูชันดังกล่าวนี้ช่วยลดการใช้พื้นที่แรงดันไฟฟ้าต่ำพิเศษ (ELV) เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการและบำรุงรักษา (O&M) และเลี่ยงการลงทุนในการก่อสร้างซ้ำ การวิเคราะห์ทางการเงินชี้ว่าสถานดำเนินงานขององค์กรที่มีจุดสารสนเทศ 6,000 จุดสามารถมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 9,596,000 เหรียญภายในห้าปี

ฟอร์เรสเตอร์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทในการวัดผลประโยชน์จากการลงทุนด้านเทคโนโลยีของกรณีศึกษา การศึกษาดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นผลประโยชน์ทางธุรกิจจากโซลูชัน POL ของหัวเว่ยสำหรับองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ที่วัดเป็นตัวเงิน ผลประโยชน์ที่ไม่ได้วัดเป็นตัวเงิน และความยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังมีการสร้างแบบจำลองทางการเงินของผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม (Total Economic Impact(TM) หรือ TEI) สำหรับองค์กรแบบผสมผสาน (composite organization) จากสถานดำเนินงานขององค์กรเพื่อวัดมูลค่าปัจจุบันสุทธิด้วย

ผลประโยชน์ที่วัดเป็นตัวเงิน:

  • การประหยัดต้นทุนในการปฏิบัติการและบำรุงรักษาเครือข่าย (O&M): การรวมระบบการบริหารจัดการอุปกรณ์ POL และการปฏิบัติการและบำรุงรักษาแบบทั้งเครือข่าย การนำส่งจากจุดหนึ่งไปยังหลายจุดผ่านอุปกรณ์แยกแสงแบบพาสซีฟ การลดจุดการบำรุงรักษา และการเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเครือข่าย 60% ให้มูลค่าปัจจุบันรวมกว่า 535,000 เหรียญภายในห้าปี
  • การประหยัดต้นทุนการขยายเครือข่าย: ประหยัดเงินลงทุนด้านการก่อสร้างได้ถึง 75% จากสถาปัตยกรรม POL ที่เรียบง่ายและเส้นใยนำแสงที่น้ำหนักเบาและยืดหยุ่น ให้มูลค่าปัจจุบันรวมกว่า 276,000 เหรียญภายในห้าปี
  • การประหยัดพื้นที่แรงดันไฟฟ้าต่ำพิเศษ: การแทนที่สวิทช์รวมชนิดแอคทีฟแบบดั้งเดิมด้วยอุปกรณ์แยกแสงแบบพาสซีฟ ให้มูลค่าปัจจุบันรวม 96,000 เหรียญภายในห้าปี

ผลประโยชน์ที่ไม่ได้วัดเป็นตัวเงิน: POL นำส่งแบบอัลตร้าบรอดแบนด์ด้วยเส้นใย โดยปรับปรุงประสบการณ์การใช้เครือข่ายในวงการการศึกษา สุขภาพ อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมการผลิต จึงช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลและการเติบโตของธุรกิจ

ความยืดหยุ่น: โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนของเส้นใย POL นั้นรักษาคุณสมบัติสำหรับการใช้งานได้นาน 30 ปี จึงช่วยหลีกเลี่ยงการลงทุนซ้ำ นอกจากนี้โซลูชัน POL ยังมีการรวมบริการในลักษณะที่มุ่งสู่อนาคต จึงช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

ในการศึกษานี้ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคและสมาชิกกรรมการบริหารของเครือรีสอร์ทท่องเที่ยวแห่งหนึ่งกล่าวว่า “หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้เครือข่าย POL ของหัวเว่ยคือ[เมื่อตอนที่เครือข่ายแบบดั้งเดิม]เกิดขัดข้องในวันเช็คเอาท์ที่มีปริมาณงานสูงสุด ซึ่ง[ได้สร้าง]ประสบการณ์ที่เลวร้ายเป็นอย่างมากให้แก่ลูกค้าของเรา”

ผู้จัดการด้านไอทีของบริษัทการผลิตแห่งหนึ่งกล่าวว่า “หน่วยเครือข่ายเชิงแสง (ONU) ของหัวเว่ยสามารถทำงานได้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส จึงรองรับสภาพแวดล้อมเชิงอุตสาหกรรมของเรา เรายังชอบใช้เครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ (PON) ด้วย”

โซลูชัน POL ของหัวเว่ยสามารถขยายเส้นใยไปยังห้องแต่ละห้อง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแต่ละเครื่อง และเครื่องจักรแต่ละเครื่องในพื้นที่การใช้งานในสภาวการณ์ต่าง ๆ ของหลากหลายอุตสาหกรรม จึงช่วยลดต้นทุนการเดินสายเคเบิล ช่วยให้มีแบนด์วิดธ์สูงและความหน่วงต่ำ และเอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับองค์กรต่าง ๆ

หมายเหตุ: ผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม (Total Economic Impact หรือ TEI) คือระเบียบวิธีวิจัยที่พัฒนาโดยฟอร์เรสเตอร์รีเสิร์ช (Forrester Research) ซึ่งช่วยบริษัทต่าง ๆ ในการสื่อสารคุณค่าที่ส่งมอบให้แก่ลูกค้า (value proposition) ของผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทกับลูกค้า นอกจากนี้ยังแสดง พิสูจน์ความถูกต้อง และสร้างผลประโยชน์ทางการเงินของโครงการไอซีทีให้แก่ผู้บริหารจัดการระดับสูงและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายหลักของธุรกิจ

งานโมบายล์เวิลด์คองเกรส บาร์เซโลนา ประจำปี 2565 (MWC Barcelona 2022) จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ถึง 3 มีนาคมในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ในงานดังกล่าว หัวเว่ยจะจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่บริเวณจัดแสดงหมายเลข 1H50 ในห้องจัดแสดงฟิร่า กรัน เวีย ฮอลล์ 1 (Fira Gran Via Hall 1) ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Huawei Enterprise at MWC 2022 | New Value Together

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์