หัวเว่ยได้จัดการประชุมสุดยอด TrustInTech Summit 2021 ในวันที่ 2 ธ.ค. ทางออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “ความร่วมมือระดับโลกสู่ค่านิยมร่วม” (Global Collaboration for Shared Value)
ผู้นำจากทั่วโลกได้เข้าร่วมในงานนี้ รวมทั้ง นีล บุช ประธานมูลนิธิจอร์จ เอช. ดับเบิลยู บุช ฝ่ายความสัมพันธ์สหรัฐ-จีน, ปาสคาล ลามี อดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO), วิลเลียม นอร์ดเฮาส์ ผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2561, ฯพณฯ ซัตวินเดอร์ ซิงห์ รองเลขาธิการ ASEAN, เดอร์ริก พิตต์ส ทูตระบบสุริยะ NASA และโหว จินหลง รองประธานอาวุโสของหัวเว่ย และประธานหัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ (Huawei Digital Power)
ผู้เข้าร่วมงานตระหนักว่ามนุษยชาติได้เข้าสู่ยุคที่ความสนใจ ชะตาชีวิต และอนาคตล้วนเกี่ยวพันกัน และเรียกร้องให้มีความร่วมมือเพื่อจัดการกับความท้าทายร่วมกัน “เราจำเป็นต้องบรรเทาการทวนกระแสโลกาภิวัตน์เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้โลกนี้แย่ลง” ปาสคาล ลามี กล่าว
ทุกวันนี้ การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภารกิจที่ทั้งโลกมีร่วมกัน โดยหลายประเทศได้ประกาศคำปฏิญาณเรื่องนโยบายคาร์บอนต่ำ โดยวิลเลียม นอร์ดเฮาส์ กล่าวว่า รัฐบาลควรเพิ่มการลงทุนในการวิจัยและเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ
โหว จินหลง ขยายความเพิ่มเติมว่า “ด้วยการแสวงหานวัตกรรมในการผลิตพลังงานสะอาด การเปลี่ยนระบบพลังงานให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในระบบคมนาคมขนส่ง โครงสร้าง ICT สีเขียว และพลังงานอัจฉริยะแบบบูรณาการ เรากำลังร่วมมือกับลูกค้าและคู่ค้าทั่วโลกในการสร้างบ้าน, โรงงาน, แคมปัส, หมู่บ้าน และเมืองแบบคาร์บอนต่ำ”
ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 หัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ ได้ช่วยให้ลูกค้าผลิตพลังงานสีเขียวรวม 4.435 แสนล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง และประหยัดไฟฟ้ารวม 1.36 หมื่นล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง เทียบได้กับการลดการปล่อยคาร์บอน 210 ล้านตันและการปลูกต้นไม้ 290 ล้านต้น
ผู้เข้าร่วมงานได้เตือนว่าประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์ไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรม โดยนีล บุช ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับกระแสการแบ่งแยกโลกที่เพิ่มมากขึ้น “หลายฝ่ายกำลังใช้วิธีคิดแบบเกมที่ต้องมีแพ้-ชนะ (zero-sum game) ซึ่งเป็นวิธีคิดที่อันตรายและขัดต่อสามัญสำนึก ความสำเร็จของจีนไม่ได้แปลว่าเขาแย่งไปจากเรา หรือเราต้องแย่งมาจากเขา โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยี หากจีนกับสหรัฐร่วมมือกัน เราจะสามารถพัฒนานวัตกรรมได้ในระดับฐานรากและสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ”
ความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติได้สร้างความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ โดยดร.เดอร์ริก พิตต์ส ให้ข้อสังเกตถึงการทำงานร่วมกันระหว่าง 7 ประเทศในโครงการ International Brain Initiative, กล้องทีเอ็มที (Thirty Meter Telescope) และโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติอื่น ๆ โดยได้เน้นย้ำว่าวิทยาศาสตร์จะเฟื่องฟูได้ดีที่สุดในสภาวะที่ส่งเสริมความหลากหลายและความร่วมมือข้ามสาขา
ซัตวินเดอร์ ซิงห์ กล่าวปิดงานประชุมสุดยอดในครั้งนี้ โดยชื่นชมการดำเนินบทบาทสำคัญของบริษัทเอกชนอย่างหัวเว่ยในด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มคนและความยั่งยืนในทั่วทั้งอาเซียนและที่อื่น ๆ