TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้น เดินหน้าสร้างสรรค์ชุมชนออนไลน์ที่ปลอดภัยและตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มพลังบวกสำหรับผู้คน ด้วยการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มและชุมชนออนไลน์ ผ่านการพัฒนานโยบาย เทคโนโลยี และบุคลากรด้านความปลอดภัย เพื่อลดผลกระทบจากการใช้เวลาบนออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 และนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ ทั้งด้านสุขภาพที่อ่อนล้าจากการใช้งานออนไลน์เป็นเวลานาน ปัญหาความเครียดสะสม และภัยออนไลน์ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัวฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย และการอัปเดตแนวทางปฏิบัติสำหรับชุมชน (Community Guideline) บนแพลตฟอร์มให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้แพลตฟอร์มของผู้คนในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถใช้เวลาบน TikTok ด้วยความมั่นใจและปลอดภัย
ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตประจำวันของผู้คน ทั้งเพื่อการติดต่อสื่อสาร การติดตามข้อมูลข่าวสาร และเพื่อเสพย์ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ในท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้คนใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้น โดยงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยว่า การใช้เวลาบนออนไลน์ที่มากเกินไปจะส่งผลกระทบในหลายด้าน ทั้งปัญหาทางการเรียน การทำงาน ที่ส่งผลให้ขาดความสามารถในการจดจ่อในสิ่งที่ตัวเองต้องรับผิดชอบ รวมถึงปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจ ที่สามารถส่งผลกระทบทางร่างกายทั้งอาการเมื่อยล้า สมาธิสั้น และภาวะเครียดสะสม อีกทั้งภัยออนไลน์อื่นๆ อาทิ การคุกคามทางออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ อาทิ Cyberbullying เป็นต้น ซึ่งจากงานวิจัยนี้จึงทำให้มองเห็นความสำคัญกับพฤติกรรมการใช้งานออนไลน์ที่มากเกินไปของคนไทยในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากผลสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ได้เปิดเผยว่าในปี 2563 คนไทยใช้เวลาบนอินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นถึง 11.23 ชั่วโมงต่อวัน จากระยะเวลาที่คนไทยใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อวันในปี 2562 ที่ใช้เวลาเฉลี่ยที่ 10.22 ชั่วโมงต่อวัน รวมถึงการใช้เวลาบนโมบายอินเตอร์เน็ตสูงติดอันดับ 3 ของโลกเฉลี่ย 5.07 ชั่วโมงต่อวัน โดยพบว่ากลุ่ม GEN Y (อายุ 20 – 39 ปี) มีการใช้อินเตอร์เน็ตสูงสุดถึง 12.26 ชั่วโมง รองลงมา คือ GEN Z (อายุน้อยกว่า 20 ปี) ที่มีการใช้สูงถึง 12.08 ชั่วโมง โดยมีเหตุผลสำคัญมาจากการสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีมาตรการปิดสถานศึกษาโดยให้ทำการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และสถานที่ทำงานส่วนใหญ่มีนโยบายการทำงานแบบ Work From Home ทำให้กลุ่ม GEN Y และ GEN Z ต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนและการทำงานมาเป็นแบบออนไลน์มากขึ้น จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากใช้เวลาอยู่บนออนไลน์แบบไม่สมดุล และกำลังเผชิญกับผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ด้วยเหตุนี้ TikTok ในฐานะแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ให้ความสำคัญในการดูแลสภาพแวดล้อมบนแพลตฟอร์มให้เป็นพื้นที่ ที่เป็นมิตรและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ TikTok ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ผ่านการพัฒนานโยบาย เทคโนโลยี และบุคลากรด้านความปลอดภัย โดยที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัวฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย และการอัปเดตแนวทางปฏิบัติสำหรับชุมชน (Community Guideline) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน ควบคู่กับการกำหนดหลักจรรยาบรรณบนแพลตฟอร์มอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและกฎระเบียบในแต่ละประเทศ ซึ่งแนวทางการยกระดับความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม TikTok ได้ทำอย่างเคร่งครัดผ่าน 4Ps ได้แก่ Policy (นโยบาย), Product (ผลิตภัณฑ์), People (บุคลากร) และ Partners (พันธมิตร) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้แพลตฟอร์มโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้ผู้ใช้ทุกคนรู้สึกไว้วางใจและมั่นใจในทุกการใช้แพลตฟอร์ม ผ่านเครื่องมือการตั้งค่าความปลอดภัยต่างๆ ดังนี้
- การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (Privacy Setting)
บัญชีผู้ใช้ TikTok จะได้รับการตั้งค่าเริ่มต้นโดยอัตโนมัติให้เป็นสาธารณะ (Public) แต่สามารถเปลี่ยนการตั้งค่าให้เป็นบัญชีส่วนตัวได้ ผ่านหน้าการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย โดยบัญชีส่วนตัวสามารถอนุมัติหรือปฏิเสธคำขอติดตามจากผู้ใดก็ได้ และจะมีเพียงผู้ใช้ที่ได้รับการอนุญาตให้เป็นผู้ติดตามเท่านั้นที่จะเห็นคอนเทนท์ นอกจากนี้การลบผู้ติดตามออกจากบัญชีหรือบล็อคผู้ใช้คนอื่นๆ จะทำให้พวกเขาไม่สามารถสื่อสารโต้ตอบหรือดูคอนเทนท์ได้ ขณะที่ผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี จะได้รับการตั้งค่าเริ่มต้นอัตโนมัติเป็นสถานะส่วนตัว (Private)
- การจำกัดคอนเทนท์ที่มองเห็น (Restricted Mode)
การเลือก Restricted Mode หรือ การจำกัดเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสม เป็นตัวเลือกที่จะช่วยจำกัดการแสดงเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้ชมทุกเพศทุกวัย โดยสามารถปรับเปลี่ยนการตั้งค่าการจำกัดเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสมได้ตลอดเวลา
- การตั้งค่าการส่งข้อความ (Direct Message)
การส่งข้อความเป็นวิธีแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์กับผู้ใช้รายอื่นได้เป็นอย่างดี แต่ใน TikTok สามารถกำหนดให้มีเพียงผู้ติดตามแอคเคาท์ส่งข้อความถึงได้ หรือ ปิดการส่งข้อความทั้งหมด โดยเข้าไปตั้งค่าความเป็นส่วนตัว นอกจากนี้ TikTok ยกระดับความปลอดภัยอีกขั้น ด้วยการปิดการรับส่งข้อความสำหรับผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี
- การจำกัดการดูเอ็ท (Duet)
ดูเอ็ทเป็นอีกหนึ่งวิธีในการสร้างสรรค์วิดีโอร่วมกับครีเอเตอร์รายอื่นได้อย่างสนุกสนาน แต่ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าใครสามารถดูเอ็ทหรือรีแอค (React) กับวิดีโอของตนได้ โดยกำหนดการตั้งค่า (Preferences) ในบัญชีผู้ใช้ หรือเลือกที่จะเปิดหรือปิดดูเอ็ทสำหรับวิดีโอบางรายการก็ได้
- การจำกัดเวลาการใช้แพลตฟอร์ม (Screen Time Management)
การกำหนดขีดจำกัดเวลาการรับชมบนแพลตฟอร์มจะช่วยควบคุมเวลาการใช้แพลตฟอร์มในแต่ละวันได้ ซึ่งฟีเจอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของสุขภาวะดิจิทัล (Digital Wellbeing) สามารถตั้งค่าได้ผ่านรหัสผ่านและสามารถกำหนดเวลาได้หลายช่วง ได้แก่ 40 นาที 60 นาที 90 นาที และ 120 นาที
- การรับทราบข้อมูลที่เป็นจริง (Know the Facts)
ฟีเจอร์ที่ผู้ใช้จะเห็นแบนเนอร์แจ้งเตือนปรากฏอยู่บนคอนเทนท์วิดีโอในกรณีที่วิดีโอนั้นยังไม่ได้รับการยืนยันว่าได้รับการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว โดยข้อความปรากฏขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ได้ฉุกคิดและพิจารณาอีกครั้งว่าจะเลือก “ยกเลิกการแชร์” หรือ “แชร์ต่อไป”
- การกรองความคิดเห็น (Filter All Comments)
ฟีเจอร์สำหรับผู้ใช้ที่จะสามารถตัดสินหรือเลือกได้เองว่าจะให้คอมเมนท์ใดปรากฏอยู่ใต้วิดีโอ หากเปิดใช้ฟีเจอร์นี้คอมเมนท์ทั้งหมดจะถูกซ่อนไว้ ยกเว้นข้อความที่ได้รับอนุมัติจากผู้ใช้เท่านั้น
- การพิจารณาทบทวน (Rethink)
การแจ้งเตือนผู้ใช้ก่อนการแสดงความคิดเห็นหรือคอมเมนท์ที่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยจะมีข้อความขึ้นมาเตือนว่า ต้องการโพสต์ความคิดเห็นหรือคอมเมนท์นั้นหรือไม่
นอกจากนี้ TikTok ยังให้ความสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชนใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างมีความรู้และปลอดภัย ผ่านฟีเจอร์ต่างๆ ในโหมด Family Pairing หรือ โหมดแนะนำโดยผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถเชื่อมต่อและเข้าไปบริหารจัดการแอคเคาท์ของบุตรหลานในการตั้งค่าความปลอดภัยต่างๆ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลให้กับเยาวชน
โดยสามารถตั้งค่า โหมด Family Pairing หรือ โหมดแนะนำโดยผู้ปกครอง ได้ที่หน้าการตั้งค่าและความเป็นส่วนตัว (Setting and Privacy) และเลือกที่ Family Pairing หรือ โหมดแนะนำโดยผู้ปกครอง หลังจากนั้นจะสามารถเชื่อมต่อการใช้แพลตฟอร์มระหว่างแอคเคาท์ของผู้ปกครองกับแอคเคาท์ของบุตรหลาน เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถตั้งค่าความปลอดภัยต่างๆ เกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์มของบุตรหลานได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่ากำหนดเวลาการใช้แพลตฟอร์มและโหมดจำกัดเนื้อหาของบุตรหลาน รวมถึงการกำหนดผู้คนที่จะส่งข้อความเข้ามาหาหรือสามารถปิดการรับข้อความได้ นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
- การค้นหา (Search)
ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่ากำหนดการค้นหาของบุตรหลานได้ ทั้งเนื้อหา ผู้ใช้ แฮชแท็ก และเสียง
- ความคิดเห็น (Comments)
ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่าได้ว่าใครสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นในวิดีโอของบุตรหลานได้ โดยสามารถเลือกเปิดให้ทุกคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นหรือเลือกเฉพาะคนที่รับเป็นเพื่อน หรือตั้งค่าไม่ให้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นได้
- การค้นหาและดูเนื้อหาในแอคเคาท์ (Discoverability)
ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้กับแอคเคาท์ของบุตรหลานได้ หรือกำหนดว่า ใครที่สามารถเข้าถึงหรือดูเนื้อหาของบุตรหลานได้ รวมทั้งสามารถตั้งค่าเป็นสาธารณะที่เปิดให้ทุกคนสามารถค้นหาและดูเนื้อหาได้
- วิดีโอที่ชื่นชอบ (Liked Videos)
ผู้ปกครองสามารถกำหนดได้ว่า ใครที่จะสามารถดูวิดีโอที่บุตรหลานของคุณเข้าไปกดไลค์ หรือชื่นชอบได้
TikTok มุ่งมั่นพัฒนาในเรื่องการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มและชุมชนออนไลน์ที่ปลอดภัยให้กับผู้ใช้ของเราทั่วโลก โดยคำนึงถึงบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและกฎระเบียบในแต่ละประเทศ ซึ่งแนวทางการยกระดับความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม TikTok ได้ทำอย่างเคร่งครัดผ่าน 4Ps ได้แก่ Policy (นโยบาย), Product (ผลิตภัณฑ์), People (บุคลากร) และ Partners (พันธมิตร) โดยมุ่งเน้นสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้แพลตฟอร์มโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้ผู้ใช้ทุกคนรู้สึกไว้วางใจและมั่นใจในทุกการใช้แพลตฟอร์ม เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับชมความบันเทิง ข้อมูลข่าวสาร แชร์เรื่องราว และเพลิดเพลินไปบนแพลตฟอร์ม TikTok ได้อย่างสบายใจไร้กังวลในทุกๆ สถานการณ์
ที่มา: ChomPR