จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสระลอกใหม่ในประเทศไทยตั้งแต่สัปดาห์ที่สี่ของเดือนธันวาคมปีที่แล้ว กระทรวงศึกษาธิการได้สั่งปิดโรงเรียนทุกแห่งในเขตพื้นที่สีแดงรวมถึงกรุงเทพมหานคร และเปิดใช้การเรียนรู้ออนไลน์จนถึงสิ้นเดือนมกราคม การปิดโรงเรียนในครั้งนี้อาจใช้เวลานานกว่าเดิม เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าวิตกกังวล
การระบาดของโรคนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเด็ก ทำให้เกิดความเครียดกังวลและวิตกกังวล ผลสำรวจของ UNICEF ยังพบว่าเด็กและเยาวชนจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งกังวลเกี่ยวกับการเรียน การสอบ และการศึกษาในอนาคต เด็กประมาณครึ่งหนึ่งเครียดจากการที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ แพลตฟอร์มการศึกษาใหม่เปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้ใช้เวลาออนไลน์มากขึ้น ทั้งระหว่างที่เรียนออนไลน์และหลังจากหมดคาบเรียน ซึ่งข้อมูลนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่แสดงให้เห็นว่าเด็กไทยใช้เวลาโดยเฉลี่ยมากกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์บนสมาร์ทโฟนหรือบนอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ที่บ้านในปัจจุบัน แคสเปอร์สกี้จึงได้จัดเวทีออนไลน์เพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการดูแลให้เด็ก ๆ ปลอดภัยบนโลกออนไลน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญร่วมอภิปรายด้วย ได้แก่ คุณฐิตาภรณ์ ฐานปัญญา รองผู้อำนวยการ และคุณศิริวกรณ์ โวยสิน ผู้จัดการทั่วไปของโรงเรียนนานาชาติบริติชโคลัมเบีย คุณเรืองริน อักษรานุเคราะห์ นักจิตวิทยาความสัมพันธ์และครอบครัว พร้อมด้วยคุณซินดี้ สิรินยา บิชอป นางแบบและคุณแม่ลูกสอง
คุณพุฒิพงศ์ พงศ์ลักษมาณา ผู้จัดการฝ่ายพรีเซลส์ของแคสเปอร์สกี้ ได้ระบุว่า ระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2563 เด็กไทยจำนวนมากถึง 42% ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการค้นหาสื่อการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนออนไลน์ของตน
“ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่เด็กๆ ในประเทศไทยกำลังใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิผล รายงาน Digital Comfort Zone[1] ของแคสเปอร์สกี้พบการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นมากถึงสองชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ปกครองจำนวน 63% เห็นว่าบุตรหลานใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นกว่าเดิมเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว การศึกษาของเรายังเผยให้เห็นว่า ผู้ปกครองกลัวเรื่องความปลอดภัยทางออนไลน์ของบุตรหลาน แต่ก็ไม่ยอมสละเวลาพูดคุยประเด็นนี้กับเด็กๆ ด้วยเหตุนี้เราจึงยินดีอย่างยิ่งที่ได้เริ่มการสนทนาดังกล่าวในวันนี้” คุณพุฒิพงศ์กล่าว
ในส่วนของคุณเรืองรินได้ระบุว่า ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มความบันเทิงออนไลน์ที่แตกต่างกันมากมายสำหรับเด็กโดยเฉพาะ หลายแพลตฟอร์มอาจมีการโต้ตอบทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อให้เด็กๆ ได้สนุกสนานในโลกของตนเอง ซึ่งอาจทำร่วมกับเพื่อนๆ หรือในบางครั้งก็ทำร่วมกับคนแปลกหน้า
“โลกออนไลน์เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน โลกออนไลน์มีประโยชน์มากมาย แต่แน่นอนว่าย่อมต้องเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงมากมายเช่นกัน ในฐานะพ่อแม่ เราต้องสำรวจโลกใบนี้ร่วมกับลูกๆ เพื่อให้เด็กมีความสุขกับการเป็นตัวของตัวเอง เด็กๆ ควรได้รู้ว่าแม้ขณะอยู่ในโลกออนไลน์ พ่อแม่ก็พร้อมให้การสนับสนุนอยู่เสมอ สิ่งสำคัญคือต้องระวังว่าบุตรหลานของคุณกำลังทำอะไรขณะออนไลน์ และสร้างความสมดุลเพื่อให้บุตรหลานสามารถพูดคุยกับคุณได้อย่างสบายใจ” คุณเรืองรินกล่าวเสริม
คุณฐิตาภรณ์กล่าวถึงการไม่ได้มาโรงเรียนและการเรียนออนไลน์ที่บ้านนั้นทำให้เด็กนักเรียนคิดถึงเพื่อนๆ และไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนได้ สำหรับนักเรียนที่เป็นกลุ่มเด็กเล็กที่จะต้องเคลื่อนไหวร่างกายนั้นมีแนวโน้มที่จะมีสมาธิสั้นได้ การถูกจำกัดบริเวณอยู่ที่บ้านและการที่พ่อแม่มีงานยุ่งเกินกว่าจะให้เด็กๆ สนใจกิจกรรม อาจทำให้เด็กๆ ผิดหวังคับข้องใจ ซึ่งอาจแสดงให้เห็นได้จากพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ดื้อรั้น ไม่ให้ความร่วมมือ และไม่สนใจใดๆ ได้
“อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะเป็นแง่ลบ เนื่องจากยังมีแง่ดีอีกมากมายในการอยู่บ้านและเรียนรู้ที่บ้าน ผู้ปกครองสามารถใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันกับบุตรหลาน ออกกำลังกายร่วมกัน หรือเล่นสนุกด้วยกัน สถานการณ์ปัจจุบันจะช่วยเพิ่มความผูกพัน และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับพ่อแม่ในการนั่งคุยกับลูกๆ และพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่สำคัญ เช่น การสร้างนิสัยออนไลน์เพื่อความปลอดภัย” คุณศิริวกรณ์กล่าว
คุณซินดี้ หนึ่งในผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แสดงความคิดเห็นว่าเธอมีความสุขกับการอยู่บ้านและเรียนรู้ที่บ้านกับลูกๆ แต่ก็มีความท้าทายด้วยเช่นกัน “ซินดี้ได้เรียนรู้จากแคสเปอร์สกี้ว่า พ่อแม่ที่ไม่คุ้นเคยกับวิดีโอเกมหรือโซเชียลมีเดียอย่าง TikTok อาจห้ามลูกๆ ไม่ให้เล่นอย่างเด็ดขาด แต่การห้ามก็ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด เนื่องจากเด็กๆ อาจมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่เล่นเกมนี้ด้วย และการไม่อนุญาตให้เล่นกับเพื่อนๆ อาจทำให้ลูกรู้สึกเหมือนเป็นคนนอกกลุ่ม ดังนั้นพ่อแม่ควรตรวจสอบและสร้างสมดุลในการเลี้ยงดูบุตรหลานของตน”
“ซินดี้ใช้ Kaspersky Safe Kids เพื่อให้เกิดความสมดุลนี้ วิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกๆ เช่น การไม่ใช้สมาร์ทโฟนในช่วงเวลารับประทานอาหาร และพูดคุยเกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกไซเบอร์หากเด็กๆ มีข้อสงสัย เพราะถึงแม้พ่อแม่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ แต่เราจะเรียนรู้ไปด้วยกัน” คุณซินดี้กล่าวเสริม
แคสเปอร์สกี้มีเคล็ดลับดีๆ สำหรับผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานดังนี้
- ใช้เวลาในการสื่อสารกับบุตรหลานของคุณมากขึ้นเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยออนไลน์ บอกบุตรหลานของคุณว่าสิ่งใดที่ต้องไม่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตไม่ว่าในกรณีใดๆ และเพราะเหตุใด
- ท่องอินเทอร์เน็ตและเรียนรู้พร้อมกันกับบุตรหลาน ดูว่าเด็กๆ ใช้เวลาออนไลน์ที่ไหน และสำรวจวิธีรักษาความปลอดภัยให้ดีที่สุด นอกจากนี้ ควรใช้เวลาในการเล่นเกมออนไลน์ด้วย เพื่อให้คุณสามารถเรียนรู้จากกันและกัน
- อธิบายกับบุตรหลานว่า ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนทั้งหมดควรส่งผ่านทางแอปแมสเซ็นเจอร์ และส่งถึงเฉพาะกับคนที่รู้จักในชีวิตจริงเท่านั้น
- และแคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ผู้ปกครองติดตั้งซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เช่น Kaspersky Total Security เพื่อปกป้องบุตรหลานจากภัยคุกคามออนไลน์
แคสเปอร์สกี้ขอเสนอโปรโมชั่นส่วนลด 20% สำหรับผลิตภัณฑ์ Kaspersky Total Security ที่มีฟีเจอร์ Kaspersky Safe Kids สามารถรับโปรโมชั่นได้ที่ https://www.thaikaspersky.com/Safekids/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Thai Kaspersky Service Center โทร 02-203-7500 หรือไลน์ไอดี @thaikaspersky.com
[1] More Connected Than Ever Before https://www.kaspersky.com/blog/digital-comfort-zone-report/
ที่มา: พิตอน คอมมิวนิเคชั่น