ฟังก์ชั่นตรวจวัดความดันโลหิตบนนาฬิกา ASUS VivoWatch ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ASUS ได้ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งสำคัญในเส้นทางการพัฒนาอุปกรณ์ดูแลด้านสุขภาพอัจฉริยะในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันตรวจวัดความดันโลหิตที่ได้พัฒนาขึ้น (ASUS Heath Connect) ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศไทย (อย. ประเทศไทย) (FDA no. 67-2-2-2-0009328) ซึ่งถือเป็นการรับรองซอฟต์แวร์ทางการแพทย์ในต่างประเทศครั้งแรกของ ASUS ในตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ASUS ได้มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพอัจฉริยะ พร้อมทั้งปฏิบัติตามมาตรฐานอุปกรณ์ทางการแพทย์ในตลาดในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้นำโซลูชันเทคโนโลยีการตรวจวัดสุขภาพที่ล้ำสมัยมาสู่ตลาดในประเทศไทย” Mr. Joe Hsieh ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและรองประธานอาวุโสระดับโลกของ ASUS กล่าว “การรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทยนี้ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นของเราในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีด้านสุขภาพที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างมั่นใจ”

ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันตรวจวัดความดันโลหิตของ ASUS ซึ่งเป็นโซลูชันวัดความดันโลหิตแบบสวมใส่ที่พัฒนาโดยอิสระ ซึ่งเป็นรายแรกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งไต้หวัน (TFDA หมายเลข 007812) และสามารถใช้งานร่วมกับ ASUS VivoWatch ในรุ่นที่รองรับ แอปนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถบันทึกค่า เก็บข้อมูล และแสดงค่าความดันโลหิตได้ ทั้งค่าความดันช่วงบน (Systolic) และช่วงล่าง (Diastolic) รวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจ

ฟังก์ชันวัดความดันโลหิตนี้คาดว่าจะพร้อมใช้งานในประเทศไทยสำหรับผู้ใช้ ASUS VivoWatch 6, VivoWatch 5, VivoWatch 5 AERO และ VivoWatch SP ภายในสิ้นปีนี้

นอกจากนี้ ASUS ยังได้สร้างความร่วมมือกับโรงพยาบาลชั้นนำในไต้หวัน โดยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพเคลื่อนที่ (mHealth) และการตรวจวัดสัญญาณชีพแบบต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจะขยายต่อโครงการมายังศูนย์ตรวจสุขภาพชั้นนำและผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยเพื่อสร้างรูปแบบบริการสุขภาพดิจิทัลที่ล้ำสมัย โดย ASUS VivoWatch จะถูกนำมาใช้ในศูนย์ตรวจสุขภาพเพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยพัฒนาแผนการดูแลสุขภาพแบบเฉพาะบุคคลและส่งเสริมการดูแลสุขภาพจากระยะไกล