Stellar Cyber จากเมืองซานตาคลารา มลรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นผู้นำในตลาดแพลตฟอร์ม Open XDR ประกาศความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติหรือ สกมช. (NCSA) โดยจัดมอบลิขสิทธิ์เข้าใช้แพลตฟอร์ม Open XDR ให้กับวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Stellar Cyber University Program ชูวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาและนักศึกษาเข้าถึงเทคโนโลยีการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ระดับสูง Open XDR นี้ได้อย่างครอบคลุม ช่วยสร้างทักษะเชิงปฏิบัติในเชิงลึก ช่วยสร้างบุคลากรมืออาชีพป้อนอุตสาหกรรมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต
ภัยคุกคามในปัจจุบันเกิดขึ้นในหลายรูปแบบและองค์กรต่างๆ จำเป็นจะต้องใช้โซลูชันที่หลากหลายในการตรวจจับภัย การผลิตบุคลากรมืออาชีพที่เชี่ยวชาญกับการทำงานของอุปกรณ์ที่หลากหลายนั้นใช้เวลาและทรัพยากรมาก ไม่ทันต่อการปรับเปลี่ยนอันรวดเร็วของผู้คุกคาม Stellar Cyber จึงได้จัดตั้งโปรแกรมที่ชื่อว่า Stellar Cyber University Program เป็นโครงการที่ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วโลก ที่เปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาสามารถจัดหลักสูตรสอนและนักศึกษาเข้าถึงเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยไซเบอร์ Open XDR ให้ความรู้ใหม่ล่าสุดในอุตสาหกรรมพร้อมฝึกหัดและลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้จริงในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ โดยคาดว่า จะเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาให้เป็นบุคลากรคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการในตลาดโลกต่อไป
นายโดมินิก นีโอ รองประธานฝ่ายขายประจำภูมิภาค ASEAN และ ANZ ที่สเตลล่า ไซเบอร์กล่าวว่า “ภายใต้โครงการ Stellar Cyber University Program นี้ Stellar Cyber จะมอบไลเซ่นและการฝึกอบรมผู้สอนให้สามารถใช้งานและสอนโซลูชัน Open XDR ซึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยประเภท SIEM, NDR, UEBA, FIM, IDS, Malware Sandbox, SOAR และ TIP ส่งให้นักศึกษามีทักษะในการใช้งานอุปกรณ์ประเภทต่างๆ จริง อีกทั้งยังเป็นความรู้ในระดับมาตรฐานโลกเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นอื่นๆ ที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้ อาทิ Glendale Community College ในประเทศอเมริกา
Stellar Cyber เห็นว่าวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัยไซเบอร์ โดยได้เปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา รวมถึงหลักสูตรในระดับประกาศนียบัตรโดยมีเป้าหมายในการสร้างผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมเข้าสู่ตลาดไอทีในอนาคต เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้ ทาง Stellar Cyber จึงได้มอบ Open XDR license ให้แก่มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมสร้างสรรค์และเสริมสร้างศักยภาพในการเรียนการสอนด้านความปลอดภัยไซเบอร์ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ บริษัท เนคท์เวฟ (ประเทศไทย) จำกัด ดิสทริบิวเตอร์หลักของ Stellar Cyber จะเป็นผู้ให้คำแนะนำด้านเทคนิคและสนับสนุนการปฏิบัติงานแก่มหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างใกล้ชิด”
นาวาเอกหญิง ศิริเนตร รักษ์วงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติกล่าวว่า “สกมช.รับผิดชอบเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มาโดยตลอด โดยมี “สถาบันวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติได้เริ่มดำเนินโครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระยะที่ 1 รวมไปถึงการจัดฝึกอบรมต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้กับเด็ก เยาวชน คนทำงาน ผู้สูงอายุ และคนพิการไปเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมียอดผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านทุกแพลตฟอร์มกว่า 1 ล้านคน ซึ่งทำให้คณะทำงานเห็นชัดเจนว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดดในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นเริ่มจากภาคการศึกษา จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งเมื่อ Stellar Cyber เข้ามาช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในแก่องค์กรธุรกิจในประเทศไทย โดยจะมอบแพลทฟอร์ม Open XDR เพื่อช่วยผลิตบุคลากรคุณภาพสูงทันต่อภัยคุกคามใหม่ๆ ในครั้งนี้”
ในส่วนของรศ.ดร.สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา คณบดี วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าวว่า “วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์เป็นส่วนงานระดับคณะที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดสอนหลักสูตรที่สร้างนักศึกษาที่มีความรู้และคุณภาพตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยในปีพ.ศ. 2566 วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ได้เปิดหลักสูตรใหม่คือ หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ และหลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านแพลทฟอร์ม XDR นี้อยู่จำนวน 5 ท่าน ที่จะช่วยนำแพลทฟอร์ม Open XDR ใหม่นี้ไปเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้การศึกษาและการวิจัยด้านภัยคุกคาม พร้อมแผนการพัฒนาบุคลากรในสาขานี้ไม่ต่ำกว่า 300 คนภายในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า เพื่อให้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยมีความพร้อมในการทำงานในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นการตอบรับนโยบายของภาครัฐในด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอีกด้วย”