บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานประชุมสำหรับพาร์ทเนอร์ “Huawei Thailand Supplier Convention 2023” โดยได้เชิญพันธมิตรคู่ค้าและพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยของหัวเว่ย ที่มีผลงานโดดเด่นในปี 2566 เข้าร่วมงาน ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรม ดิ แอทธินี กรุงเทพฯ ภายใต้หัวข้อ ‘สร้างระบบนิเวศคู่ค้าและพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่ง เติบโตไปพร้อมกัน เพื่อความสำเร็จร่วมกันในอนาคต’ ตอกย้ำความมุ่งมั่นของหัวเว่ยที่จะเสริมสร้างพันธมิตรในท้องถิ่น สอดคล้องกับพันธกิจของบริษัทฯในการ ‘เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย’ โดยงานประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้บริหาร พาร์ทเนอร์ของหัวเว่ยในประเทศไทย ตลอดจนตัวแทนจากกระทรวงแรงงานเข้าร่วมงานอีกด้วย
ทั้งนี้ การมอบรางวัลแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ รางวัลซัพพลายเออร์ยอดเยี่ยมแห่งปี รางวัลการส่งมอบงานยอดเยี่ยม รางวัลคุณภาพยอดเยี่ยม รางวัลความร่วมมือยอดเยี่ยม รางวัลปฏิบัติการ EHS ยอดเยี่ยม และรางวัลผู้นำยอดเยี่ยม โดยมีการพิจารณาผลงานของซัพพลายเออร์ผ่านการประเมินในด้านต่าง ๆ ตลอดปี ทั้งนี้ ซึ่งยังรวมไปถึงด้านจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจและความสามารถในการความแข่งขัน และได้มีการส่งมอบรางวัลรวมทั้งหมด 69 รางวัล ซึ่งแบ่งเป็นรางวัลสำหรับภาคองค์กรทั้งหมด 49 รางวัล และรางวัลสำหรับหัวหน้าทีมยอมเยี่ยมอีก 20 รางวัล
นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้เกียรติขึ้นกล่าวในพิธีเปิดงานว่า “ในช่วงสามปีที่ผ่านมา หัวเว่ยมีปริมาณการจัดซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านขนาดและคุณภาพ ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงได้สร้างอีโคซิสเต็มส์ของคู่ค้าและพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่ง ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและความโปร่งใส หัวเว่ยเชื่อมั่นว่าเราจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อพาร์ทเนอร์ของเราประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน เราจึงมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือพันธมิตรทุกฝ่ายให้เติบโตได้อย่างเต็มที่ และไขว่คว้าทุกโอกาสที่กำลังรอเราอยู่ในโลกดิจิทัลของประเทศไทย การร่วมมือกันจะทำให้เราสามารถสร้างมูลค่าให้ลูกค้าของเราได้มากขึ้น รวมทั้งประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจมากขึ้นด้วยเช่นกัน”
นายสิทธิชัย สุดสวาท ผู้อำนวยการกองแผนงานและสารสนเทศ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ขึ้นกล่าวในงานภายใต้หัวข้อ “เสริมความแข็งแกร่งให้แก่อีโคซิสเต็มของซัพพลายเออร์” ว่า “ในยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทุกฝ่ายในอีโคซิสเต็มของซัพพลายเออร์จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน เพื่อผลักดันการพัฒนาด้านดิจิทัลในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนนี้ กระทรวงแรงงานมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับหัวเว่ยอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเราทั้งคู่ต้องการที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้แก่แรงงานและห่วงโซ่อุปทานในประเทศไทย เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ ทั้งนี้ โครงการความร่วมมือที่สร้างประโยชน์ให้แก่ทุกฝ่ายและโครงการมอบรางวัลต่าง ๆ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่าหัวเว่ยเป็นบริษัทระดับโลกที่ต้องการสนับสนุนทั้งบริษัทและบุคลากรในประเทศไทยตั้งแต่ระดับพื้นฐานอย่างแท้จริง”
นอกจากพิธีการมอบรางวัลให้แก่เหล่าคู่ค้าและพาร์ทเนอร์ที่ยอดเยี่ยมในไทยแล้ว งานประชุมครั้งนี้หัวเว่ยยังเผยถึงกลยุทธ์ธุรกิจ และตัวอย่างความสำเร็จต่าง ๆ ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสามารถแลกเปลี่ยนพูดคุยและกระชับความสัมพันธ์กับทางหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์รายอื่น สามารถต่อยอดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาธุรกิจที่มีโอกาสเติบโต โดยตัวแทนจาก บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดับเบิ้ลยู เอ็น พี เวิลด์ไวด์ จำกัด ได้เล่าถึงความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับหัวเว่ยและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมา
ดร.ภาณุภัทร์ ภู่เจริญ กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายโทรคมนาคม บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ช่วงที่มีปริมาณงานจำนวนมากเข้ามา เราต้องเข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ให้กับลูกค้าของเราและหัวเว่ยในหลายพื้นที่ การทำงานร่วมกันทำให้เราได้เรียนรู้ว่าสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ คือการรักษาคุณภาพของการส่งมอบและการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ การรักษาคุณภาพนั้นสำคัญมากต่อการทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ลดการแก้ไขงานซ้ำซ้อน และยังสร้างชื่อเสียงให้กับบริษัทอีกด้วย ในขณะเดียวกัน การพัฒนาตนเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับหัวหน้าทีมและผู้จัดการ เนื่องจากโครงการเพิ่มทักษะและความรู้จะทำให้พวกเขาสามารถเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่ทีมและโครงการต่าง ๆ ได้อีกด้วย”
ในขณะที่ คุณ วชิราภรณ์ จันทศร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ดับเบิ้ลยู เอ็น พี เวิลด์ไวด์ จำกัด ได้กล่าวว่า “วัฒนธรรมด้านความปลอดภัยนั้นเปรียบเสมือนการเดินทาง ไม่ใช่จุดหมาย ดังนั้นเราจึงต้องพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยเอาไว้ โดยเราได้ให้บริการติดตั้งระบบและเครือข่ายโทรคมนาคมของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และเป็นพันธมิตรกับหัวเว่ยมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปีในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น ผลิตภัณฑ์ด้านการปล่อยสัญญาณ, IPRAN, DWDM, เครือข่ายหลัก, บรอดแบนด์ไฟเบอร์, อุปกรณ์โทรคมนาคม และในด้านองค์กร ในฐานะผู้ให้บริการผู้รับเหมาช่วงต่อ เราให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากวิธีการส่งมอบโครงการต่าง ๆ ของเรา”
ในงานประชุมนี้ หัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นต่อการทำงานร่วมกับพันธมิตรในประเทศเพื่อเสริมสร้างอีโคซิสเต็มของไอซีทีที่แข็งแกร่งและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจในภาพรวมของประเทศไทย หัวเว่ยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นความพยายามของพันธมิตรไทยทุกฝ่ายที่ช่วยกันอย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย และผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางดิจิทัลที่มีความยั่งยืนแห่งอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยที่ต้องการ ‘นำทุกคนไปข้างหน้า ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’