การประชุมสุดยอดว่าด้วยประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมไอซีทีระดับโลก (Global ICT Energy Efficiency Summit) ครั้งที่ 7 ภายใต้แนวคิด “ไซต์สีเขียว อนาคตสดใส” (Green Site, Brighter Future) ได้เปิดฉากขึ้นที่เมืองบอร์โด ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมชั้นนำ ผู้จำหน่ายเสาสัญญาณ สถาบันวิจัย องค์กรกำหนดมาตรฐาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายสำคัญอื่น ๆ จากทั่วโลก มาร่วมแลกเปลี่ยนทรรศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยมีเป้าหมายเพื่อเร่งสร้างเครือข่ายสีเขียวและคาร์บอนต่ำ พร้อมปลดปล่อยศักยภาพของไซต์ด้วยนวัตกรรมใหม่ เช่น โรงไฟฟ้าเสมือน (VPP)
ในการกล่าวเปิดงาน คุณฟาง เลี่ยงโจว (Fang Liangzhou) รองประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของหัวเว่ย ดิจิทัล เอเนอร์จี (Huawei Digital Energy) ได้เน้นย้ำว่า แม้ว่าผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องแบกรับแรงกดดันจากการลดการปล่อยคาร์บอนและจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น แต่ก็ยังสามารถใช้ประโยชน์จากไซต์และทรัพยากรด้านพลังงานที่มีอยู่ในการเพิ่มรายได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบกิจการสามารถนำระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายตัวมาใช้ออนไซต์ และเชื่อมระบบกักเก็บพลังงานออนไซต์กับโรงไฟฟ้าเสมือน เพื่อชาร์จไฟในช่วงที่ค่าไฟถูกและจ่ายออกในช่วงที่ค่าไฟแพง (peak staggering) หรือสร้างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นในพื้นที่ คุณฟางยังกล่าวด้วยว่า การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นฉันทามติร่วมกันของทั่วโลกไปแล้ว และผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมกำลังเปลี่ยนจากการเป็นผู้ใช้พลังงาน ไปเป็นทั้งผู้ใช้ ผู้ผลิต และผู้ให้การสนับสนุนด้านพลังงาน ขณะที่หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์กำลังเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมประสบความสำเร็จในขณะที่ทั่วโลกเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันโรงไฟฟ้าเสมือนอัจฉริยะ
อุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังมุ่งมั่นก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและหันไปใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดความผันผวนต่อโครงข่ายไฟฟ้า ในขณะเดียวกัน สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ทำให้โครงข่ายไฟฟ้ามีความเสี่ยง ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เราสามารถใช้โรงไฟฟ้าเสมือนเพื่อกักเก็บไฟฟ้าและกำหนดตารางการจ่ายไฟฟ้าแบบกระจายตัว ซึ่งจะทำให้โครงข่ายไฟฟ้ามีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดี โรงไฟฟ้าเสมือนมีข้อกำหนดสูงในด้านขนาดโดยรวมและความสามารถในการตอบสนอง (ความเร็ว ช่วงเวลา และความแม่นยำ) ของระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัว
ด้วยเหตุนี้ หัวเว่ยยจึงเปิดตัวโซลูชันโรงไฟฟ้าเสมือนอัจฉริยะ (Smart VPP Solution) ที่มีอัลกอริทึมอัจฉริยะและฮาร์ดแวร์ประสิทธิภาพสูง โดยมีคุณสมบัติดังนี้
- เรียบง่าย: ระบบโรงไฟฟ้าเสมือนดังกล่าวเป็นแบบสร้างเครือข่ายในตัวและแยกออกจากเครือข่ายที่กำลังให้บริการ โดยปรับใช้ได้อย่างง่ายและไม่ส่งผลกระทบต่อสถาปัตยกรรมและความปลอดภัยของบริการที่มีอยู่ ทั้งยังสามารถเพิ่มเข้าไปได้อย่างราบรื่นกับทุกไซต์และทุกสภาพการใช้งาน
- อัจฉริยะ: แพลตฟอร์มการจัดการพลังงานของหัวเว่ยอาศัยการทำงานร่วมกันของคลาวด์-เครือข่าย และการกำหนดเวลาอัจฉริยะโดยอิงจากการวิเคราะห์และการคาดการณ์ข้อมูลบิ๊กดาต้า นอกจากนี้ เกตเวย์อัจฉริยะและแบตเตอรี่ลิเธียมของโรงไฟฟ้าเสมือนยังประกอบเป็นฮาร์ดแวร์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งรับประกันว่าทำงานพร้อมกันเป็นจำนวนมากได้ ตอบสนองฉับไว และให้ความแม่นยำสูง
- ครอบคลุม: ระบบโรงไฟฟ้าเสมือนหนึ่งระบบสามารถบูรณาการบริการหลายอย่างเข้าด้วยกันได้ เช่น การชาร์จไฟในช่วงที่ค่าไฟถูกและจ่ายออกในช่วงที่ค่าไฟแพง (peak staggering) การตอบสนองด้านการใช้ไฟฟ้า (demand-side response) และการตอบสนองต่อความถี่ (frequency response) นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าเสมือนยังใช้อัลกอริทึมซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำหนดเวลา เพื่อให้มั่นใจได้ในความปลอดภัยของบริการ ขณะเดียวกันก็เพิ่มรายได้จากบริการโรงไฟฟ้าเสมือนให้ได้สูงสุด
คุณหลี่ เส้าหลง (Li Shaolong) รองประธานฝ่าย Site Power Facility Domain ของหัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ กล่าวว่า โซลูชันโรงไฟฟ้าเสมือนอัจฉริยะของหัวเว่ยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมได้รับประโยชน์ใหม่ ๆ จากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิม โดยหัวเว่ยจะร่วมมือกับผู้วางโครงข่ายไฟฟ้า องค์กรมาตรฐานอุตสาหกรรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงไฟฟ้าเสมือนอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของไซต์ที่รองรับโรงไฟฟ้าเสมือน
ไซต์สีเขียว: ฉันทามติของอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และการรับ-ส่งข้อมูลภายในเครือข่ายก็เติบโตอย่างรวดเร็ว หากปราศจากนวัตกรรม เครือข่ายของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมจะใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของอุตสาหกรรมดิจิทัลจึงจำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด ดังนั้น การใช้เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และโซลูชันใหม่ ๆ เพื่อสร้างไซต์สีเขียวจึงกลายเป็นแนวปฏิบัติทั่วไปในอุตสาหกรรม
ในโอกาสนี้ คุณหลี่ เส้าหลง ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “โซลูชันพลังงานอัจฉริยะของหัวเว่ยเร่งการเปลี่ยนผ่านสีเขียวในอุตสาหกรรมไอซีที” (Huawei Intelligent Energy Solution Accelerates ICT Green Transformation) โดยระบุว่า โซลูชันพลังงานอัจฉริยะของหัวเว่ยสามารถช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสีเขียวในอุตสาหกรรมไอซีที และช่วยให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเปลี่ยนจากผู้ใช้พลังงานไปเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงาน โดยในฐานะผู้ใช้พลังงานนั้น ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมจำเป็นต้องใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและบริโภคพลังงานให้น้อยที่สุด ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบกิจการก็มีไซต์อยู่มากมาย จึงสามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้ผลิตพลังงานได้ด้วยการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน จากนั้นบูรณาการเข้ากับโรงไฟฟ้าเสมือนเพื่อจำหน่ายพลังงานที่กักเก็บได้ ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้เพิ่มและสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย “คาร์บอนคู่ขนาน” (Dual Carbon) ในที่สุด
คุณหลี่กล่าวเสริมว่า ในอนาคต หัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ จะยังคงช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมในการสร้างเครือข่ายสีเขียวและคาร์บอนต่ำ ตลอดจนทำงานร่วมกับพันธมิตรจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อนำเสนอโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมต่อไป
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2257322/20231025_175311_WeLinkPC.jpg