- การสำรวจของ Docquity เผยว่า แพทย์เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ online สูงกว่ารูปแบบ onsite หรือการเข้าร่วมกิจกรรม ณ สถานที่จริง (3.9 ครั้งต่อเดือน เทียบกับ 3.0 ครั้งต่อเดือน)
- รูปแบบการเรียนรู้ของแพทย์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วยผู้ที่เน้นการเรียนในรูปแบบดิจิทัลหรือผ่านทาง online เป็นหลัก กับผู้ที่เน้นการเรียนรู้ ณ สถานที่จริงหรือ onsite เป็นหลัก อย่างไรก็ดีทั้งสองกลุ่มมีการเรียนรู้ผ่านรูปแบบดิจิทัลเหมือนกัน แต่มีการปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมในลักษณะที่แตกต่างกัน
แม้สังคมจะหันกลับมาจัดมีปฏิสัมพันธ์ ณ สถานที่จริงกันแล้ว แต่ 91.1% ของแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบดิจิทัลต่อไป ตามข้อมูลจากรายงานฉบับใหม่ Docquity Pulse Check 2023: Decoding a Doctor’s Learning and Engagement Habits เพื่อสำรวจพฤติกรรมการเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ของแพทย์ ชี้ให้เห็นว่าแพทย์เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้รูปแบบดิจิทัลบ่อยครั้งกว่า (3.9 ครั้งต่อเดือน) เมื่อเทียบกับกิจกรรมที่ดำเนินการ ณ สถานที่จริง (3.0 ครั้งต่อเดือน)
Docquity เป็นเครือข่ายดิจิทัลสำหรับแพทย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยแพทย์กว่า 400,000 คน ซึ่งคิดเป็นประมาณสองในสามของแพทย์ทั้งหมดในภูมิภาค จึงทำให้ Docquity ได้เรียนรู้มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและความต้องการด้านการเรียนรู้ของแพทย์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ด้วยกัน และปฏิสัมพันธ์กับบริษัทยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์
จากการสำรวจที่ทำขึ้นระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ปี 2566 ในแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและแพทย์เฉพาะทางกว่า 2,500 คนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษานี้พบว่ารูปแบบการเรียนรู้ของแพทย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แพทย์ที่เน้นการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัลกับแพทย์ที่เน้นการเรียนรู้ ณ สถานที่จริง อย่างไรก็ตามทั้งสองกลุ่มนี้ยังคงมีการเรียนรู้ทั้งแบบ online และ onsite ควบคู่กันไป โดยผู้ที่เน้นการเรียนรู้รูปแบบ onsite นั้นยังเข้าร่วมกิจกรรมผ่านแอปพลิเคชั่น Docquity ในจำนวนครั้งที่ใกล้เคียงกับผู้ที่เน้นการเรียนรู้รูปแบบ online เพียงแต่ใช้เวลาน้อยกว่าในแต่ละครั้ง ขณะที่ผู้ที่เน้นการเรียนรู้รูปแบบดิจิทัลมีความยืดหยุ่นในการปฏิสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ มากกว่า
“Digital solutions ยังคงเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมจากแพทย์เพื่อรับมือกับข้อจำกัดของระบบสุขภาพที่มีอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงอุปสรรคด้านการเข้าถึงและด้านทรัพยากร” Indranil Roychowdhury CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Docquity กล่าว “การสำรวจของเราในปี 2566 นี้แสดงให้เห็นว่าแทนที่จะคำนึงถึงรูปแบบการเรียนรู้และการมีปฏิสัมพันธ์ของแพทย์ โดยแบ่งการเรียนรู้เป็นแบบดิจิทัลหรือแบบ ณ สถานที่จริงอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว อุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ทั้ง 2 รูปแบบ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลเพื่อการเข้าถึงผู้เรียนทั้งสองกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
การปฏิบัติ การเรียนรู้ และการทำงานร่วมกันรูปแบบดิจิทัล ช่วยรับมือกับความท้าทายของบริการด้านการดูแลสุขภาพ
สัดส่วนระหว่างแพทย์ต่อผู้ป่วยในเอเชียนั้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD [1] จึงมีการคาดการณ์ว่า 75.2% ของแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเข้าร่วมการปรึกษาแพทย์ผ่านทางออนไลน์ (teleconsultation) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีที่จะถึงนี้
Docquity พบว่าการเติบโตของการบริการด้านสุขภาพในรูปแบบดิจิทัลสอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของแพทย์ด้วย เช่น เมื่อมีตัวเลือกการเรียนรู้แบบ Hybrid แพทย์ส่วนใหญ่ในภูมิภาค (65.9%) เลือกที่จะเข้าร่วมในรูปแบบดิจิทัล เนื่องด้วยตารางการทำงานที่ค่อนข้างแน่นแพทย์กว่าครึ่ง (52.9%) จึงเลือกการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัล เพราะต้องการความสะดวก
เครือข่ายระหว่างแพทย์ในรูปแบบดิจิทัลมีความสำคัญเช่นกันในการช่วยคลายความตึงเครียดจากการทำงาน Docquity พบว่าแพทย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปฏิสัมพันธ์กับแพทย์คนอื่น ๆ วันละครั้งหรือบ่อยกว่านั้น โดย 48.4% ของปฏิสัมพันธ์เหล่านั้นเกิดขึ้นผ่านทางออนไลน์ โดยเป็นการพูดคุยหารือกันเกี่ยวกับผู้ป่วยเป็นหลัก (60.4%) ในขณะที่การปฏิสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพและการสนับสนุนทางสังคม (20.4%) ก็เป็นอีกเหตุผลหลักเช่นกัน
การขยายธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพต้องผสมผสานระหว่างรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์
การศึกษาโดย Docquity ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการเรียนรู้ของแพทย์สะท้อนให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะที่แพทย์มีความสนใจเป็นหลัก จากการที่แพทย์ทั้ง 2 กลุ่มยังคงเข้าร่วมกิจกรรมผ่านแอป Docquity ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ชี้ให้เห็นว่าความสนใจในการเรียนรู้ของแพทย์ไม่ได้จำกัดแค่เพียงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น ในขณะที่ผู้เรียนรู้ที่เน้นรูปแบบ ณ สถานที่จริงมีความโน้มเอียงไปทางปฏิสัมพันธ์แบบออฟไลน์กับตัวแทนในอุตสาหกรรมเป็นสัดส่วน 80.6%แต่ผู้เรียนรู้ที่เน้นรูปแบบดิจิทัลมีความยืดหยุ่นมากกว่าระหว่างปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์ (56.9%) กับออฟไลน์ (43.1%)
แพทย์มองว่าปฏิสัมพันธ์เช่นนี้ในช่องทางต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วมีประโยชน์ โดยให้คะแนน 7.1 จาก 10 คะแนน และส่วนใหญ่ระบุว่ามีปฏิสัมพันธ์กับช่องทางดิจิทัลต่าง ๆ ประมาณ 50% ของเวลาทั้งหมด
“ผลของการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าวงการบริการด้านสุขภาพได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัวแล้ว” Roychowdhury กล่าวเพิ่มเติม “ส่วนแบ่งตลาดขนาดใหญ่ของความต้องการรูปแบบดิจิทัลและความต้องการที่แตกต่างกันของแพทย์ชี้ให้เห็นถึงโอกาสสำคัญของบริษัทในอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ด้วยการเพิ่มการเข้าถึงออนไลน์ให้มากที่สุด เสริมกับการปฏิสัมพันธ์รูปแบบออฟไลน์อย่างมีกลยุทธ์”
ด้านล่างนี้เป็นประเด็นสำคัญจาก Docquity Pulse Check ประจำปี 2566
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2208238/Docquity_Pulse_Check_PR_Image.jpg
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองเชิงลึกจากการสำรวจประเด็นสำคัญในเรื่องพฤติกรรมการเรียนรู้ของแพทย์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ และโอกาสสำหรับปฏิสัมพันธ์ในอุตสาหกรรม ได้จากรายงานฉบับเต็ม บทเฉพาะของแต่ละประเทศอยู่ในภาคผนวก
เกี่ยวกับด็อกควิตี้ https://docquity.com/
Docquity เป็นแหล่งรวมบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองและเป็นที่ไว้วางใจ โดยมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้วิสัยทัศน์การเชื่อมโยงแพทย์เข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชากรในวงกว้าง Docquity เป็นสื่อกลางช่วยให้แพทย์ได้เรียนรู้ เชื่อมโยงและเติบโต ร่วมกันกับบริษัทต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการเข้าถึงและให้ความรู้กับแพทย์ รวมถึงข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ในวิชาชีพแพทย์อีกด้วย
Docquity มีแพทย์ที่เป็นสมาชิกกว่า 400,000 คนในแพลตฟอร์ม และมีสำนักงานอยู่ในอินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และไต้หวัน
[1] OECD. (2022). Health at a Glance Asia/Pacific 2022. OECD iLibrary