สิงคโปร์ประกาศมาตรฐานความยั่งยืนสำหรับผู้ประกอบกิจการดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศเขตร้อน

  • มาตรฐานดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของผู้ประกอบกิจการดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง
  • สำนักงานพัฒนาสารสนเทศและการสื่อสารของรัฐบาลสิงคโปร์ (Infocomm Media Development Authority หรือ IMDA) เดินหน้าสร้างความร่วมมือครั้งใหม่เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนทางดิจิทัลทั่วโลก

สิงคโปร์ประกาศหนึ่งในมาตรฐานแรกของโลกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูล หรือ ดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) ในประเทศที่มีภูมิอากาศเขตร้อน มาตรฐานใหม่นี้ประกาศโดย ดร. จานิล พุธูเชียรี (Dr. Janil Puthucheary) รัฐมนตรีอาวุโสประจำกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารของสิงคโปร์ ในงานเอเชียเทค x เอนเทอร์ไพรส์ (ATxEnterprise) โดยมาตรฐานดังกล่าวถือกำเนิดขึ้นหลังจากคณะทำงานที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านโดเมนและด้านเทคนิคจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาควิชาการ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ได้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับการประกอบกิจการดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างเต็มที่

ดาต้าเซ็นเตอร์เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล

ดาต้าเซ็นเตอร์เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล แต่ในขณะเดียวกันดาต้าเซ็นเตอร์ก็ใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล เช่น ที่ดิน น้ำ และพลังงาน ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดคาร์บอน สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วไปนั้น ระบบทำความเย็นคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 40% ของการใช้พลังงานทั้งหมด โดยผู้ประกอบกิจการจำนวนมากเลือกที่จะใช้งานอุปกรณ์ที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียสและต่ำกว่านั้น [1] ด้วยเหตุนี้ การระบายความร้อนของดาต้าเซ็นเตอร์ในภูมิอากาศเขตร้อนที่มีอุณหภูมิสูงจึงมีความท้าทายมากกว่าปกติ เนื่องจากต้องใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อควบคุมระบบทำความเย็น

ผู้ประกอบกิจการดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันว่า มีความจำเป็นที่ต้องประกอบกิจการดาต้าเซ็นเตอร์อย่างยั่งยืน นอกจากนั้นยังมีการรับรู้เพิ่มขึ้นว่า การประกอบกิจการดาต้าเซ็นเตอร์ในอุณหภูมิสูงโดยได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดนั้นมีความเป็นไปได้ เพียงแต่ยังไม่มีการกำหนดแนวทางการเพิ่มอุณหภูมิของดาต้าเซ็นเตอร์อย่างปลอดภัยในสภาพภูมิอากาศที่มีความร้อนและความชื้นสูง ดังนั้น มาตรฐานใหม่ของสิงคโปร์จึงได้รับการพัฒนาขึ้นเพราะเหตุนี้

มาตรฐานใหม่นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยบรรดาดาต้าเซ็นเตอร์พัฒนาแนวทางในการเพิ่มอุณหภูมิของดาต้าเซ็นเตอร์อย่างค่อยเป็นค่อยไปจนถึง 26 องศาเซลเซียสและสูงกว่านั้น ซึ่งอาจทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์ประหยัดพลังงานในการทำความเย็นได้ 2% ถึง 5% จากอุณหภูมิของดาต้าเซ็นเตอร์ที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 1 องศาเซลเซียส [2]

ผลักดันความยั่งยืนด้วยดาต้าเซ็นเตอร์สีเขียว

มาตรฐานใหม่ของ IMDA เป็นส่วนหนึ่งภายใต้แผนแม่บทการเชื่อมโยงระบบดิจิทัล (Digital Connectivity Blueprint) ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2566 โดยนางโจเซฟิน เตียว (Josephine Teo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารของสิงคโปร์ โดยมาตรฐานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในเขตร้อนจะช่วยเติมเต็มมาตรฐานอุตสาหกรรมและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันความยั่งยืนในระบบนิเวศไอซีทีของสิงคโปร์

การรับรองเครื่องหมายสีเขียว

เพื่อส่งเสริมให้ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ประกอบกิจการในสิงคโปร์หันมาใช้มาตรฐานนี้กันมากขึ้น IMDA จึงทำงานร่วมกับสำนักงานอาคารและการก่อสร้างของสิงคโปร์ (Building & Construction Authority หรือ BCA) เพื่ออัปเดตการรับรองเครื่องหมายสีเขียว (Green Mark) สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ โดยเพิ่มมาตรฐานใหม่สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในเขตร้อนเข้าไปด้วย [3]

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและการรับรองมาตรฐาน สามารถดูได้ที่ https://www.singaporestandardseshop.sg/

อ้างอิง
[1] https://www.nea.gov.sg/docs/default-source/our-services/energy-efficiency/nea-dc-energy-benchmarking-summary–final-report-(3).pdf  
[2] http://www.cs.toronto.edu/~bianca/papers/temperature_cam.pdf  
[3] การรับรองเครื่องหมายสีเขียวของสำนักงานอาคารและการก่อสร้างของสิงคโปร์ ได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและประสิทธิภาพของอาคาร โดยอาคารจะได้รับการรับรองหนึ่งในสี่ระดับ ได้แก่ ผ่านการรับรอง (Certified), ผ่านการรับรองระดับโกลด์ (Gold), โกลด์พลัส (Gold Plus) และแพลทินัม (Platinum)

สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ
นายชู หง เซียน (Mr. CHOO Hong Xian)
ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารและการตลาดของ IMDA
โทร: (65) 6955 0221
อีเมล: [email protected]

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2097757/image1.jpg
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2097758/image2.jpg

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์