หัวเว่ย คลาวด์ เปิดตัวโซลูชัน ไฟแนนเชียล คอนเทนเนอร์ คลาวด์ รองรับระบบงานหลักของธนาคารแบบคลาวด์เนทีฟ

ในยุคดิจิทัลเช่นปัจจุบัน ข้อมูลบนระบบคลาวด์เติบโตด้วยความรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ ขณะที่องค์กรจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่างหันมาลงทุนในเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟเพื่อเพิ่มผลิตภาพและความคล่องตัว ตลอดจนยกระดับความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความสามารถในการคาดการณ์ โดยการใช้คลัสเตอร์คอนเทนเนอร์เพื่อสร้างรากฐานคลาวด์เนทีฟได้กลายเป็นสิ่งที่แพร่หลายในอุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ในการประชุมสุดยอด หัวเว่ย โกลบอล อินเทลลิเจนท์ ไฟแนนเชียล ซัมมิต (Huawei Global Intelligent Financial Summit) คุณวิลเลียม ตง (William Dong) ประธานของหัวเว่ย คลาวด์ มาร์เก็ตติง (Huawei Cloud Marketing) ได้กล่าวสุนทรพจน์หลักโดยมุ่งเน้นไปที่ข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมและการนำเสนอคุณค่า พร้อมกับเปิดตัวโซลูชันนวัตกรรมใหม่ ไฟแนนเชียล คอนเทนเนอร์ คลาวด์ (Financial Container Cloud) หลังจากที่ หัวเว่ย คลาวด์ ได้ดำเนินกลยุทธ์ Everything as a Service (บริการทุกสิ่ง) โดยมีจุดมุ่งหมายในการทำหน้าที่เป็นรากฐานของระบบคลาวด์และผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ทั้งนี้ สำหรับภาคธนาคารนั้น บรรดาธนาคารจะเร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและการเงินอัจฉริยะในสามส่วน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น แอปพลิเคชันทางการเงินที่ทันสมัย และการหลอมรวมข้อมูลทางการเงินกับเทคโนโลยีเอไอเข้าด้วยกัน

ขณะเดียวกัน คุณหู อวี้ไห่ (Hu Yuhai) รองประธานของหัวเว่ย คลาวด์ สแต็ก (Huawei Cloud Stack) ได้มาร่วมนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโซลูชันใหม่ดังกล่าวอย่างละเอียด “ด้วยการสนับสนุนของหัวเว่ย คลาวด์ สแต็ก โซลูชันไฟแนนเชียล คอนเทนเนอร์ คลาวด์ ได้ถูกนำไปใช้ในดาต้าเซ็นเตอร์หลายแห่งภายในองค์กรของลูกค้าหลายราย โดยมาพร้อมคุณสมบัติเด่นสี่ประการ ได้แก่ ประสิทธิภาพสูง ความยืดหยุ่นและความปลอดภัยสูง ความสามารถในการบำรุงรักษาสูง รวมถึงเปิดกว้างและเข้ากันได้ดี”

ประสิทธิภาพสูงสุด

ไฟแนนเชียล คอนเทนเนอร์ คลาวด์ ได้ผนวกรวมบริการคลาวด์ใหม่ล่าสุดของหัวเว่ย คลาวด์ นั่นคือ ซีซีอี เทอร์โบ (CCE Turbo) เพื่อมอบประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมและประสบการณ์ที่ลึกซึ้ง

ซีซีอี เทอร์โบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในแนวตั้ง และที่สำคัญกว่านั้นคือ การแปลงเครือข่ายระหว่างคอนเทนเนอร์กับแพลตฟอร์ม IaaS ช่วยให้ลูกค้าพัฒนาจาก BUILD ON CLOUD ไปสู่ BUILD IN CLOUD ได้ นอกจากนั้นยังใช้สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบพาสทรู (pass-through) ซึ่งช่วยปรับปรุงความหน่วงในการส่งข้อมูลระบบให้ดีขึ้นถึง 20% นอกจากนี้ ซีซีอี เทอร์โบ ยังรองรับคุณสมบัติเครือข่ายที่หลากหลาย เช่น IPv4 และ IPv6 Dual Stack รวมถึง Security Group และ QoS

บริการคอนเทนเนอร์ที่หัวเว่ยพัฒนาขึ้นเองช่วยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรแห่งประเทศจีน (Agricultural Bank of China) สามารถรับมือกับชั่วโมงเร่งด่วนที่มีการทำธุรกรรมมากถึง 600,000 รายการต่อวินาทีได้อย่างง่ายดาย

ความสามารถเพิ่มขึ้น พร้อมความยืดหยุ่นและความปลอดภัยระดับสูง

ผู้ประกอบธุรกิจในภาคการเงินมักต้องการระบบไอทีที่มีความยืดหยุ่นสูงและปรับขยายขนาดได้

ไฟแนนเชียล คอนเทนเนอร์ คลาวด์สามารถปรับขนาดพ็อดได้มากถึงหนึ่งแสนพ็อดในคลัสเตอร์เดียว และขยายพ็อดได้นับหมื่นพ็อดต่อวินาที นอกจากนี้ โซลูชันคลาวด์ดังกล่าวยังสามารถขยายข้ามคลัสเตอร์ พร้อมกับจัดลำดับงานแบบครบวงจรและสร้างประสบการณ์ที่สอดคล้องกัน อีกทั้งยังช่วยยกระดับความปลอดภัยขององค์กร ครอบคลุมถึงความปลอดภัยของโฮสต์ คลัสเตอร์ และผู้เช่า

ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารไปรษณีย์จีน (Postal Savings Bank of China หรือ PSBC) ได้อัปเดตธุรกิจด้วยคอนเทนเนอร์คลาวด์ของหัวเว่ย เพื่อรองรับการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและลดวงจรการพัฒนาแอปให้สั้นลง อีกทั้งยังรับประกันความพร้อมใช้งานสูงด้วยการออกแบบโซลูชันคลัสเตอร์แบบแอคทีฟ-แอคทีฟ

ความสามารถในการบำรุงรักษาสูง ด้วยการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันอย่างครอบคลุม

แอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ระบบไอทีมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งถือเป็นความท้าทายในการบำรุงรักษาแอปพลิเคชัน

ด้วยเหตุนี้ หัวเว่ยจึงนำเสนอบริการ แอปพลิเคชัน เพอร์ฟอร์แมนซ์ แมเนจเมนต์ (Application Performance Management หรือ APM) และแอปพลิเคชัน โอเปอเรชัน แอนด์ เมนเทแนนซ์ (Application Operation & Maintenance หรือ AOM) เพื่อช่วยลูกค้าสร้างระบบตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างครอบคลุม

APM ทำหน้าที่ติดตามและวิเคราะห์ห่วงโซ่แอปพลิเคชันทั่วโลกโดยไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อแอปพลิเคชัน โดยสามารถช่วยลูกค้าจัดการแอปพลิเคชันและระบุปัญหาด้านประสิทธิภาพได้อย่างง่ายดาย

AOM ทำหน้าที่ตรวจสอบแอปพลิเคชันและโครงสร้างพื้นฐานอย่างครอบคลุมบนแดชบอร์ดแบบรวม พร้อมกับทำการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์เกี่ยวกับแอปพลิเคชัน อินสแตนซ์ โฮสต์ และธุรกรรมต่าง ๆ

สนับสนุนโอเพนซอร์ส ก้าวขึ้นเป็นผู้นำเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟ

หัวเว่ยได้ริเริ่มและดำเนินโครงการด้านโอเพนซอร์สอย่างต่อเนื่อง เช่น KubeEdge, Kamada และ Volcano เป็นต้น

หัวเว่ยเป็นสมาชิกสตาร์ตอัปเพียงรายเดียวในเอเชียของคลาวด์ เนทีฟ คอมพิวติง ฟาวน์เดชัน (Cloud Native Computing Foundation หรือ CNCF) และเป็นสมาชิกระดับแพลทินัมรายแรกในจีน ปัจจุบัน หัวเว่ยเป็นผู้นำเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโซลูชันคอนเทนเนอร์คลาวด์ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังเขียนโค้ดสำหรับแพลตฟอร์มคูเบอร์เนทิส (Kubernetes) มากเป็นอันดับ 1 ของเอเชียอีกด้วย

ในอุตสาหกรรมการเงินของจีนนั้น ธนาคารรายใหญ่ของรัฐจำนวน 5 จาก 6 แห่งต่างใช้บริการคอนเทนเนอร์ของหัวเว่ย และธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมหุ้นมากกว่าครึ่งก็เป็นลูกค้าของเราเช่นกัน จนถึงปัจจุบัน หัวเว่ย คลาวด์ ติดตั้งคอนเทนเนอร์อินสแตนซ์มากกว่า 50 ล้านอินสแตนซ์ โดยกว่า 200,000 อินสแตนซ์ในจำนวนนี้ติดตั้งในไซต์ที่ใหญ่ที่สุด

ในอนาคต หัวเว่ย คลาวด์ สแต็ก จะร่วมมือกับลูกค้าในภาคการเงินเพื่อนำเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์มาใช้ต่อไป พร้อมดำดิ่งสู่ระบบคลาวด์ไปด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์อนาคตดิจิทัลร่วมกัน

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2095737/image_845932_55145298.jpg
คำบรรยายภาพ – คุณวิลเลียม ตง ประธานของหัวเว่ย คลาวด์ มาร์เก็ตติง

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2095752/image_845932_55146380.jpg
คำบรรยายภาพ – คุณหู อวี้ไห่ รองประธานของหัวเว่ย คลาวด์ สแต็ก

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์