เสียวหมี่ คอร์ปอเรชั่น (“เสียวหมี่”) บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อัจฉริยะสำหรับผู้บริโภคซึ่งมีสมาร์ทโฟนและสมาร์ทฮาร์ดแวร์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อด้วยแพลตฟอร์ม Internet of Things (IoT) เป็นแกนหลัก ได้ทำการประกาศแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ครั้งใหญ่ภายใต้ชื่อเรียกว่า ปรัชญาคาร์บอนเป็นศูนย์ (Zero-carbon Philosophy) เสียวหมี่จะดำเนินการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด เพิ่มพูนเทคนิคการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ และนำการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและโลจิสติกส์มาใช้
กลยุทธ์สภาพภูมิอากาศและปรัชญาคาร์บอนเป็นศูนย์
พันธกิจหลักของเสียวหมี่คือการทำให้ทุกคนบนโลกใบนี้มีชีวิตที่ดีขึ้นผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี บริษัทเชื่อว่าส่วนหนึ่งของพันธกิจนี้คือการที่บริษัทมีหน้าที่ในการช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยบริษัทจะมุ่งมั่นที่จะทำหน้าที่ของตนเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงทั่วโลกไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ โดยจะนำเอาองค์ประกอบต่างๆ ที่คำนึงถึงสภาพอากาศเข้าไปอยู่ในตั้งแต่กระบวนการออกแบบไปจนถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์อันยอดเยี่ยมไปสู่มือลูกค้า
เป้าหมายของปรัชญาคาร์บอนเป็นศูนย์ของเสียวหมี่ คือการเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในราคาที่เป็นมิตรในขณะที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผลิตภัณฑ์และบริการ เสียวหมี่จะยังคงเพิ่มการใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสภาพอากาศและส่งเสริมวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon society)
เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เสียวหมี่กำลังใช้แนวทางอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อพัฒนาและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เสียวหมี่ตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยเรือนกระจกครั้งแรกในปี 2564 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยเรือนกระจกต่อหัวจากภาคส่วนที่ดำเนินการเองลง 4.5% ภายในปี 2569 เมื่อเทียบกับปีฐานของปี 2563 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทประสบความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัว 21.12% เมื่อเทียบกับปีฐาน
เพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นในระดับสากลในการบรรลุเป้าหมายเป็นศูนย์ (net zero) ภายในปี 2593 บริษัทมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และขอบเขตที่ 2:
- ภายในปี 2573 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากส่วนปฏิบัติการหลัก ลงอย่างน้อย 70% จากระดับปีฐาน
- ภายในปี 2583 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนปฏิบัติการหลักอย่างน้อย 98% จากระดับปีฐาน โดยมีเงื่อนไขล่วงหน้าเพื่อให้การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์
- จัดลำดับความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสีเขียวในระยะยาว และการผลิตพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดระยะเวลาของเป้าหมายที่ตั้งไว้
- สนับสนุนให้ซัพพลายเออร์รายสำคัญกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เทียบเท่าหรือมากกว่าเสียวหมี่เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง
ลดรอยเท้าทางสิ่งแวดล้อมด้วยการวิจัยพัฒนาและเศรษฐกิจหมุนเวียน
รอยเท้าทางสิ่งแวดล้อมนั้นได้ลดลงด้วยวิธีต่างๆ โดยเลือกมาสี่ด้านเพื่อแสดงรายละเอียดดังนี้: การวิจัยและพัฒนา (R&D) ของเทคโนโลยีสะอาดและการอัปเกรดผลิตภัณฑ์, เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์
การวิจัยและพัฒนาของเทคโนโลยีสะอาดและการอัปเกรดผลิตภัณฑ์
ในปี 2565 เสียวหมี่ลงทุนมากกว่า 50% ของค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาทั้งหมดในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด ในปีเดียวกันนั้นเอง การยื่นขอสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสะอาดและผลิตภัณฑ์สร้างรายได้มากกว่า 59.7% ของรายได้ บริษัทนั้นมีความก้าวหน้าที่โดดเด่นในด้านนี้ และได้ทำการยกตัวอย่างมาบางส่วน:
5G และเทคโนโลยีการส่งสัญญาณประหยัดพลังงาน (5G & Energy-saving Signal Transmission Technology): ด้วยเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน 5G เช่น เทคโนโลยีบรอดแบนด์ที่ปรับเปลี่ยนได้เองและเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน เสียวหมี่ได้เพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานของสมาร์ทโฟน ชิป WLAN ขั้นสูงซึ่งทำงานร่วมกับการตรวจสอบพลังงาน WLAN และเทคโนโลยีการส่งแบบไดนามิก ช่วยลดการใช้พลังงานของสมาร์ทโฟนลงประมาณ 30% เมื่อเทียบกับรุ่นก่อน
เทคโนโลยีจอแสดงผลประหยัดพลังงาน (Energy-efficient Display Technology): เมื่อทำการเปลี่ยนเป็นโหมดมืด (Dark Mode) ซึ่งจะเปลี่ยนพื้นหลังของสมาร์ทโฟนเป็นสีดำ การใช้พลังงานของจอแสดงผลจะสามารถลดลงได้มากถึง 70% เมื่อใช้แอปพลิเคชันเฉพาะบางตัว
เทคโนโลยีการชาร์จ (Charging Technology): ในปี 2565 อุปกรณ์อัจฉริยะและเทอร์มินัลต่างๆ มากกว่า 100 ล้านเครื่องใช้เทคโนโลยีการชาร์จเร็วของเสียวหมี่ ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานได้เกือบ 57 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง และลดการปล่อยก๊าซ CO2e ได้ถึง 24,852 ตัน เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีการชาร์จเร็วทั่วไป
บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly Packaging): เสียวหมี่เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ในระบบนิเวศของตนจากกล่องทั่วไปเป็นกล่องกระดาษแบนและถอดหูหิ้วพลาสติกออก ด้วยการอัปเกรดนี้ บริษัทได้ลดการใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษโดยเฉลี่ย 0.3 ตร.ม. และสามารถลดการใช้พลาสติกออกประมาณ 80 กรัมต่อผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้น
เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์
การรีไซเคิลและการกำจัด (Recycling and Disposal): ในปี 2565 เสียวหมี่ได้ทำการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปประมาณ 4,500 ตัน โดยรวมไปถึงสมาร์ทโฟนด้วย ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2565 ถึง 2569 บริษัทมุ่งมั่นที่จะรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 38,000 ตัน และใช้วัสดุรีไซเคิล 5,000 ตันในผลิตภัณฑ์ของบริษัท
เสียวหมี่ยังคงขยายโครงการ Trade-In โดยเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์รีไซเคิลและเพิ่มความครอบคลุมของบริการรีไซเคิลต่างๆ โดยจะรวบรวมสิ่งของทั้งจากร้านค้า จากทางไปรษณีย์ และจากประตูบ้านของผู้บริโภค เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้รีไซเคิลผลิตภัณฑ์ของตน ในปีที่แล้วบริษัทได้เปิดตัวโปรแกรม Trade-In บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการในตลาดยุโรปบางแห่ง นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับบุคคลที่สามที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการซ่อมแซมผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย
การตกแต่งใหม่และการใช้ซ้ำ (Refurbishment and Reuse): บริษัทมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว ในปี 2565 โรงงานที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ได้ซ่อมแซมสมาร์ทโฟนไปประมาณ 94,000 เครื่อง สกูตเตอร์ไฟฟ้า 5,600 เครื่อง และสมาร์ททีวี 6,200 เครื่อง ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้ทำการขายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการปรับปรุงใหม่ที่ผ่านการรับรองแล้ว
การเพิ่มความทนทาน (Enhancing Durability): เสียวหมี่คำนึงถึงความทนทานของวัสดุเมื่อเลือกใช้วัสดุสำหรับผลิตภัณฑ์ของตนเอง โดยได้พัฒนาวัสดุเซรามิกที่ทนทานต่อการสึกหรอ และวัสดุหนังซิลิโคนสังเคราะห์ที่ใช้ในสมาร์ทโฟนหลายรุ่น ทั้งยังได้สร้างมาตรฐานการทดสอบการกันฝุ่น การกันน้ำ และการทนต่อการตกที่เกินมาตรฐานสากล ในปี 2565 เสียวหมี่ได้เปิดตัวแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานยาวนานพร้อมความสามารถในการชาร์จและคายประจุเต็มรูปแบบ ซึ่งมีอายุการใช้งานยาวนานกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 25%
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์และการดำเนินการด้านภูมิอากาศของเสียวหมี่ ตลอดจนความคิดริเริ่มด้านสังคมและธรรมาภิบาล โปรดดูรายงานสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ครั้งที่ 5 ที่เผยแพร่โดยเสียวหมี่ https://www.mi.com/global/about/sustainability
ที่มา: EnityPR