จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้การเชื่อมต่อระหว่างโลกเสมือน และโลกความเป็นจริงแข็งแกร่งมากขึ้น หลายองค์กรเริ่มมองหาโอกาสจากการสร้างแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมต่อกับ Metaverse ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับผู้ใช้งานได้ จากรายงานของ Deloitte ได้วิเคราะห์ว่าผลกระทบของ เมตาเวิร์ส (Metaverse) ที่มีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ทั่วเอเชียไว้ที่ 0.8 ถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปีภายใน พ.ศ.2578 คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.3 ถึง 2.4 ของ GDP เทนเซ็นต์ คลาวด์ ในฐานะ Digital Enablerพร้อมที่จะสนับสนุนธุรกิจไทยทุกขนาดที่ต้องการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลผ่านการนำเสนอ Metaverse Solution Suites โซลูชันแบบครบวงจรที่ได้รับการพัฒนาจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเกม เสียง และวิดีโอ เพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการสร้างแอปพลิเคชันและพัฒนาธุรกิจในโลก Metaverse ให้กับผู้ประกอบการไทย
นายกฤตธี มโนลีหกุล รองประธานเทนเซ็นต์ คลาวด์ อินเตอร์เนชันแนล ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “Metaverse จะเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะมาดิสรัปอุตสาหกรรมต่างๆ ปัจจุบันผู้ประกอบการรวมถึงธุรกิจทั่วโลกจึงต่างให้ความสนใจและจับตามอง ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ Immersive Convergence ของเทนเซ็นต์ ที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับแผนการดำเนินงาน ผ่านความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ด้วยโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการดิจิทัล ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อกับโลกจริงและ Metaverse ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด โดยองค์กรต่างๆ จะได้รับประโยชน์มากมายจากบริการที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse ของเทนเซ็นต์ คลาวด์ ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งาน ด้วยความสมจริงในโลกเสมือนได้อย่างเต็มที่”
เพื่อส่งมอบบริการแบบครบวงจร ให้กับทุกองค์กรที่ต้องการพัฒนาธุรกิจด้าน Metaverse เมื่อเร็วๆ นี้ เทนเซ็นต์ คลาวด์จึงได้นำเสนอ ชุดโซลูชันด้าน Metaverse ที่จะทำให้นักพัฒนาสามารถใช้เครื่องมือ และบริการในการสร้างโลก Metaverse ให้สมจริงด้วยโซลูชันต่างๆ อาทิ
- โซลูชันสำหรับการสร้าง Virtual Scene โซลูชันที่ช่วยในการสร้างการจำลองเสมือนจริง การสร้างสำเนาดิจิทัลให้สมจริงและใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด อาทิ Tencent Cloud Real-time Cloud Rendering และ Digital Twins ที่ช่วยในการจำลอง และสร้างภาพกราฟิกเสมือนจริงแบบเรียลไทม์
- โซลูชันสำหรับการสร้าง Digital Human & Avatar อาทิ Digital Human, Text Driven Digital Human และ Avatar Based on Real-Time Capturing โซลูชันที่ผสานการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน และคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับการสร้างมนุษย์ดิจิทัลที่สามารถแสดงออก และโต้ตอบได้ มอบประสบการณ์ที่หลากหลายให้แก่ผู้ใช้งานใน Metaverse
- โซลูชันสำหรับสร้างการสื่อสารแบบโต้ตอบ (Interactive Media & Communication) คือ โซลูชันที่ช่วยเชื่อมต่อผู้ใช้งานผ่านการโต้ตอบแบบเรียลไทม์ และความรู้สึกที่เสมือนจริงผ่านการใช้งาน AR/VR ซึ่งประกอบด้วย (1) Game Multimedia Engine (GME) โซลูชันการสนทนาเสียงในการเล่มเกมแบบครบวงจร ด้วยฟีเจอร์การปรับปรุงรูปแบบ และประเภทเกมให้มีประสิทธิภาพเชิงลึกสูงสุด โดยสามารถรองรับการสนทนาด้วยเสียงระหว่างผู้เล่นหลายคน ระบบการระบุหาต้นตอเสียงแบบสามมิติ ข้อความเสียง และการแปลงคำพูดเป็นข้อความ เพื่อให้ผู้เล่นได้เพลิดเพลินไปกับการเล่นเกมใน Metaverse (2) Tencent Real-Time Communication (TRTC) เป็นโซลูชันการโทรด้วยเสียง/วิดีโอแบบกลุ่ม และการไลฟ์สตรีมมิงแบบโต้ตอบคุณภาพสูง และให้ความคุ้มค่า มีเวลาหน่วงต่ำ ตอบสนองได้อย่างฉับไวภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว (3) Cloud Streaming Services (CSS) บริการเพื่อการถ่ายทอดสัญญาณสด การแปลงรหัส การแพร่สัญญาณ และการรับชมย้อนหลังที่รับประกันเวลาที่หน่วงต่ำเป็นพิเศษ อีกทั้งยังให้คุณภาพของวิดีโอในระดับ Ultra-high สามารถรองรับผู้ใช้งานจำนวนมากในเวลาเดียวกันได้อย่างราบรื่น ไม่สะดุด
- โซลูชันสำหรับรองรับการประมวลผล (Computing Power) คือ โครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยรองรับการประมวลผลที่เสถียร และมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วย (1) GPU Cloud Computing (GCC) เซิร์ฟเวอร์คลาวด์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลกราฟิกด้วยความเร็วสูง (2) Edge Computing Machine (ECM) ที่ช่วยให้ระบบประมวลผลสามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จากการขยาย node การประมวลผลให้อยู่บน node ที่ใกล้กับผู้ใช้งานใน Metaverse มากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดของเครือข่าย และให้บริการที่ลื่นไหลมากยิ่งขึ้น
กรณีศึกษาด้าน Metaverse ที่ใช้โซลูชันจากเทนเซ็นต์ คลาวด์:
- Metalife เครื่องมือสื่อสารใหม่จากญี่ปุ่น ที่สามารถใช้เป็นทั้งสำนักงาน สถานที่จัดงานกิจกรรม ห้องเรียน พื้นที่ทำงานนอกสถานที่ และห้องประชุมใน Metaverse โดยเทนเซ็นต์ คลาวด์ได้ให้การสนับสนุนโซลูชัน Tencent Real-Time Communication (TRTC) แก่ Metalife เพื่อให้ผู้ใช้งานเชื่อมต่อถึงกันในสภาพแวดล้อมที่ให้ความรู้สึกกลมกลืนเสมือนจริง นอกจากนี้ยังช่วยให้องค์กรสามารถสร้างสรรค์บริการไลฟ์สตรีมมิงแบบอินเตอร์แอคทีฟที่มีเกิดการ Lag น้อยที่สุด และมีค่าความหน่วง (Latency) จากต้นทางถึงปลายทางทั่วโลกในระดับต่ำกว่า 300 มิลลิวินาที เพื่อเป็นหลักประกันถึงประสบการณ์เสียง และภาพที่ยังคงราบรื่นแม้ในสภาวะที่มีอัตราการเกิด Packet loss ถึง 80% นอกจากนี้ เทคโนโลยีนี้ ยังมีความเข้ากันได้สูงมากในทุกแพลตฟอร์ม และภูมิภาค จึงเป็นตัวเลือกที่ทรงพลังในการสร้างแพลตฟอร์ม Metaverse
“การก้าวสู่โลก Metaverse เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ นับเป็นหนึ่งในเรื่องที่ท้าทายสำหรับหลายๆ องค์กร เนื่องมาจากโครงสร้างพื้นฐานที่มีความซับซ้อน เทนเซ็นต์ คลาวด์ จึงมีความมุ่งมั่นที่จะให้บริการด้านโซลูชันที่สอดรับกับแนวทางขององค์กรนั้นๆ เพื่อผลักดันให้ไปสู่เป้าหมาย ด้วยประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเสียง และวิดีโอที่สั่งสมมากว่า 20 ปี ผสานความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานจากพื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุม 70 พื้นที่ใน 26 ภูมิภาคทั่วโลก และการมีดาต้าเซ็นเตอร์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยถึง 2 แห่ง ตลอดจนมีทีมงานคนไทยที่มีความเชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำ และการสนับสนุนแก่องค์กรต่างๆ ในไทยได้อย่างครบวงจร เทนเซ็นต์ คลาวด์ พร้อมแล้วที่จะให้การสนับสนุนองค์กรไทยในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก” นายกฤตธี กล่าวสรุป
ที่มา: เวิรฟ พับบลิค รีเลชั่นส์ คอนซัลแตนท์ซี