การประชุมนานาชาติว่าด้วยความยุติธรรม ปิดฉากลงแล้วในกรุงริยาด

  • การประชุมนานาชาติว่าด้วยความยุติธรรม ซึ่งจัดโดยกระทรวงยุติธรรมของซาอุดีอาระเบีย (MOJ) ได้ปิดฉากลงแล้วอย่างเป็นทางการในกรุงริยาด
  • การประชุมตลอดระยะเวลา 2 วันพร้อมผู้เข้าร่วมกว่า 4,000 คนในวงการยุติธรรมทั่วโลก เพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีในการปฏิวัติภาคส่วนกฎหมาย
  • การประชุมในฐานะเวทีสำหรับการเจรจาระหว่างประเทศเพื่อจัดการกับความท้าทายที่พบได้ทั่วไป เสริมสร้างความแข็งแกร่งของกระบวนการยุติธรรมทั่วโลก และปรับใช้การพัฒนาล่าสุดในด้านเทคโนโลยีเพื่อทำให้กระบวนการยุติธรรมมีความโปร่งใสและเข้าถึงทุกคนได้มากขึ้น

กระทรวงยุติธรรมของซาอุดีอาระเบีย (MOJ) ปิดฉากการประชุมนานาชาติว่าด้วยความยุติธรรม (International Conference on Justice หรือ ICJ) ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเป็นเวลาสองวันในกรุงริยาด โดยได้รับเกียรติเข้าร่วมจากคณะลูกขุน ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และผู้มีอำนาจตัดสินใจกว่า 50 คนจากทั่วโลก เพื่อร่วมกันสำรวจวิธีการที่เทคโนโลยีสามารถพลิกโฉมระบบกฎหมายและทำให้กระบวนการยุติธรรมมีความโปร่งใสและเข้าถึงทุกคนได้มากขึ้น

ฯพณฯ ดร. วะลีด อัล-ซามานี (H.E. Dr. Walid Al-Samaani) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่า “การประชุมตลอดสองวันที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากเราได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากทั่วโลก” พร้อมกล่าวเสริมว่า “เป้าหมายของเราคือทำให้การหารือและความร่วมมือที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุมครั้งนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาในอนาคตด้านการพัฒนาโซลูชันสำหรับกระบวนการยุติธรรมแบบดิจิทัลทั่วโลก”

การประชุมได้รับเกียรติจากวิทยากร 25 ท่าน ประกอบด้วย 6 ช่วงหลัก ภายใต้หัวข้อหลักว่าด้วย ‘การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมผ่านนวัตกรรมดิจิทัล’ (Facilitating Access to Justice Through Digital Innovation) ครอบคลุมตั้งแต่บทบาทของการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างมาตรการป้องกันการกระทำความผิด ไปจนถึงการใช้งาน AI ในกิจกรรมด้านกฎหมายในอนาคต และการใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาลเพื่อทำนายผลการพิจารณาคดี

การประชุมวันสุดท้ายประกอบด้วยสามช่วงหลัก ได้แก่ ‘การใช้ AI เพื่อเสริมสร้างความยุติธรรม’ (Using AI to Enhance Justice) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการเพิ่มพูนความยุติธรรม (Data Analytics for Justice Enhancement) และ ‘อนาคตแห่งการระงับข้อพิพาททางเลือกอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (The Future of Alternative Dispute Resolution in Light of Digital Transformation) โดยวิทยากรที่เข้าร่วมประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาจริยธรรม AI, การวิเคราะห์ข้อมูล, การไกล่เกลี่ยทางดิจิทัล และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางไกล ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีที่ศาลยุติธรรมสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างสังคมที่เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น และรับประกันกระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใส เข้าถึงได้ และเท่าเทียมกันสำหรับทุกคน

นับตั้งแต่ที่มีการเปิดตัววิสัยทัศน์ปี 2573 (Vision 2030) ความพยายามในการปฏิรูปด้านดิจิทัลของซาอุดีอาระเบียได้ทำให้ประเทศกลายเป็นผู้นำระดับโลกในด้านกระบวนการยุติธรรมทางดิจิทัล ในปี 2566 บริการด้านการพิจารณาคดีมากกว่า 90% ของประเทศถูกทำให้เป็นดิจิทัลผ่านพอร์ทัลนาญีซ (Najiz) ของกระทรวงยุติธรรม ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการด้านการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 150 รายการ นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมาเพียงปีเดียว บริการดิจิทัลที่กำลังขยายตัวของประเทศได้อำนวยความสะดวกในการไต่สวนทางออนไลน์มากกว่า 2.37 ล้านครั้ง ตัดสินคดีความมากกว่า 1.1 ล้านครั้ง และออกหนังสือมอบอำนาจอิเล็กทรอนิกส์กว่า 5.2 ล้านฉบับ การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้จะช่วยเปิดเวทีใหม่สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางกฎหมายทั่วโลกในการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับอนาคตทางดิจิทัลของระบบกฎหมาย

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/2018454/Intl_Conf_on_Justice_Riyadh_1.jpg 
รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/2018455/Intl_Conf_on_Justice_Riyadh_2.jpg
รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/2018456/Intl_Conf_on_Justice_Riyadh_3.jpg
โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/2016291/MOJ_Logo.jpg

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์