นูทานิคซ์คาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยี ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในปี 2566

  • รูปแบบการใช้งานคลาวด์จะมีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก
  • กระบวนการและเครื่องมือที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันแบบอะซิงโครนัส (ไม่ต้องการโต้ตอบสื่อสารกลับทันที) จะทวีความสำคัญมากขึ้น
  • จะมีการให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
  • การทำงานอย่างไม่มีข้อจำกัดบนเครือข่ายจะมีการใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น
  • การขยายตัวอย่างรวดเร็วของการใช้โซเชียลมีเดียจะกระทบต่อแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่างมาก

บทความโดย เวนดี้ เอ็ม. ไฟเฟอร์, CIO/SVP และ ลี แคสเวลล์, SVP of Product and Solutions Marketing ของนูทานิคซ์

นูทานิคซ์เผยแนวโน้มทางเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อธุรกิจในปี 2566 ซึ่งเป็นยุคที่ผ่านพ้นการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับทุกแวดวง ทุกอุตสาหกรรม และทุกระดับ ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เพื่อที่จะช่วยให้ปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและพร้อมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้

ความคุ้มค่าในการใช้คลาวด์ (Cloud economics) กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้เกิดการตัดสินใจรูปแบบใหม่ ๆ เกี่ยวกับแอปพลิเคชันและโครงสร้างพื้นฐานไอที

ธุรกิจกำลังเผชิญกับความกดดันใหม่ ๆ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านไอที องค์กรจำนวนมากตระหนักว่าไม่สามารถเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันไปยังคลาวด์ได้เร็ว และคุ้มค่าใช้จ่ายเหมือนที่คิดไว้ตั้งแต่แรก และต้องใช้เวลาและความสามารถสูงมาก เพื่อปรับแอปพลิเคชันที่ใช้อยู่ในระบบภายในองค์กรให้สามารถนำไปใช้งานบนคลาวด์ได้ แต่สิ่งที่จะยังไม่เปลี่ยนแปลงในอีกหลายปีข้างหน้า คือการใช้คลาวด์มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ ธุรกิจจะเน้นกลยุทธ์ว่าจะนำเวิร์กโหลดใดไปใช้งานบนคลาวด์และเวิร์กโหลดใดที่ยังคงใช้อยู่ในไพรเวทคลาวด์ภายในองค์กร และจะให้ความสำคัญมากขึ้นกับโซลูชันในรูปแบบมัลติคลาวด์ที่สามารถเคลื่อนย้ายเวิร์กโหลดไปใช้งานกับทุกสภาพแวดล้อมได้

การใช้กระบวนการทำงานแบบอะซิงโครนัสที่ไม่จำเป็นต้องทำงานในเวลาเดียวกัน และรองรับการทำงานร่วมกันจากบุคลากรทั่วโลกจะเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของงาน

แนวทางการทำงานร่วมกันแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันจากหลายแห่งที่มีโซนเวลาต่างกัน จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมในปี 2566 นั่นคือบริษัทต่าง ๆ ควรทบทวนแนวทางในการทำงานร่วมกันแบบอะซิงโครนัสที่ไม่ต้องการการตอบกลับแบบทันที รวมทั้งเครื่องมือและนโยบายต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนแนวทางนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการจะบรรลุผลสำเร็จได้นั้น องค์กรจะต้องแทนที่ความซับซ้อนด้วยความเรียบง่าย และระบบอัตโนมัติจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้น

วิกฤตด้านพลังงานของโลกจะส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ทบทวนรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานและปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมามากขึ้น

องค์กรต่าง ๆ ได้รับนโยบายให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมันไม่เพียงเป็นประเด็นเรื่องความยั่งยืนเท่านั้น ในขณะที่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม และเป็นเรื่องที่ลูกค้าเป้าหมายใช้ประกอบการพิจารณาเมื่อจะเลือกใช้บริการต่าง ๆ บริษัทจำนวนมากกำลังรับรู้ถึงผลกระทบของการใช้คลาวด์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการใช้พลังงานกับผลกำไรที่เกิดขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติของคลาวด์คือความเร็วและประสิทธิภาพ ไม่ใช่ความคุ้มค่าด้านค่าใช้จ่ายและพลังงาน ดังนั้นบริษัทต่าง ๆ ควรพิจารณาว่างานที่กำลังจะนำขึ้นไปรันอยู่บนคลาวด์นั้น สามารถนำไปรันในสภาพแวดล้อมอื่นที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากกว่าได้อย่างไร

รูปแบบการทำงานบนเครือข่ายแบบไม่จำกัดขอบเขต (Untethered edge) จะแพร่หลายมากขึ้น

ปัจจุบันมีความคาดหมายว่าต้องสามารถรันแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเชื่อมต่อหรือไม่ก็ตาม รูปแบบการทำงานจะต้องไม่จำกัดขอบเขต (untethered operating model) ซึ่งรูปแบบการทำงานแบบปิด (closed-out models) ไม่สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้ องค์กรด้านไอทีที่ให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้เซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้ปรับขนาดเพิ่มได้ง่าย และรองรับเวิร์กโหลดหลากหลาย จะค้นพบอย่างรวดเร็วว่าวิธีการที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์แบบเดียวกันเหมาะกับเอดจ์ ด้วยความสามารถในการปรับขนาดลดลงได้ง่ายดาย สามารถทำงานในขณะที่เชื่อมต่อหรือไม่เชื่อมต่อกับคลาวด์ส่วนกลาง และด้วยการแนะนำแนวทางการบริหารจัดการที่ครอบคลุมจากเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ ไปถึงพับลิคคลาวด์ ผ่านวิธีการบริหารจัดการคลาวด์ที่สอดคล้องกัน

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปสู่โซเชียลมีเดียจะส่งผลกระทบอย่างมากไม่เฉพาะกับแพลตฟอร์มเหล่านั้นเท่านั้น

ปี 2565 เป็นปีทองของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทั้งหลายที่มีจำนวนพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มก็น่าจะเป็นเช่นนี้ต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อองค์กรหลายแห่ง ประการแรก องค์กรจำนวนมากที่พึ่งพาข้อมูลที่ซื้อจากบริษัทด้านโซเชียลมีเดียเพื่อปรับอัลกอริทึมของตนอาจบรรลุผลได้น้อยลง เพราะชุดข้อมูลโซเชียลมีเดียล้าสมัยและถูกต้องน้อยลง ประการที่สอง ชุดข้อมูลเหล่านั้นมักเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ป้อนให้กับเครื่องมือที่เป็นปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) ได้เรียนรู้ ดังนั้นการที่ชุดข้อมูลล้าสมัยจึงคาดการณ์ได้ว่า AI และ ML ที่พึ่งพาข้อมูลเหล่านั้นก็จะมีประสิทธิภาพน้อยลงมากตามไปด้วย

 

ที่มา: เอฟเอคิว