พานาโซนิค ปักธงบุกตลาดเครื่องยับยั้งเชื้อโรคในอากาศในประเทศไทย เขย่าวงการด้วยการเปิดตัว Panasonic ziaino(TM) (พานาโซนิค จิอาอิโนะ) ชูเทคโนโลยีจากกรดไฮโปคลอรัส ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อโรค และลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ เหนือกว่าด้วยความสามารถในการยับยั้งเชื้อโรคที่แพร่กระจายในอากาศ และเกาะอยู่ตามพื้นผิว เดินหน้าเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าองค์กร ได้แก่ สถานพยาบาล โรงพยาบาลสัตว์ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและเด็กเล็ก โรงเรียน โรงแรม ร้านอาหาร สำนักงาน สปอร์ตยิม ตั้งเป้ายอดขายกว่า 30 ล้านบาท ในปี 2566
นายฮิเดคาสึ อิโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ” หลังจากที่พานาโซนิคได้มีการจัดตั้ง บริษัท พานาโซนิค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบโซลูชั่นส์เพื่อการใช้ชีวิตแบบครบวงจร ด้วยความมุ่งหวังที่จะตอบสนองทุกความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุดแล้ว ในส่วนของธุรกิจด้าน Air Solution ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของเรา ซึ่งพานาโซนิคได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน Air Solution ที่หลากหลาย ได้แก่ RAC (เครื่องปรับอากาศภายในบ้าน) CAC (เครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์) nanoe(TM)X generator (เครื่องสร้างอานุภาคนาโนอี) และระบบระบายอากาศในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อที่จะมาตอบโจทย์ผู้บริโภค ถึงปัญหาด้านคุณภาพอากาศที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ไม่เฉพาะในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงโรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร และอาคารสำนักงานต่าง ๆ
และวันนี้พานาโซนิค พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ Panasonic ziaino(TM)เครื่องยับยั้งเชื้อโรคในอากาศ ที่เปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เราได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีพิเศษมาเพื่อจัดการโควิด-19 และกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบัน
ท่ามกลางวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ของโลกใบนี้ พานาโซนิคพร้อมเดินหน้าด้วยความมุ่งมั่น ที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ตลอดจนโซลูชั่นส์สำหรับความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน และสร้างความยั่งยืนให้กับโลกต่อไป “
นายอิจิโระ ซูกานูมะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค ประเทศมาเลเซีย กลุ่มธุรกิจ เครื่องปรับอากาศ แผนก Quality Air For Life กล่าวถึง รายละเอียดผลิตภัณฑ์ว่า ” Panasonic ziaino(TM) คือ เทคโนโลยีในการทำความสะอาดอากาศ ที่สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ใช้งาน ด้วยความสามารถในการยับยั้งเชื้อโรคไวรัส แบคทีเรีย และลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ได้ ด้วยการสร้างกรดไฮโปคลอรัส (HOCl) จากเกลือและน้ำจากธรรมชาติ ที่สามารถยับยั้งเชื้อโรค ผ่านสองกระบวนการทำงาน คือ การนำอากาศผ่านเครื่อง Panasonic ziaino(TM) และการพ่นอนุภาคกรดไฮโปคลอรัสสู่อากาศ ซึ่งความสามารถที่โดดเด่น คือ การยับยั้งเชื้อโรคที่แพร่กระจายอยู่ได้ทั้งในอากาศ และเชื้อโรคที่เกาะตามพื้นผิว เช่น เฟอร์นิเจอร์ กลอนประตู สิ่งของในชีวิต ประจำวันและพื้นผิวสัมผัสต่าง ๆ ได้ถึง 99.99% รวมไปถึงยับยั้งเชื้อโควิดได้ภายใน 8 ชั่วโมง* ซึ่งผ่านการรับรองจากสถาบันวิจัย ในประเทศฝรั่งเศส
สำหรับประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการยับยั้งเชื้อโรคและลดกลิ่นของ Panasonic ziaino(TM) เกิดจากเทคโนโลยีไฮโปคลอรัสที่คิดค้นโดยพานาโซนิค ซึ่งเครื่องสามารถสร้างกรดไฮโปคลอรัส (HOCI) จากเกลือและน้ำจากธรรมชาติ ที่มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ช่วยลดปัญหาหรือคลายความกังวลเรื่องกลิ่นที่รบกวนการใช้ชีวิต เช่น กลิ่นสัตว์เลี้ยง กลิ่นอาหาร กลิ่นขยะ กลิ่นรองเท้า กลิ่นห้องน้ำ เป็นต้น โดยเครื่อง Panasonic ziaino(TM) สามารถกระจายการทำงานการยับยั้งเชื้อโรค และลดกลิ่นได้ครอบคลุมพื้นที่ถึง 93 ตร.ม. ต่อ 1 เครื่อง ผู้ใช้งานจึงสูดหายใจได้อย่างมั่นใจ นับเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับผู้ใช้งาน
Panasonic ziaino(TM) ช่วยสร้างอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้งานหายใจได้อย่างเต็มปอด และปลอดภัย ซึ่งประสิทธิภาพของเครื่องได้รับการตรวจสอบจากสถาบันวิจัยในประเทศญี่ปุ่นว่าสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้จริง** ทำให้ Panasonic ziaino(TM) ประสบความสำเร็จในการทำตลาดในประเทศญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว
การนำ Panasonic ziaino(TM) เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยครั้งนี้เรามีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ สถานพยาบาล โรงพยาบาลสัตว์ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและเด็กเล็ก โรงเรียน โรงแรม ร้านอาหาร สำนักงาน และสปอร์ตยิม โดยจะใช้กลยุทธ์การตลาดแบบ B2B และสร้างการรับรู้ผ่าน Key Opinion Leaders (KOLs) ใช้สื่อทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ และมุ่งให้ความสำคัญกับบริการหลังการขาย โดยมีเป้าหมายการขายกว่า 30 ล้านบาท ภายในปี 2566 ” นายอิจิโระ ซูกานูมะ กล่าว
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ Panasonic ziaino(TM) ได้ที่ https://bit.ly/3Y6dH2G
* อ้างอิงจาก Biotesting Event เกี่ยวกับไวรัสต่าง ๆ โดยหน่วยงานด้านการวิจัย Texcell ประเทศฝรั่งเศส
** อ้างอิงจากผลการทดสอบ โดยศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมคิตะซาโตะ ประเทศญี่ปุ่น
ที่มา: มีเดีย พลัส คอนเนคชั่น