หัวเว่ย ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก นำ MineHarmony เทคโนโลยีเพื่อการขุดเหมืองอัจฉริยะ ซึ่งจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ของหัวเว่ยที่มีความหน่วงต่ำและอัลกอริทึม AI ส่งเสริมการขุดเหมืองที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างดีในประเทศจีนจากการช่วยลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญ
การทำเหมืองแร่ทั่วโลกต้องใช้เครื่องจักรและบุคลากรเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดเจาะที่มีความละเอียดอ่อนหรือซับซ้อนเป็นพิเศษ ลักษณะการปฏิบัติงานเช่นนี้จึงทำให้เกิดอันตรายและโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียแฝงอยู่หลายประการสำหรับทั้งบริษัทและพนักงาน ดังนั้น ในประเทศจีนซึ่งปัจจุบันมีเหมืองแร่อยู่ประมาณ 5,300 แห่ง ได้มีการถกร่วมกันถึงแนวทางล่าสุดเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำเหมืองแร่อัจฉริยะผ่าน “สถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม” ที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยี 5G ปัญญาประดิษฐ์และการวิจัยขั้นพื้นฐาน ช่วยสร้างให้เกิดการขุดเหมืองแร่ที่มีความปลอดภัย อัจฉริยะ มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
โมฮาน มุนาซิงเฮ ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและนักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม อธิบายว่า “การขุดเหมืองแร่จะมีโอกาสเติบโตในอนาคตอันใกล้ วัตถุประสงค์โดยรวมนี้ไม่ใช่เพื่อทำลายอุตสาหกรรมที่สร้างงานแก่ผู้คนนับล้าน แต่เพื่อเปลี่ยน
แนวทางการผลิตและการบริโภคให้อยู่ในเส้นทางแห่งความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า หลังการระบาดของโควิด-19 เทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก โดยเร่งการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทานซึ่งเคยเสียหายและจะสร้างชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น ในฐานะผู้นำ DT ระดับโลก หัวเว่ยจะเข้าไปมีบทบาทสำคัญเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้”
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การทำเหมืองแร่ทางไกลได้กลายมาเป็นข้อตกลงร่วมกันของอุตสาหกรรม อันเป็นผลมาจากความคิดริเริ่มและข้อพิจารณาในการลดความเสี่ยงจากการทำงาน ในการทำเหมืองแร่แบบดั้งเดิม ความปลอดภัยใต้ดินจะต้องอาศัยวิธีการปฏิบัติด้วยตนเอง เช่น ผ่านการควบคุมดูแลของหัวหน้าทีม แม้จะมีความพยายามหลายครั้ง แต่อุบัติเหตุระหว่างการขุดเจาะอุโมงค์ก็เกิดขึ้นมากกว่า 40% ของอุบัติเหตุในเหมืองทั้งหมด ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์หรือจากการควบคุมดูแล ในปัจจุบัน เทคโนโลยี 5G ที่มีความหน่วงต่ำ เช่น โซลูชันที่หัวเว่ยได้เปิดตัวนี้ จะช่วยให้ช่างเทคนิคมีความปลอดภัยในการทำงานภายในสำนักงาน โดยยังคงสามารถควบคุมเครื่องขุดเจาะใต้ดินได้จากระยะไกลและแม่นยำมากขึ้น
ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับการดำเนินการขุดจากระยะไกลนั้นคือ การแสดงภาพกระบวนการขุดเจาะที่ชัดเจนและเรียลไทม์ ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งยังเกี่ยวข้องกับระบบสายพานลำเลียงใต้ดิน ซึ่งมีความยาวสูงสุดถึง 20 กิโลเมตร และต้องมีการตรวจสอบและเฝ้าติดตามเป็นประจำเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานจะดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยเครือข่ายแบนด์วิดธ์ 5G แบบ Ultra-High ของหัวเว่ยและเทคโนโลยี Uplink-downlink Timeslot Configuration แบบย้อนกลับ ซึ่งให้แบนด์วิดธ์ Uplink ที่มากกว่า 1 จิกะบิตต่อวินาที (Gbit/s) ทำให้ปัจจุบันสามารถใช้งานการเชื่อมต่อวิดีโอเรียลไทม์แบบ HD ไร้สายได้หลายช่องทาง
ด้วยการใช้เทคโนโลยี AI และอัลกอริธึมการต่อภาพวิดีโอ ทำให้ฟีดวิดีโอที่แยกจากกันสามารถรวมกันเป็นภาพพาโนรามาเดียวกันได้ นอกจากนี้อัลกอริธึมการกรองฝุ่นจะช่วยให้มั่นใจว่าได้ภาพที่ชัดเจนสูงสุดถึง 20 เมตรแม้ในพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยฝุ่นละอองและหมอก อัลกอริธึม AI ยังสามารถติดตามการทำงานใต้ดินและมีการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์เมื่อตรวจพบความผิดปกติระหว่างการขุดหรือการขนส่ง เพื่อให้มั่นใจถึงการตรวจสอบอัจฉริยะและความปลอดภัยได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงในการปฏิบัติงาน ความสำเร็จเหล่านี้ช่วยลดจำนวนบุคลากรในการตรวจสอบได้มากถึง 20% และลดจำนวนบุคลากรทั่วไปที่ต้องเสี่ยงในการลงไปปฏิบัติงานใต้ดินได้มากกว่า 20%
ทั้งนี้ หัวเว่ยยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนด้านอุปกรณ์ เนื่องจากการผลิตใต้ดินมักเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์มากกว่า 1,000 ชนิด โดยเกือบครึ่งหนึ่งไม่รองรับการควบคุมระยะไกล การควบคุมจากส่วนกลาง หรือการจัดการจากระยะไกล ซึ่งอุปกรณ์ในจำนวนนี้แบ่งระบบปฏิบัติการออกเป็นมากกว่า 10 ประเภท รวมทั้งยังเป็นโปรโตคอลอินเทอร์เฟซ 500 ประเภท และยังเป็นรูปแบบข้อมูลที่หลากหลาย ทำให้เกิดกระบวนการที่ซับซ้อนและไม่มีประสิทธิภาพเพราะขาดการเชื่อมต่อหรือการทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว หัวเว่ยจึงได้สร้าง MineHarmony ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่รวมภาษาของอุปกรณ์และลดความซับซ้อนในการทำงาน โดยจะครอบคลุมอุปกรณ์ทุกขนาดและใช้โปรโตคอลแบบรวมศูนย์กลางเพื่อเปิดใช้งานการแชร์ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ ตลอดจนการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องต่างๆ เป็นโครงข่าย ทำให้การปฏิบัติงานตรวจสอบของบุคลากรภาคพื้นดินสามารถจัดส่งงานได้อย่างชาญฉลาดแบบเรียลไทม์ ซึ่งต้องขอบคุณข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่ครอบคลุมเหล่านี้ที่ช่วยให้การผลิตและกระบวนต่างๆ ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และด้วยระบบปฎิบัติการดังกล่าวทำให้สามารถช่วยตรวจจับเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ก๊าซล้น จัดระเบียบการอพยพ ปิดอุปกรณ์ทำเหมือง และระบายอากาศภายในเหมือง รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้ดียิ่งขึ้น
สามารถรับชมวิดีโอเกี่ยวกับเทคโนโลยีการขุดเหมืองแร่อัจฉริยะด้วยเครือข่าย 5G และ AI ได้ที่: VDO: 5G และ AI-Assisted Smarter and Safer Mining Technologies
ที่มา: คาร์ลบายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์