เอปสันเผยผลสำรวจทั่วโลกยกปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรงหนักเท่าวิกฤตเศรษฐกิจ

เอปสัน เผยผลสำรวจ Climate Reality Barometer ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับการให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีนัยสำคัญอยู่ที่ผู้คนทั่วโลกยกระดับความกังวลต่อผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันเทียบเท่ากับวิกฤตเศรษฐกิจ รวมทั้งเกิดความพยายามส่วนบุคคลในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของตัวเองให้สอดคล้องกับวิถีความยั่งยืน

เอปสัน ผู้นำด้านเทคโนโลยีการพิมพ์และโปรเจคเตอร์ ได้ทำการสำรวจ Climate Reality Barometer เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เพื่อศึกษาถึงระดับการตื่นตัวของผู้คนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จากกลุ่มตัวอย่าง26,205 คนใน 28 ตลาดทุกภูมิภาคทั่วโลกที่เอปสันได้เข้าไปทำธุรกิจ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี จีน อียิปต์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เคนยา มาเลเซีย เม็กซิโก โมร็อกโก ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ สเปน ไต้หวัน ไทย ตุรกี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

มร.ยาซึโนริ โอกาว่า ประธาน บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “พันธกิจของเอปสันคือการพัฒนาชีวิตและโลกใบนี้ให้ดียิ่งขึ้น บริษัทฯ ทุ่มเททรัพยากรที่สำคัญในด้านต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ ใน ขณะที่โลกจะรวมตัวกันในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP 27) ที่จะมีขึ้นในพฤศจิกายนนี้ ที่ประเทศอียิปต์ บริษัทฯ ได้จัดทำการสำรวจ Climate Reality Barometer นี้ขึ้น เพื่อช่วยยกระดับความตื่นตัวและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป”

“เอปสันหวังว่าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้จะช่วยให้หลายรัฐบาล วงการอุตสาหกรรม และบุคคลทั่วไป ได้ยกระดับความพยายามในการป้องกันภัยพิบัติที่เกิดจากสภาพอากาศ แม้ว่าหนทางแห่งความสำเร็จยังอีกยาวไกล แต่เอปสันเชื่อว่าเราจะสามารถสร้างอนาคตที่ดีขึ้นได้ หากเราทำงานร่วมกันและลงมือทำตั้งแต่ตอนนี้”

ผลสำรวจของ Climate Reality Barometer ในปีนี้ชี้ให้เห็นชัดว่าทั่วโลกตื่นตัวมากขึ้นกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกวิกฤตเศรษฐกิจเบี่ยงเบนความสนใจของผู้คนออกจากความพยายามจัดการกับปัญหาด้านสภาพอากาศไปไม่น้อยเช่นกัน และยังมีประเด็นที่น่าจับตามองคือ ยังมีผู้คนอีกจำนวนมากที่มองในแง่ดีว่าปัญหาดังกล่าวสามารถถูกแก้ไขได้ในช่วงชีวิตของคนรุ่นปัจจุบัน แม้ว่าจะมีภัยพิบัติมากมายเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา

จากผลสำรวจระบุว่าการ ผู้คนยังคงให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงินแบบเร่งด่วนเป็นอันดับแรกที่ 22% ถัดมาคือราคาสินค้าที่แพงขึ้นที่ 21% ส่วนปัญหาสภาพภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่อันดับที่ 3 ที่ 20% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และค่าพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น วิกฤตสภาพอากาศก็ยังคงเป็นเรื่องที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่าง 48% ยังมองในแง่ดีว่าปัญหาจากสภาพอากาศสามารถป้องกันได้ในช่วงชีวิตของคนปัจจุบัน เพิ่มขึ้นจาก 46% ในการสำรวจเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งทำขึ้นในช่วงก่อน COP 26

จำนวนประชากรที่เชื่อว่าปัญหาที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปสามารถแก้ไขได้ในช่วงชีวิตของตัวเองมีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่มีภัยพิบัติเกิดขึ้นติดต่อกัน แสดงให้เห็นถึงภาวะการขาดการรับรู้ความจริงต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในผู้คนจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะยังมีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับผลกระทบทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นกับโลกในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน โดยตัวแปรสำคัญที่แบ่ง กลุ่มคนที่มีการรับรู้ต่อปัญหาดังกล่าวแตกต่างกัน ได้แก่ ระดับเศรษฐกิจและช่วงอายุ

สมาชิกในกลุ่มประเทศ G7 มีมุมมองต่อการแก้ไขปัญหาจากสภาพภูมิอากาศไปในทางบวก ในระดับที่ต่ำกว่าค่า เฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 48% ดังนี้ แคนาดา 36.6%; ฝรั่งเศส 22.5%; เยอรมนี 23.8%; อิตาลี 25.2%; ญี่ปุ่น 10.4%; สหราชอาณาจักร 28.4% และสหรัฐอเมริกา 39.4% ในขณะที่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วจะมองในแง่ดีต่อปัญหาดังกล่าวมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ จีน 76.2%; อินเดีย 78.3%; อินโดนีเซีย 62.6%; เคนยา 76%; เม็กซิโก 66% และฟิลิปปินส์ 71.9%

ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าอายุมีผลต่อมุมมองต่อปัญหานี้ โดยกลุ่มคนที่มีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด และมองว่าเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด เป็นกลุ่มช่วงอายุมากที่สุด หรือ 55 ปีขึ้นไป ที่ 22% และน้อยที่สุด 16 – 24 ปี ที่ 19.3% ตามลำดับ

นอกจากนี้ การสำรวจ Climate Reality Barometer ยังได้ศึกษาถึงช่องทางหรือปัจจัยที่ทำให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมากกว่า 8 ใน 10 ของกลุ่มตัวอย่าง หรือ 80.2% สัมผัสถึงปัญหาดังกล่าวได้โดยตรงจากการใช้ชีวิตประจำวัน 75.7% รับทราบข้อมูลจากกิจกรรมหรือแคมเปญของรัฐบาล 75% จากข่าวทางสื่อออนไลน์และออฟไลน์ 74.2% จากโซเชียลมีเดีย 64.8% จากแคมเปญของบริษัทเอกชนหรือตามชุมชนต่างๆ และ 64% จากรายงานของการประชุม COP

ด้านพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ตอบสนองต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การสำรวจในปีนี้พบว่าผู้คนได้ปรับไลฟ์สไตล์ของตนเองให้สอดคล้องกับวิถีความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้นกว่าปี 2564 ได้แก่

  • เดินหรือปั่นจักรยานมากขึ้น จาก 7% เป็น 87.2% และ 31.8% ที่ได้ทำติดต่อกันมาตลอดทั้งปี
  • การเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น จาก 2% เป็น 82.4% และ 18.6% ทำมานานกว่า 1 ปี
  • ลดการเดินทางเพื่อธุรกิจและการพักผ่อนต่างประเทศมากขึ้น จาก 1% เป็น 68.2% และ 23% ทำมานานกว่า 1 ปี
  • เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จาก 68% เป็น 7% และ 10.6% ทำเช่นนี้มานานกว่า 1 ปี
  • รับประทานอาหารจากพืชเพิ่มขึ้น จาก 6% เป็น 68.9% และ 16.5% ทำติดต่อกันมานานกว่า 1 ปี

“เอปสันเชื่อว่าพวกเราทุกคนมีส่วนรับผิดชอบต่อคนรุ่นหลัง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล องค์กรธุรกิจ หรือชุมชนต่างๆ ต้องร่วมกันทำให้โลกนี้ดีขึ้นหลังจากความเสียหายมาหลายทศวรรษ เอปสันในฐานะผู้นำเทคโนโลยีด้านการพิมพ์และโปรเจคเตอร์ได้มุ่งพัฒนาโซลูชั่น ที่สามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ของเรา การทำงานร่วมกันและค้นหาโซลูชั่นใหม่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและเกิดเป็นความเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงให้โลกดีขึ้นได้” มร.ยาซึโนริ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: พีอาร์พีเดีย