‘การไม่มีความปลอดภัยในโลกไซเบอร์นั้นเปรียบได้เท่ากับว่าโลกนี้ปลอดภัยขึ้น’ จริงหรือไม่ นักวิจัยด้านความปลอดภัยชั้นนำของแคสเปอร์สกี้ขอให้ลองทบทวนอีกครั้ง
นายวิทาลี คัมลัก ผู้อำนวยการทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลก (Global Research & Analysis Team – GReAT) แคสเปอร์สกี้ เอเชียแปซิฟิก ได้เจาะลึกถึงความเป็นจริงอีกด้านของโลกที่ปราศจากบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ปราศจากโซลูชั่นและเซอร์วิส และเผยให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในโลกดิจิทัลถ้าหากอุตสาหกรรมการป้องกันออนไลน์ถูกลบออกจากสมการ
นายวิทาลีกล่าวว่า “คาดการณ์ว่าการใช้จ่ายด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 460 พันล้านดอลลาร์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าของค่าใช้จ่ายสะสมในปี 2021 และเกือบเท่ากับ GDP รวมในปัจจุบันของประเทศไทย เป็นต้น หากเราพิจารณาสถานการณ์จริงทั่วโลก จะพบว่าภาพรวมการคุกคามในปัจจุบันทำให้การคาดการณ์นี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดคำถามว่า ทำไมเราถึงลงทุนอย่างมากในการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ และไม่เป็นการคุ้มค่าที่จะประหยัดเงินทั้งหมดนี้เพื่อใช้จ่ายอย่างอื่น”
แม้ว่าจะเป็นไปได้ที่โลกจะไม่มีความปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่นายวิทาลีได้แจกแจงเหตุผลที่ไม่มีใครเลือกที่จะอยู่ในโลกที่ปราศจากความปลอดภัยทางไซเบอร์ ดังนี้
- ไม่มีการเข้ารหัส ไม่มีความเป็นส่วนตัว ไม่มีความลับ
- ไม่มีการควบคุมการเข้าถึงต่างๆ
- ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้อง
อีกทั้ง การขจัดอุตสาหกรรมการป้องกันทางไซเบอร์ออกไปยังเป็นการเปิดประตูกว้างให้อาชญากรใช้ประโยชน์จากข้อมูลของผู้ใช้ ทั้งข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลด้านสุขภาพ แผนการเดินทาง การใช้จ่าย และอื่นๆ
นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการซื้อขายที่เป็นการฉ้อโกง โดยทุกคนสามารถอ้างสิทธิ์ในการซื้อและโอนเงินได้ และหากไม่มีการควบคุมการเข้าถึง การลงคะแนนเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์และแบบสำรวจต่างๆ ก็สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้ โดยจะไม่มีใครมีบัญชีส่วนตัวออนไลน์ และจะไม่มีอะไรเป็นส่วนตัวอีกต่อไป
การขาดการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ยังทำให้ข่าวสารและข้อมูลต่างๆ ไม่น่าไว้วางใจ โดยข่าวปลอมและข้อมูลเท็จคาดว่าจะแพร่ขยายออกไป ไม่สามารถเชื่อถือเทคโนโลยีใด ๆ ที่ใช้งานอยู่ ข้อมูลใด ๆ ที่ได้อ่าน โดยพื้นฐานแล้ว ทุกสิ่งสามารถปลอมแปลงได้ในโลกที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
นายวิทาลีกล่าวเสริมว่า “ผมเห็นโลกที่ปราศจากความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เป็นโลกดิจิทัลที่ไม่มีใครสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดที่เรามีอยู่ในมือได้อย่างเต็มที่ หากไม่มีบริษัทและโซลูชันที่ทำงานอยู่เบื้องหลังเพื่อปกป้องข้อมูลของเรา ตัวตนของเรา ข่าวสารที่เราใช้ แอปพลิเคชันและอุปกรณ์ที่เราใช้ เราจะถูกปล่อยให้ลุยฝ่าความเสี่ยงต่างๆ และผมแน่ใจว่าจะไม่มีใครเลือกอยู่ในโลกที่วุ่นวายเช่นนั้น ทุกวันนี้การรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์มักเป็นส่วนที่เรามองข้ามไป แต่เราประสบความสำเร็จและได้ประโยชน์มากมายจากความปลอดภัยนี้”
เมื่อพูดถึงความเสี่ยง นายวิทาลียังเปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 ถึงสิงหาคม 2022 แคสเปอร์สกี้ได้ตรวจพบและบล็อกการโจมตีของอ็อบเจ็คต์ที่เป็นอันตราย รวมถึงมัลแวร์และเนื้อหาเว็บที่เป็นอันตรายทั่วโลกมากกว่า 7.2 พันล้านครั้ง
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 ถึงกรกฎาคม 2022 เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีช่องโหว่ทางไซเบอร์ พบการตรวจจับอ็อบเจ็คต์ที่เป็นอันตรายทั่วโลกจำนวนหนึ่งในสาม (35%) ได้กำหนดเป้าหมายที่ผู้ใช้ในภูมิภาคนี้ โดยอินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน และอินโดนีเซียเป็นประเทศ 5 อันดับแรกที่ตรวจพบความพยายามในการโจมตีสูงสุด
ในฐานะบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกและผู้สนับสนุนหลักในการตรวจจับและสกัดกั้นการโจมตีที่ซับซ้อนทั่วโลก ผู้บริหารระดับสูงของแคสเปอร์สกี้ยังได้จินตนาการถึงโลกที่ปราศจากแคสเปอร์สกี้อีกด้วย
นายคริส คอนเนลล์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและรองประธานฝ่ายขายและเครือข่ายทั่วโลกของ แคสเปอร์สกี้ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของบริษัทในปี 1997 ตอนที่ไม่มีใครรู้ว่าโลกจะต่อสู้กับมัลแวร์ตัวเดียวทุก ๆ ชั่วโมงโดยปราศจากเทคโนโลยีการวิเคราะห์ของแคสเปอร์สกี้
ในปี 2015 โลกที่ปราศจากแคสเปอร์สกี้ก็คงไม่อาจรับรู้ถึงการโจรกรรมทางไซเบอร์ยาวนานกว่าสองปีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ จากสถาบันการเงินทั่วโลกโดยกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ชื่อ Carbanak แคสเปอร์สกี้ร่วมกับ INTERPOL, Europol และหน่วยงานจากประเทศต่างๆ เพื่อเปิดเผยแผนการร้ายเบื้องหลังการปล้นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษ
เครื่องมือถอดรหัสฟรีจะไม่สามารถช่วยผู้ใช้ได้มากมายหากไม่มีแคสเปอร์สกี้ที่ได้ร่วมก่อตั้งโครงการ No More Ransom ซึ่งต่อมาได้ขยายจากพันธมิตร 4 รายเป็น 188 รายซึ่งมีเครื่องมือถอดรหัส 136 รายการ และช่วยผู้ใช้กว่า 1.5 ล้านคนทั่วโลกให้ถอดรหัสอุปกรณ์ของตนจากภัยแรนซัมแวร์ได้
นายคริสกล่าวว่า “ในปี 2017 เราริเริ่มมาตรฐานอุตสาหกรรมด้วยการเปิดตัว Global Transparency Initiative ของ แคสเปอร์สกี้ ทำให้เราเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งแรกที่เสนอการตรวจสอบซอร์สโค้ดโดยบุคคลที่สาม 5 ปีจากนั้นและด้วยความเชี่ยวชาญ 25 ปีของเรา ปัจจุบันเราเป็นทีมงานมืออาชีพมากกว่า 4,500 คน สร้างระบบนิเวศการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงการพัฒนาระบบปฏิบัติการและระบบไอทีของตนเองซึ่งมีความปลอดภัยเพื่อสร้างอนาคตที่มีภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ เพราะเรารู้ว่าโลกต้องการความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเราพร้อมที่จะทำหน้าที่ของเราเพื่อสร้างอนาคตที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน”
ที่มา: พิตอน คอมมิวนิเคชั่น