แพลตฟอร์ม 5G/4G ของ UNISOC อัปเกรดให้รองรับแอนดรอยด์ 13 ขณะที่สมาร์ทโฟนรุ่น SC9863A เป็นเครื่องอ้างอิงมาตรฐานโดยกูเกิล

วันนี้ ยูนิเอสโอซี (UNISOC) ประกาศว่าแพลตฟอร์ม 5G และ 4G ประกอบด้วย T820, T770, T760, T616, T612 และ T606 พร้อมรองรับแอนดรอยด์ 13 (Android 13) บนอุปกรณ์รุ่นใหม่ ณ วันที่ 15 สิงหาคม แพลตฟอร์ม 5G และ 4G อื่น ๆ จะได้รับการอัปเกรดให้รองรับแอนดรอยด์ 13 หลังจากนี้ในปีนี้ ด้วยการอัปเกรดระบบรุ่นใหม่ในแพลตฟอร์มแบบรองรับการประมวลผลหลายรายการพร้อมกัน (multi-process) และแบบหลายแพลตฟอร์ม (multi-platform) ความแข็งแกร่งด้านการวิจัยและพัฒนาของ UNISOC ได้ยกระดับสูงขึ้นไปอีกขั้น

ในขณะเดียวกัน สมาร์ทโฟน UNISOC รุ่น SC9863A กลายเป็นอุปกรณ์อ้างอิงมาตรฐานสำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 13 (โก เอดิชั่น หรือ Go edition) UNISOC ทำงานร่วมกับกูเกิล (Google) และได้ดำเนินการปรับแต่งสมรรถนะซอฟต์แวร์และทดสอบความเข้ากันได้ (compatibility testing) ก่อนที่จะปล่อยออกมาเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์เข้ากันได้และทำงานได้อย่างสมบูรณ์กับระบบแอนดรอยด์รุ่นใหม่ นักพัฒนาและผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายอื่น ๆ สามารถดำเนินการตามเกณฑ์พื้นฐานการกำหนดค่าและสมรรถนะของอุปกรณ์อ้างอิงดังกล่าวนี้ ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่ในระบบแอนดรอยด์ 13 เทอร์มินัลของโก เอดิชั่นจะใช้โมดูลหลักของแอนดรอยด์อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งทำให้การอัปเดตโมดูลเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับผู้ใช้ปลายทางพร้อมทั้งช่วยยกระดับความปลอดภัย

ระบบแอนดรอยด์ 13 ใหม่นี้ยังเพิ่มความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยด้วยการทำให้ผู้ใช้ควบคุมได้มากขึ้นในการกำหนดว่าจะแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลอะไรและไฟล์ใดบ้างที่แอปต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้ แอนดรอยด์ 13 ยังยกระดับประสบการณ์บนแท็บเล็ตและอุปกรณ์หน้าจอขนาดใหญ่ด้วยการเปิดตัวสมรรถนะการทำงานแบบมัลติทาสก์ (multitasking) ใหม่ ๆ ส่วนการอัปเกรดอื่น ๆ ประกอบด้วยประสบการณ์การใช้งานแอปที่ดีขึ้นสำหรับผู้ใช้งานที่พูดได้หลายภาษา การเพิ่มการรองรับเสียงที่มีพลังต่ำ และอีกมากมาย

เพื่อสนับสนุนการอัปเดตของแอนดรอยด์ 13 อย่างดียิ่งขึ้น UNISOC มีโซลูชันครบวงจรที่ได้รับการทดสอบล่วงหน้า ได้รับการรับรองล่วงหน้า และสามารถทำงานเข้ากับระบบแอนดรอยด์ 13 ได้อย่างสมบูรณ์สำหรับธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้า (OEM) และธุรกิจรับจ้างออกแบบสินค้า (ODM) อีกทั้งยังมีการรองรับแพทช์รักษาความปลอดภัยภายในวงจรชีวิตของระบบแอนดรอยด์ โดย OEM กับ ODM ของแพลตฟอร์ม UNISOC ได้ลดต้นทุนลง ขณะที่ทำให้ขั้นตอนและทรัพยากรสำหรับการอัปเกรดระบบเป็นไปอย่างเรียบง่าย นอกจากนี้ UNISOC ยังจัดการอบรมพิเศษเกี่ยวกับระบบแอนดรอยด์ 13 เพื่อให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่ OEM และ ODM ที่ใช้แพลตฟอร์ม UNISOC ในการอัปเกรดเป็นระบบรุ่นใหม่ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถอัปเกรดระบบได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ทรัพยากรน้อยกว่า

UNISOC เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัททั่วโลกที่ครอบคลุมเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับทุกสภาวการณ์อย่างสมบูรณ์ อย่างเช่น 2G/3G/4G/5G, Wi-Fi, บลูทูธ (Bluetooth), โทรทัศน์ระบบเอฟเอ็ม (FM) และการสื่อสารด้วยดาวเทียม ในแง่นี้ UNISOC ยึดมั่นในการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีมาโดยตลอด และได้มีส่วนร่วมระยะยาวในโครงการพัฒนาแอนดรอยด์แบบโอเพนซอร์ส (Android Open Source Project หรือ AOSP)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์: https://www.unisoc.com/

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์