บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย
นูทานิคซ์แนวทางบริหารจัดการดาต้าเบสในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ข้อถกเถียงเกี่ยวกับประโยชน์ของพับลิคคลาวด์เมื่อเทียบกับไพรเวทคลาวด์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเด็นร้อนแรงนั้น ได้กลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากองค์กรต่างต้องวุ่นวายอยู่กับการใช้งานดาต้าเบสหลายประเภท บนสภาพแวดล้อมไฮบริดคลาวด์ แอปพลิเคชันจำนวนมากในปัจจุบันที่ใช้ดาต้าเบสมากกว่าหนึ่งประเภท และแอปพลิเคชันที่เป็นคอนเทนเนอร์ไรซ์ที่ทันสมัยต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดการกระจัดกระจายของดาต้า (sprawl of data) และดาต้าเบส ปริมาณมหาศาลเหล่านี้มีข้อมูลรวมกันหลายสิบหรือหลายร้อยเพตาไบต์ ซึ่งผู้ดูแลระบบจำเป็นต้องบริหารจัดการ และแน่นอนว่าเป็นปริมาณที่มากมายเกินกว่าจะจัดการได้
นอกจากนี้ ภาระด้านค่าใช้จ่ายที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับการจัดการดาต้าเบส และความเสี่ยงจากภัยคุกคามด้านความปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้องค์กรต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการจัดการดาต้าเบส สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรไม่อาจละเลยได้ การที่ดาต้าเบสมีบทบาทสำคัญมากต่อการทำงานในแต่ละวันขององค์กร ทำให้ธุรกิจทั้งหลายต่างต้องแสวงหาวิธีการจัดการดาต้าเบสที่ใช้งานง่ายกว่าวิธีการเดิม ๆ
ค่าใช้จ่ายที่พุ่งสูง
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการความเกี่ยวเนื่องที่พัวพันซับซ้อนกันระหว่างแอปพลิเคชัน ดาต้าเบส และบริการต่าง ๆ จากภายนอกที่เพิ่มขึ้นมากกำลังกลายเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก รายงาน IDC InfoBrief[1] ชี้ให้เห็นว่า องค์กรเกือบสามในสี่ (73 เปอร์เซ็นต์) ใช้เครื่องมือและกระบวนการหลายประเภทเพื่อบริหารจัดการดาต้าเบสที่เก็บอยู่ภายในองค์กร เมื่อเทียบกับดาต้าเบสที่อยู่บนคลาวด์ ส่งผลให้องค์กรต้องซื้อเครื่องมือที่ซ้ำซ้อนและต้องจัดการดูแลเครื่องมือเหล่านี้ อีกทั้งยังต้องจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอ ข้อเท็จจริงจากรายงานของ Forrester Consulting [2] ชี้ว่า ความไร้ประสิทธิภาพในการจัดสรรบุคลากรส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาจำนวนมากแก่ทีมงานผู้ดูแลด้านดาต้าเบส (Database Administrator – DBA) เพื่อให้สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วง
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน แนวทางไอทีแบบเดิม ๆ ที่ใช้เครื่องมือรุ่นเก่าเพื่อจัดการดาต้าเบสที่รันอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมจะก่อให้เกิดความล่าช้าจนไม่สามารถรองรับงาน และความคิดริเริ่มที่สำคัญมากต่อธุรกิจยิ่งไปกว่านั้น แนวทางดังกล่าวยังทำให้การดำเนินการส่วนต่าง ๆ แยกออกจากกันขาดความต่อเนื่อง และมีการใช้ทรัพยากรและกระบวนการที่ซ้ำซ้อน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้องค์กรต่าง ๆ จึงตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการลดรายจ่าย และจำเป็นที่จะต้องมองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการดาต้าเบสให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และตอบสนองได้อย่างฉับไวมากขึ้น
เมื่อองค์กรเดินมาถึงทางตัน เราจะพบว่ามีองค์กรหลายแห่งหันไปใช้โซลูชันการจัดการดาต้าเบสที่ใช้งานง่ายที่สามารถบริหารจัดการดาต้าเบสหลายแบบผ่านแพลตฟอร์มเดียวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บริการต่าง ๆ เช่น Database-as-a-Service (DBaaS) ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงและใช้ดาต้าเบสต่าง ๆ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยาก เช่น การติดตั้ง การกำหนดค่า การดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์ด้านดาต้าเบสที่ซับซ้อน จะได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะองค์กรต่าง ๆ มองหาวิธีการที่ง่ายขึ้นเพื่อจัดการดาต้าเบสที่หลากหลายนี้ ควบคู่กับการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
การเพิ่มขึ้นของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware)
การโจมตีทางไซเบอร์ขนาดใหญ่อาจสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง การโจมตีจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) มีจำนวนเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อปี 2564 ซึ่งสร้างความกังวลใจอย่างมากแก่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบส ทั้งในเรื่องของการป้องกันดาต้าเบสให้รอดพ้นจาก ransomware รวมถึงการดูแลไม่ให้ข้อมูลแบ็คอัพติดเชื้อไปด้วย
แม้ว่าการป้องกันการโจมตีจาก ransomware เป็นเรื่องท้าทายอันดับแรก แต่แพลตฟอร์มการบริหารจัดการดาต้าเบสต่าง ๆ สามารถช่วยได้ในเรื่องของการกู้คืนข้อมูล (data recovery) การแพตช์จุดล่อแหลมด้านความปลอดภัยบนสภาพแวดล้อมไอทีแบบดั้งเดิม อาจก่อให้เกิดดาวน์ไทม์เป็นเวลานาน ทั้งนี้ ข้อมูลจากการศึกษาของ Forrester Consulting ที่สนับสนุนโดยนูทานิคซ์ ระบุว่าตัวเลขการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานและรายได้ขององค์กรที่เป็นแบบ composite organization คิดเป็นมูลค่า 35,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ระบบบริหารจัดการดาต้าเบสต่าง ๆ ช่วยให้องค์กรที่ติดแรนซัมแวร์สามารถกู้คืนระบบและย้อนกลับไปยังจุดที่ถูกต้อง ก่อนที่จะติดแรนซัมแวร์ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการที่บุคลากรจะต้องดำเนินการแก้ไขแบบแมนนวลด้วยตนเอง
โซลูชันที่ช่วยให้สามารถแบ็คอัพข้อมูลตามกำหนดเวลาได้อย่างละเอียดจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานให้แก่ผู้ดูแลดาต้าเบสและผู้จัดการฝ่ายไอที ฟังก์ชันนี้เปรียบได้กับโปรแกรมเล่นวิดีโอที่ฝังอยู่บนเว็บไซต์ โดยคุณจะสามารถย้อนกลับไปกลับมายังช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างต่อเนื่องในขั้นที่ต้องการ ซึ่งนับว่าสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ข้อมูลแบ็คอัพอาจเป็นส่วนหนึ่งของดาต้าเบสที่ติดเชื้อ การกำหนดเวลาอย่างละเอียดนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการกู้คืนข้อมูลจากช่วงเวลาที่มีการติดเชื้อแล้ว
บริหารจัดการดาต้าเบสได้เรียบง่าย
ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ ต้องจัดการข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งสภาพแวดล้อมด้านดาต้าเบสก็มีความซับซ้อนและมีการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ส่งผลให้องค์กรต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมากในการจัดการดาต้าเบส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องคำนึงถึง SLA ด้านประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนั้น องค์กรธุรกิจจำนวนมากมักจะรันแอปพลิเคชันและบริการที่มีความสำคัญต่อธุรกิจไว้บนดาต้าเบสขนาดใหญ่ โดยไม่มีการบูรณาการเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนและสิ้นเปลืองเวลาในการทำงาน และทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้โซลูชันการจัดการดาต้าเบสที่เหมาะสมเพื่อรองรับการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยโซลูชันที่ว่านี้จะต้องช่วยเพิ่มความสะดวกในการจัดการฐานข้อมูลบนพับลิคคลาวด์และไพรเวทคลาวด์ และเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน จากเดิมที่ต้องใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์บนระบบแบบเก่า ก็จะสามารถลดเวลาให้เหลือเพียงไม่กี่นาที นอกจากนี้ โซลูชันดังกล่าวยังช่วยให้สามารถปกป้องดาต้าเบสได้ง่าย ๆ ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว หรือทำการโคลนข้อมูล (fast clone) และสร้างสแน็ปช็อตเพื่อช่วยในการกู้คืนข้อมูล จะเห็นได้ว่าดาต้าเบสมีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จขององค์กร ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอที เครื่องมือด้านการจัดการ และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดค่าใช้จ่าย กู้คืนข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และดำเนินงานในแต่ละวันได้อย่างราบรื่นไม่ยุ่งยาก
[1] Source: IDC InfoBrief, sponsored by Nutanix, IT Practitioners’ Views on the Challenges of Hybrid Cloud Database Management: Worldwide Survey Results, Doc # US48116921, September 2021
[2] ที่มา: Forrester Consulting, The Total Economic Impact(TM) of Nutanix Era. A Forrester Consulting Total Economic Impact(TM) Study ซึ่งได้รับการมอบหมายจาก Nutanix, ตุลาคม 2563
ที่มา: เอฟเอคิว