หัวเว่ย ชูแนวคิดการเงินที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

การประชุมสุดยอด หัวเว่ย อินเทลลิเจนท์ ไฟแนนซ์ ซัมมิต ประจำปี 2565 (Huawei Intelligent Finance Summit 2022) ระยะเวลาสามวัน ได้เปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ณ ศูนย์การประชุม แซนด์ส เอ็กซ์โป แอนด์ คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ (Sands Expo and Convention Centre) ภายใต้หัวข้อ “การเงินที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น” (Shaping Smarter, Greener Finance) โดยผนึกกำลังผู้นำ ผู้มีอิทธิพลทางความคิด ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานด้านนวัตกรรมในอุตสาหกรรมการเงินจากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการเงินในอนาคต และร่วมกันสร้างรูปแบบการเงินที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

หัวเว่ยเสนอสามองค์ประกอบหลัก เพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมการเงินในยุคซูเปอร์ดิจิทัล

โลกอัจฉริยะที่เชื่อมถึงกันอย่างสมบูรณ์กำลังจะเกิดขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจและสังคมให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะเดียวกัน บริการทางการเงินและรูปแบบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัลได้ทำให้อุตสาหกรรมการเงินต้องเผชิญกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของนวัตกรรมทางธุรกิจที่รวดเร็วและประสบการณ์ลูกค้าที่ดีเยี่ยม ซึ่งเป็นอีกแรงผลักดันที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อรับมือกับธรรมชาติที่ซับซ้อนและไม่หยุดนิ่งของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล อุตสาหกรรมการเงินจำเป็นต้องสร้างความสามารถด้านการแข่งขันหลักขึ้นใหม่ในยุคดิจิทัล เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ด้านการเงินอัจฉริยะ

คุณไรอัน ติง (Ryan Ding) ประธานของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ บิสสิเนส กรุ๊ป (Huawei Enterprise BG) กล่าวว่า “การเชื่อมต่อที่ดีขึ้น ความชาญฉลาดที่มากขึ้น และสถานการณ์การใช้งานที่เพิ่มขึ้น คือกุญแจสำคัญในการสร้างความสามารถด้านการแข่งขันของการเงินดิจิทัล ภายใต้แนวคิดของการสร้างสรรค์ร่วมกัน การแบ่งปันร่วมกัน และผลประโยชน์ร่วมกัน เรากำลังทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรของเราในการหาวิธีสร้างรูปแบบการเงินที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และสร้างคุณค่าใหม่ร่วมกัน”

หัวเว่ยประกาศสามแนวคิดเชิงกลยุทธ์ มุ่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเงินสู่ระบบดิจิทัลในยุคใหม่

คุณเจสัน เชา (Jason Cao) ซีอีโอของหัวเว่ย โกลบอล ดิจิทัล ไฟแนนซ์ (Huawei Global Digital Finance) กล่าวว่า “เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมต่อและความชาญฉลาด ยังคงช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมการเงินอย่างต่อเนื่อง ในปี 2565 เราได้เข้าสู่ยุค ZFLOPS อย่างเป็นทางการในแง่ของพลังการประมวลผลด้วยเอไอ ซึ่งการพัฒนาเอไอช่วยให้เราสามารถให้บริการเฉพาะบุคคลขั้นสูง และภายในปี 2568 การเชื่อมต่อทางกายภาพมากกว่า 1 แสนล้านการเชื่อมต่อจะนำไปสู่บริการทางการเงินสำหรับ “สรรพสิ่ง” และในอนาคต สมาร์ทคอนแทรคจะช่วยให้การตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกิดขึ้นได้ทุกที่ ขณะเดียวกัน บริการและผลิตภัณฑ์ใหม่จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ครอบคลุม การประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่แบบเรียลไทม์ การดำเนินงานและบำรุงรักษา รวมถึงการจัดการเครือข่ายและมัลติคลาวด์ที่ซับซ้อนมากขึ้น จะกลายเป็นความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมการเงิน กล่าวได้ว่าเรากำลังเผชิญกับโอกาสและความท้าทายในเวลาเดียวกัน”

เพื่อสร้างการเงินที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยอาศัยการเชื่อมต่อที่ดีขึ้น ความชาญฉลาดที่มากขึ้น และสถานการณ์การใช้งานที่เพิ่มขึ้น หัวเว่ยได้ประกาศแนวคิดเชิงกลยุทธ์สามประการสำหรับภาคการเงินในระหว่างการประชุมสุดยอดครั้งนี้

  1. ชาญฉลาดมากขึ้น: โซลูชันการมีส่วนร่วมกับลูกค้าที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้นเพื่อยกระดับประสบการณ์ดิจิทัล แพลตฟอร์มหลอมรวมข้อมูลและระบบอัจฉริยะเพื่อสร้างความสามารถด้านข้อมูลแบบเรียลไทม์ สถาปัตยกรรมมัลติคลาวด์แบบไฮบริดเพื่อการจัดการข้ามคลาวด์ที่ง่ายขึ้นและบริการที่คล่องตัวยิ่งขึ้น
  2. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น: โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแบบอิสระเพื่อช่วยให้สถาบันการเงินบรรลุประสิทธิผล ความพร้อมใช้งาน และประสิทธิภาพการทำงานในระดับสูง ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีหลากหลาย เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน และมัลติคลาวด์แบบไฮบริด
  3. ทำงานร่วมกัน: สร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือระดับโลกและนำเสนอสามแนวคิดที่ผ่านการปรับปรุงแล้วภายใต้โครงการไฟแนนเชียล พาร์ทเนอร์ โก โกลบอล โปรแกรม 2.0 (Financial Partner Go Global Program 2.0 หรือ FPGGP) ได้แก่ การพัฒนาพันธมิตรด้านโซลูชันเพิ่มเติม การขยายโครงการให้ครอบคลุมพันธมิตรด้านการบริการและที่ปรึกษาทั่วโลก รวมถึงการพัฒนาพันธมิตรด้านการขายและการบริการเพื่อให้บริการโซลูชัน FPGGP ในระดับท้องถิ่น

ทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรทั่วโลก สร้างการเงินที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ในระหว่างการประชุมสุดยอดครั้งนี้ หัวเว่ยและดีบีเอส (DBS) ได้ประกาศจัดตั้งศูนย์จัดแสดงนวัตกรรมที่อาคารดีบีเอส นิวตัน กรีน (DBS Newton Green)

นอกจากนี้ หัวเว่ยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับธนาคารโอซีบีซี (OCBC) เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Greater Bay Area) ภายใต้สามโครงการหลัก ได้แก่ โครงการพัฒนาอาคารและสาขาธนาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีไอโอทีอัจฉริยะ (Green Branch and Buildings with Smart IoT) โครงการนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (Data Science and Artificial Intelligence (AI) Innovation) และโครงการขับเคลื่อนการใช้งานคลาวด์ (Cloud Adoption Acceleration)

ขณะเดียวกัน หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชันดิจิทัลแบงก์กิ้ง 2.0 (Digital Banking 2.0) ที่ใช้แพลตฟอร์มแบบเปิดของเทเมนอส (Temenos) โดยโซลูชันนี้รองรับการเปิดให้บริการธนาคารดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และช่วยให้ธนาคารขนาดใหญ่สามารถปรับปรุงระบบคลาวด์ให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเปิดตัวบริการและยกระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างมีนัยสำคัญ

ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า หัวเว่ยจะลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันการเงินหลายแห่ง รวมทั้งเปิดตัวผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่หลากหลายซึ่งพัฒนาขึ้นร่วมกับพันธมิตร โดยครอบคลุมสถานการณ์การใช้งานทางธุรกิจที่แตกต่างกันไป

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1863876/image_1.jpg
คำบรรยายภาพ – คุณเจสัน เชา ซีอีโอของหัวเว่ย โกลบอล ดิจิทัล ไฟแนนซ์

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์