การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ Digital banking ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคน
ไปเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการใช้ Digital banking สูงขึ้นแบบก้าวกระโดด จากรายงาน
การสำรวจ Personal Financial Services 2021 ฉบับล่าสุดของ McKinsey[ McKinsey’s new Personal Financial Services 2021 survey] พบว่า คนไทยที่ใช้บริการ Digital banking
อย่างน้อยเดือนละครั้ง มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 90 ในปี 2564 นอกจากนี้การเติบโตอย่างแข็งแกร่งของเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าธุรกิจบริการทางการเงินแบบดั้งเดิมจะต้องปรับตัวและพลิกโฉมตนเองเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดพร้อมๆกับเพิ่มสามารถในการแข่งขัน
มร. ชาง ฟู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การใช้ Digital banking ของคนไทยในปัจจุบันที่เติบโตขึ้นจากการพัฒนาของ FinTech ต่างๆ ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ผลักดันให้ภาคการเงิน ต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงิน ที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างทั่วถึง ซึ่งแนวโน้มต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นถึงการแข่งขันของธุรกิจในอุตสาหกรรมการเงิน (FSI) ที่จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน”
“สำหรับกลุ่มธุรกิจ FSI ในประเทศไทยโดยเฉพาะธนาคารต่างๆ ได้ผ่านช่วงการทรานส์ฟอร์มครั้งใหญ่มาแล้วก่อนหน้านี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แทบทุกธนาคารมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีกันมากขึ้น มีการจ้างบุคลากรด้านไอทีเพิ่มขึ้น รวมถึงการเร่งพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อนำเสนอบริการที่มอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า ซึ่งสะท้อนถึงความพร้อมในการก้าวสู่ยุคการเงินดิจิทัล หรือ Digital Finance ได้อย่างสมบูรณ์”
แม้ว่าธนาคารจะมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง แต่กลุ่มธุรกิจธนาคารยังคงต้องให้ความสำคัญกับการยกระดับและพัฒนาการให้บริการที่รวดเร็วและทันต่อการเปลี่ยนแปลงให้กับลูกค้า ด้วยเหตุนี้ จึงควรคำนึงถึงการเพิ่มศักยภาพในการให้บริการลูกค้าด้วยระบบ Cloud และ AI ในรูปแบบ SaaS หรือ Solution as a Service ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธนาคารปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มศักยภาพการให้บริการและการดำเนินงานได้คล่องตัวและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มี 3 เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญก่อนเลือกใช้โซลูชัน Cloud รูปแบบ SaaS จากผู้ให้บริการรายต่างๆ มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้
- การรองรับการขยายตัว (Scalability) : ความพร้อมในเรื่อง Network Bandwidth และโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องพร้อมรองรับการขยายตัวเพื่อรับมือกับการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมาก โดยที่ไม่ทำให้เกิดความล่าช้าหรือหยุดชะงักระหว่างการใช้งาน
- ความยืดหยุ่น (Flexibility): มีความเป็นไปได้ว่าในปีต่อๆ ไปจะมีแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด
อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นการมีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ยืดหยุ่น จะช่วยให้การผสานแอปพลิเคชันใหม่ๆ เข้ากับเครือข่ายของธนาคารได้ง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น - ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ (Cybersecurity): ปัจจุบันการโจมตีทางไซเบอร์มีความซับซ้อนและพบได้บ่อยยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ธนาคารควรจะต้องทำงานร่วมกับทีมไอทีและผู้ให้บริการคลาวด์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ระบบรักษาความปลอดภัยทางไอทีของธนาคารอยู่ในสถานะที่ดีที่สุดเท่าที่จะไปได้
นอกจากนี้ ยังควรพิจารณานำแนวคิด ‘Smart BFSI’ ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นการผสานเทคโนโลยี Cloud, AI, Blockchain และเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ มาปรับใช้ร่วมกัน ซึ่งโซลูชันเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ตลอดจนการตอบโจทย์พฤติกรรม แนวโน้ม และความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากระบบเพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาหรือแก้ไขสถานการณ์ไม่คาดคิดได้ทันท่วงที
เสริมแกร่งการให้บริการ รับเทรนด์ Digital Finance ด้วยบริการโซลูชัน Cloud พร้อมใช้จากเทนเซ็นต์ คลาวด์
“เทนเซ็นต์ คลาวด์ กลุ่มธุรกิจคลาวด์ ภายใต้เทนเซ็นต์ ผู้ให้บริการคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และยืดหยุ่น พร้อมให้ การสนับสนุนธนาคารและกลุ่มธุรกิจ FSI ในการปรับตัว เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงตอบรับกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมผ่าน การนำเสนอโซลูชัน Cloud พร้อมใช้รูปแบบ SaaS กว่า 300 รายการ รวมถึงบริการแพลตฟอร์ม Blockchain ซึ่งเทคโนโลยี Blockchain เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรม FSI เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบได้โดยละเอียดและมีความปลอดภัยสูง ซึ่งเทนเซ็นต์ คลาวด์ มี Tencent Blockchain as a Service หรือ TBaaS เป็น แพลตฟอร์ม Blockchain ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจของกลุ่ม FSI ในหลากหลายด้าน อาทิ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Banking) การตั้งธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบ (Digital Bank) ไปจนถึงการตั้ง Private Cloud การทำ Big data analytic และ Chatbot เป็นต้น
จากการผสานความเชี่ยวชาญและความเข้าใจเชิงลึก เข้ากับความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานจากพื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุม 70 พื้นที่ใน 26 ภูมิภาคทั่วโลก และการมี Data Center ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยถึง 2 แห่ง สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธนาคารและสถาบันการเงินของไทย ให้มีความพร้อมในการปรับตัวรับมือกับทุกสถานการณ์และยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินให้กับผู้ใช้บริการได้อย่างตรงจุด เตรียมพร้อมรับการเติบโตและก้าวสู่ยุค Digital Finance เต็มรูปแบบ” มร. ชาง กล่าวสรุป
ที่มา: เวิรฟ พับบลิค รีเลชั่นส์ คอนซัลแตนท์ซี