การประชุม Asia-Pacific Digital Innovation Congress 2022 เปิดฉากขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยหัวเว่ย จับมือมูลนิธิอาเซียน ทำงานร่วมกับลูกค้า ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักวิเคราะห์เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์และทิศทางในอนาคตสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัตกรรมอุตสาหกรรม โดยมี แจ็กเกอลีน ซือ ประธานฝ่ายการตลาดและการขายระหว่างประเทศของหัวเว่ย คลาวด์ กล่าวปาฐกถาพิเศษระหว่างฟอรัมการประชุมหัวข้อ ‘บริการคลาวด์’
ไอดีซี (IDC – International Data Corporation) คาดการณ์มูลค่าตลาดคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ทั่วโลกไว้ถึง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าตลาดในประเทศจีนจะสูงกว่า 1 ล้านล้านหยวน ตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งกำลังมุ่งสู่ระยะที่สองของนวัตกรรมและการพัฒนาระบบ โดยมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรม ไอที และอาจครองตำแหน่งผู้นำในอนาคต ระบบคลาวด์เป็นรากฐานสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบขององค์กร นวัตกรรมธุรกิจและผลลัพธ์ทางธุรกิจขององค์กรก็ขึ้นอยู่กับการพัฒนาที่รวดเร็วและการนำเทคโนโลยีและการบริการอันทันสมัยมาใช้ทุกที่ทุกเวลา
องค์กรต่าง ๆ เริ่มใช้ระบบดิจิทัลและหันมาใช้ระบบคลาวด์อย่างรวดเร็วหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็น แรงขับเคลื่อนสำคัญให้องค์กรเข้าสู่ระบบคลาวดิฟิเคชั่นภายใน 1-3 ปี ช่วยผลักดันการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับที่สูงขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังผลักดันความต้องการที่สูงขึ้นด้านออฟฟิศออนไลน์ ทรัพยากรไอทีที่ยืดหยุ่น การจัดการไซโลข้อมูล การลดต้นทุนและการปรับปรุงประสิทธิภาพองค์กร ระบบคลาวดิฟิเคชั่นและการทำงานร่วมกันผ่านช่องทางออนไลน์จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อองค์กรหันมาใช้ระบบคลาวด์เพิ่มขึ้น ก็ส่งผลให้บุคลากรพัฒนามุมมองเกี่ยวกับคลาวด์และสร้างความคุ้นเคยในการใช้ระบบคลาวด์
เพื่อตอบสนองเทรนด์ดังกล่าว หัวเว่ย คลาวด์เปิดตัวกลยุทธ์ ‘มุ่งสู่ยุคดิจิทัลด้วยนวัตกรรมบริการรอบด้าน’ หรือ ‘Dive into digital with Everything as a Service’ ในปีพ.ศ. 2564 ซึ่ง ‘Everything’ รวมถึงวิสัยทัศน์และความเข้าใจในอุตสาหกรรมของหัวเว่ย เมื่อพูดถึงบริการคลาวด์ในอดีต คนส่วนใหญ่จะรู้จัก IaaS, PaaS และ SaaS ผ่านมุมมองของ ผู้ให้บริการเทคโนโลยี แต่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ได้ต้องการแค่เทคโนโลยีและทรัพยากรเท่านั้น แต่ยังต้องการประสบการณ์การใช้งาน บริการ แนวคิดและทุกอย่างที่สามารถแบ่งปันได้
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้รับความไว้วางใจอย่างมากจากลูกค้าและคู่ค้าในกลุ่มตลาดผู้ให้บริการและลูกค้าองค์กร ด้วยหลักการ ‘การบริการดี ด้วยคุณภาพดี และตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว พร้อมนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า และความร่วมมือกับพันธมิตรในอีโคซิสเต็มด้วยสถานการณ์ win-win’ หัวเว่ย คลาวด์ยึดถือค่านิยมและกลยุทธ์ทางธุรกิจแบบเดียวกัน ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการให้บริการคลาวด์ที่น่าเชื่อถือด้วยเทคโนโลยีทันสมัยในพันธกิจ ‘ในเอเชียแปซิฟิก เพื่อเอเชียแปซิฟิก’ หรือ ‘in Asia-Pacific, for Asia-Pacific’
ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ นายเจิง ซิงหยุน ประธานหัวเว่ย คลาวด์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เผยการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจหัวเว่ย คลาวด์ ในปีพ.ศ. 2564 และความได้เปรียบในด้านบริการที่สอดคล้องกับตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
นายเจิงชี้ให้เห็นว่า “เราใช้ 6 กลยุทธ์สำคัญของหัวเว่ย คลาวด์ในเอเชียแปซิฟิก ในแง่กลยุทธ์ด้านอุตสาหกรรม เรามุ่งเน้นที่ ‘บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service), บริการเทคโนโลยี (Technology as a Service) เพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจที่ win-win กับคู่ค้าในอีโคซิสเต็ม (win-win with ecosystem partners)’ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของหัวเว่ย คลาวด์อย่างต่อเนื่อง ในแง่กลยุทธ์การตลาด เราเน้นการ ‘มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล, เพิ่มความเร็วคลาวด์เนทีฟ (could native) และสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ รวมถึงการสร้างบริการสำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจที่เหนือระดับ’ เพื่อสร้างคุณค่าให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง”
นางเมิ่ง หว่านโจว ประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวในการแถลงรายงานประจำปีพ.ศ. 2564 ของหัวเว่ยว่า “รายได้จากหัวเว่ย คลาวด์ในปีพ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นกว่า 30% เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2563 นอกจากนี้หัวเว่ย คลาวด์ยังครองอันดับสองของผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service – IaaS) ในประเทศจีนและครองอันดับห้าของโลก ในปีพ.ศ. 2564 เราได้ประกาศกลยุทธ์ ‘นวัตกรรมบริการรอบด้าน’ สำหรับหัวเว่ย คลาวด์ และมุ่งดำเนินการตาม กลยุทธ์ดังกล่าวในปี พ.ศ. 2565 ด้วยการเปิดศูนย์ข้อมูลและบริการเร่งความเร็วเครือข่ายทั่วโลก เพื่อมอบประสบการณ์ที่เหนือชั้นให้ลูกค้าของเรา” นายกัว ผิง อดีตประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบันหัวเว่ย คลาวด์ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”
หัวเว่ย คลาวด์ดำเนินธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 หลังจากพัฒนามาเป็นเวลาสี่ปี หัวเว่ย คลาวด์ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในประเทศจีน อันดับ 3 ในประเทศไทยและอันดับ 4 ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และยังเป็นบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในกลุ่มผู้นำด้านบริการคลาวด์ 5 แห่งในภูมิภาค หัวเว่ย คลาวด์ (HUAWEI CLOUD Region) เปิดตัวในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) สิงคโปร์ ประเทศไทยและมาเลเซีย และในปีนี้มีแผนเปิดตัวในประเทศอินโดนีเซียพร้อมจุดเชื่อมต่อที่สามารถต่อยอดการใช้งานในฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อีกด้วย
ตามการคาดการณ์ ลูกค้าหลักของหัวเว่ย คลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้น 156% และจำนวนพันธมิตรในอีโคซิสเต็มจะเพิ่มขึ้นถึง 90% ในปีพ.ศ. 2564 และที่น่าตื่นเต้นกว่านั้นคือรายได้ของพันธมิตรจะเพิ่มขึ้นถึง 150% ซึ่งสูงกว่ารายได้ของหัวเว่ย คลาวด์
ในปีพ.ศ. 2565 หัวเว่ยวางแผนเปิดตัวบริการใหม่ อาทิ บริการเร่งความเร็วเครือข่ายทั่วโลก (GA), บริการเสียงและวิดีโอแบบเรียลไทม์ (SparkRTC), สายการผลิตด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ (DevCloud) และฐานข้อมูลแบบ GaussDB (สำหรับ openGauss) ในตลาดเอเชียแปซิฟิกเพื่อปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของโซลูชันคลาวด์ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันหัวเว่ย คลาวด์เปิดใช้ Availability Zone (AZ) กว่า 11 โซน ให้พร้อมใช้งานในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ประเทศไทยและสิงคโปร์ เพื่อให้บริการคลาวด์ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้สำหรับผู้ใช้ในเอเชียแปซิฟิก พร้อมจัดตั้งทีมบริการในพื้นที่มากกว่า 10 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
หัวเว่ย คลาวด์ เป็นผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะบนเมนสตรีมที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นพันธมิตรในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลสำหรับองค์กรหลายพันแห่ง นับตั้งแต่การเปิดตัวโปรแกรม Spark (Spark Program) หัวเว่ย คลาวด์กลายเป็นผู้นำอีโคซิสเต็มสตาร์ตอัพระดับภูมิภาคอย่างรวดเร็ว หัวเว่ย คลาวด์วางแผนลงทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐในโครงการนี้ตลอด 3 ปีข้างหน้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศ สตาร์ทอัพระดับภูมิภาคต่อไป
ที่มา: คาร์ลบายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์