- ความต้องการในการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลมากขึ้น และความกดดันที่สูงขึ้นจากผู้มีส่วนร่วมในธุรกิจ ผลักดันให้เกิดความต้องการให้มีรายงานเกี่ยวกับผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมที่มีมาตรฐานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์
- กรอบการทำงานของชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอ ผลกระทบใน 5 ประเด็นที่ตอบโจทย์ด้วยตัวชี้วัดสำคัญ 23 ประการในประเภทต่างๆ แบ่งเป็นระดับเริ่มต้น ระดับขั้นสูง และระดับแถวหน้า
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นด้านการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น และเป็นองค์กรที่มีความยั่งยืนที่สุดของโลกประจำปี 2021 จัดอันดับโดย Corporate Knights โดยวันนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ออกเฟรมเวิร์ก หรือกรอบการทำงานใหม่ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้ความยั่งยืนด้านสภาพแวดล้อม โดยเฟรมเวิร์กนี้ นับเป็นกรอบการทำงานแรกของอุตสาหกรรมที่นำเสนอผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมใน 5 ประเด็นด้วยกัน รวมถึงตัวชี้วัดสำคัญสำหรับผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำลังก้าวสู่เส้นทางเพื่อสร้างความยั่งยืนในขั้นตอนที่แตกต่างกันไป ผู้ประกอบการที่นำเฟรมเวิร์กดังกล่าวมาใช้ สามารถลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากดาต้าเซ็นเตอร์ได้
ดาต้าเซ็นเตอร์ คือโครงสร้างหลักของโลกดิจิทัลในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่โลกถึง 2 เปอร์เซ็นต์ เทียบเท่าอุตสาหกรรมการบิน และเพื่อต่อกรกับความต้องการแบนด์วิดธ์ดิจิทัลที่สูงขึ้น รวมถึงความต้องการไฟฟ้าในภาคไอทีที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมต้องนำแนวทางที่เป็นองค์รวมและได้มาตรฐานมาใช้ในการสร้างความยั่งยืนให้กับสภาพแวดล้อม
ปานกาจ ชาร์มา รองประธานบริหาร ฝ่าย Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว “การออกรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านสภาพแวดล้อม เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์หลายรายกำลังมุ่งเน้นมากขึ้น แต่อุตสาหกรรมยังขาดแนวทางที่ได้มาตรฐานในการติดตั้ง วัดผล และออกรายงานเกี่ยวกับผลกระทบด้านสภาพแวดล้อม ดังนั้น ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงได้พัฒนากรอบการทำงานในองค์รวมพร้อมตัวชี้วัดที่ได้มาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมในวงกว้าง เจตนารมย์ที่เรามุ่งหมายสำหรับกรอบการทำงานนี้ก็คือการปรับปรุงเกณฑ์การเปรียบเทียบให้ดียิ่งขึ้นและสร้างความก้าวหน้าไปสู่ความยั่งยืนด้านสภาพแวดล้อมเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติสำหรับคนรุ่นต่อไป”
“อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ มีความก้าวหน้าอย่างมากในการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน อย่างไรก็ตาม เมื่อความต้องการด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้น ดาต้าเซ็นเตอร์จึงยังคงต้องมุ่งเน้นผลักดันความริเริ่มด้านความยั่งยืนไปสู่วงกว้างมากขึ้นในระยะยาว” ร็อบ บราเธอร์ส รองประธานโครงการ ในส่วนดาต้าเซ็นเตอร์ และโปรแกรมด้านบริการสนับสนุน ไอดีซี กล่าว “คุณจะไม่สามารถสร้างผลกระทบจากสิ่งที่คุณไม่ได้มีการวัดผล ดังนั้นบริษัทต่างๆ ต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ต้องรวมเรื่องการบริโภค (หรือการทำลายที่สามารถเกิดขึ้นได้) ของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำ ดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ”
ความกดดันที่ก่อตัวเพิ่มขึ้นจากทั้งนักลงทุน ผู้กำกับดูแล ผู้มีส่วนร่วม ลูกค้าและพนักงาน ยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนความต้องการในการปรับปรุงการออกรายงานเกี่ยวกับผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินการดาต้าเซ็นเตอร์ให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์หลายรายยังขาดความเชี่ยวชาญเรื่องความยั่งยืนและต้องเผชิญกับงานที่ยากลำบากในการกำหนดว่าจะใช้ตัวชี้วัดใดในการติดตามรวมถึงกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ ทั้งนี้กรอบการทำงานของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ถูกพัฒนาจากศูนย์วิจัยด้านการบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management Research Center) ที่อาศัยความเชี่ยวชาญของผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG รวมถึงที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน นักวิทยาศาสตร์ดาต้าเซ็นเตอร์ และสถาปนิกด้านโซลูชันดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อทำการคาดการณ์ในภาพกว้างๆ เกี่ยวกับการวัดผลและการออกรายงาน ซึ่งศูนย์วิจัยด้านการบริหารจัดการพลังงานก่อตั้งขึ้นในปี 2002 และได้มีการจัดทำ whitepapers ที่เป็นกลางสำหรับผู้จำหน่ายกว่า 200 ฉบับ พร้อมเครื่องมือแลกเปลี่ยนเพื่อการใช้งานฟรีสำหรับอุตสาหกรรม
ตัวชี้วัดความยั่งยืนของดาต้าเซ็นเตอร์ที่ขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน
การติดตามและออกรายงานเกี่ยวกับตัวชี้วัดความยั่งยืนที่ได้มาตรฐาน ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุงทีมงานภายในองค์กรได้อย่างสอดคล้อง และเพิ่มความโปร่งใสสำหรับผู้มีส่วนร่วมในธุรกิจจากนอกองค์กร รวมถึงลูกค้า และผู้กำกับดูแล ซึ่งการนำกรอบการทำงานมาใช้ยังช่วยผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ในประเด็นต่อไปนี้
- ขจัดความยากในการเลือกตัวชี้วัดที่สร้างผลกระทบในการติดตามได้
- ปรับปรุงการสื่อสารและความสอดคล้องในจุดมุ่งหมายเรื่องความยั่งยืนระหว่างทีมงานภายในองค์กร
- นำข้อมูลมาใช้ปรับปรุงการดำเนินงาน
- ช่วยให้สามารถออกรายงานได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ สำหรับผู้มีส่วนร่วมจากนอกองค์กร (นักลงทุน ผู้กำกับดูแล พนักงานที่มีศักยภาพ และ ฯลฯ
- สร้างเกณฑ์การเปรียบเทียบที่ได้มาตรฐานทั่วอุตสาหกรรมและในทั่วโลก
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค(Schneider Electric) ทำงานร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำมากมาย รวมถึงผู้ให้บริการโคโลเคชั่นในการออกแบบ สร้าง ดำเนินการ และดูแลโรงงาน มีเพียงพันธมิตรด้านดิจิทัลเท่านั้นที่นำเสนอโซลูชันสำหรับแง่มุมที่เกี่ยวกับพลังงาน อาคาร ไอที และความยั่งยืนสำหรับธุรกิจ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกรอบการทำงาน พร้อมสร้างศักยภาพในการเติบโตขององค์กรคุณได้อย่างยั่งยืน ดาวน์โหลด Guide to Sustainability Metrics for Data Centers ได้แล้ววันนี้
ที่มา: เอพีพีอาร์ มีเดีย