“อีสต์ เวนเจอร์ส” ขึ้นแท่นบริษัทร่วมลงทุนรายแรกของอินโดนีเซีย ที่ลงนามในหลักปฏิบัติสำหรับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบของสหประชาชาติ

อีสต์ เวนเจอร์ส (East Ventures) บริษัทผู้บุกเบิกการร่วมลงทุนแบบไม่เจาะจงอุตสาหกรรมในอินโดนีเซีย ได้กลายเป็นคู่สัญญาในหลักปฏิบัติสำหรับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบของสหประชาชาติ (UN PRI) อย่างเป็นทางการ โดยเป็นส่วนหนึ่งในความมุ่งมั่นเพื่อสร้างการลงทุนที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืน รวมถึงการตัดสินใจในการเป็นเจ้าของ อีสต์ เวนเจอร์ส ได้กลายเป็นบริษัทร่วมลงทุนรายแรกของอินโดนีเซียที่ลงนามในหลักปฏิบัติดังกล่าว ซึ่งเสริมสร้างความเชื่อมั่นไปอีกขั้นว่า การปฏิบัติตามแนวทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) จะเป็นหลักการที่มีความยั่งยืนเป็นตัวนำสำหรับผู้มีส่วนร่วมทุกคน อีสต์ เวนเจอร์ส มีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำเพื่อแสวงหาและสนับสนุนความริเริ่มที่เกี่ยวข้อง เพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ยั่งยืนกว่าเดิม

คุณอวีนา ซูกีอาร์โต ( Avina Sugiarto) หุ้นส่วนร่วมลงทุนของอีสต์ เวนเจอร์ส กล่าวว่า “อีสต์ เวนเจอร์ส เชื่อว่าความยั่งยืนจะเป็นที่สนใจและจะยังคงเป็นที่สนใจในทุกสิ่งที่เราทำ และเราได้มีการผนวกรวมหลักการ ESG ไว้ในแนวปฏิบัติของเรา เราหวังว่า การลงนามในหลักการ UN PRI จะทำให้เรายกระดับความมุ่งมั่นของเราขึ้นไปอีกขั้นได้ เพื่อบรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมอบผลบวกที่มากกว่าเดิมแก่สังคม”

PRI เป็นหลักการสนับสนุนการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบที่มีอิทธิพลอันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งมีสหประชาชาติเป็นผู้สนับสนุน โดยอีสต์ เวนเจอร์ส ลงนามในหลักการ UN PRI เพื่อเดินหน้าปฏิบัติตามความตั้งใจของคู่สัญญาทั้งหลาย ในการพัฒนาระบบการเงินระดับโลกที่ยั่งยืนกว่าเดิม พร้อมนำหลักการว่าด้วยการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบทั้ง 6 ข้อมาใช้ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ครอบคลุมกว่าของสังคม

หลักการว่าด้วยการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบทั้ง 6 ข้อที่ว่านี้ประกอบด้วย (1) นำประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มาประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน (2) ใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นอย่างจริงจัง และนำประเด็นด้าน ESG เป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดนโยบายและหลักปฏิบัติการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น (3) สนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ ที่เราลงทุนเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG (4) ส่งเสริมหลักการให้เกิดการยอมรับและการปฏิบัติในอุตสาหกรรมการลงทุน (5) ให้ความร่วมมือในการนำหลักปฏิบัติการลงทุนที่มีความรับผิดชอบมาใช้ปฏิบัติ และ (6) รายงานข้อมูลข่าวสารความคืบหน้าในการดำเนินงานตามหลักปฏิบัติการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ

อีสต์ เวนเจอร์ส จะยังคงเดินหน้านำหลักการเหล่านี้มาประกอบการดำเนินงานในแต่ละวันต่อไปและนำมาใช้ทั่วทั้งอีโคซิสเต็มของบริษัท อีสต์ เวนเจอร์ส ได้ลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีส่วนส่งเสริมความยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าหลายราย ไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ซอุตสาหกรรมประมงอย่างอารูนา (Aruna) สตาร์ทอัพพลังงานแสงอาทิตย์อย่างซูร์ยา (Xurya) ธุรกิจจัดการของเสียอย่างเวสต์ ฟอร์ เชนจ์ (Waste 4 Change) ไปจนถึงสตาร์ทอัพที่ส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดี เช่น สตาร์ทอัพสายไบโอเทคอย่างนาลาเจเนติกส์ (Nalagenetics) และนูซานติกส์ (Nusantics) สตาร์ทอัพสายสุขภาพจิตอย่างมายด์เทรา (Mindtera) และรีลิฟ (Riliv) สตาร์ทอัพด้านการดูแลผู้สูงอายุอย่างโฮเมจ (Homage) ตลอดจนสตาร์ทอัพส่งเสริมการศึกษาคุณภาพสูงอย่างรวงกูรู (Ruangguru) ที-แล็บส์ (T-labs) จีนีบุ๊ก (Geniebook) ในสายเทคโนโลยีการศึกษา และสตาร์ทอัพด้านการลดขยะอาหารอย่างทรีดอทส์ (Treedots) ในสายโซเชียลคอมเมิร์ซ และอื่น ๆ อีกมากมาย

ผลลัพธ์ทางสังคมอันเป็นผลจากอีโคซิสเต็มนี้ ยังสอดรับกับประเด็นสำคัญในวาระการเป็นประธานกลุ่ม G20 ของอินโดนีเซียด้วย ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมสุขภาพระดับโลก การยกระดับสู่ดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ทางบริษัทยังได้จัดและสนับสนุนอีเวนต์ต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงเป้าหมายเดียวกันนี้ เช่น การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวีเมน วิธ อิมแพค ฟอรัม (Women with Impact Forum) เป็นประจำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในพันธสัญญาเพื่อบูรณาการมิติหญิงชาย (gender mainstreaming)

คุณอวีนา กล่าวสรุปว่า “เราจะยังคงนำหลักการเหล่านี้มาปฏิบัติใช้ต่อไป และทำให้แน่ใจว่าการนำไปปฏิบัตินี้จะสะท้อนให้เห็นได้ในอีโคซิสเต็มของเรา ในการสร้างพลังบวกมากขึ้นให้สังคม”

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการ UN PRI ได้ที่ https://www.unpri.org/

เกี่ยวกับอีสต์ เวนเจอร์ส

อีสต์ เวนเจอร์ส (East Ventures) เป็นบริษัทร่วมลงทุนชั้นนำที่บุกเบิกและไม่เจาะจงอุตสาหกรรมในอินโดนีเซีย อีสต์ เวนเจอร์ส ก่อตั้งขึ้นในปี 2552 โดยได้พลิกโฉมเป็นแพลตฟอร์มแบบองค์รวมที่ให้การลงทุนในหลายระยะ รวมถึงในระยะ Seed และ Growth แก่บริษัทกว่า 200 รายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อีสต์ เวนเจอร์ส เชื่อมั่นในระบบนิเวศสตาร์ทอัพในอินโดนีเซียตั้งแต่แรกเริ่ม โดยเป็นนักลงทุนรายแรกของบริษัทยูนิคอร์นของอินโดนีเซีย ได้แก่ โทโกพีเดีย (Tokopedia) และทราเวลโลก้า (Traveloka) สำหรับบริษัทที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ที่อีสต์ เวนเจอร์ส ได้ร่วมลงทุนด้วยนั้นมีทั้งรวงกูรู (Ruangguru), วารุง พินตาร์ (Warung Pintar) (ถูกเซอร์คโลซื้อกิจการ), คูโด้ (Kudo) (ถูกแกร็บซื้อกิจการ), โลเค็ต (Loket) (ถูกโกเจ็กเข้าซื้อกิจการ), เทค อิน เอเชีย (Tech in Asia), เซ็นดิต (Xendit), ไอดีเอ็น มีเดีย (IDN Media), โมกาพีโอเอส (MokaPOS) (ถูกโกเจ็กเข้าซื้อกิจการ), ช็อปแบ็ก (ShopBack), โคอินเวิร์กส์ (KoinWorks), แวร์ซิกซ์ (Waresix) และโซซิโอลลา (Sociolla)

อีสต์ เวนเจอร์ส ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกองทุนร่วมลงทุนที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นที่สุดในโลกโดยพรีกิน (Preqin) ขณะที่สื่อหลายรายก็ยกให้เป็นนักลงทุนที่มีความกระตือรือร้นมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินโดนีเซีย

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1765495/East_Ventures.jpg

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์