ในระหว่างมหกรรมโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี 2565 (MWC Barcelona 2022) กัว ผิง (Guo Ping) ประธานเวียนตามวาระของหัวเว่ย (Huawei) ได้กล่าวถึงแผนของบริษัท ในการสานต่อกลยุทธ์ด้านโลกาภิวัตน์ และเพิ่มการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในเทคโนโลยีพื้นฐาน ซึ่งด้วยการลงทุนนี้ หัวเว่ยหวังที่จะพลิกโฉมทฤษฎีพื้นฐาน สถาปัตยกรรม และซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมของตน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันระยะกลางถึงระยะยาว และรองรับความยั่งยืนในระยะยาวของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ในการปราศรัยออนไลน์ในหัวข้อ “แค่มองขึ้นไป มาจุดไฟให้อนาคตกัน (Just Look Up, Let’s Light Up the Future)” คุณกัวได้เน้นถึงที่มาสองแห่งของความท้าทายและโอกาสในโลก ซึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
ทฤษฎีและสถาปัตยกรรมที่มีอยู่ ไม่สามารถสนับสนุนการเติบโตที่รวดเร็วของความต้องการดิจิทัล
การคาดการณ์แสดงให้เห็นว่ากว่า 50% ของจีดีพี (GDP) ทั่วโลก จะถูกแปลงเป็นดิจิทัลในปี 2565 ในขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลกพัฒนาอย่างรวดเร็ว ความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลก็สูงเกินความคาดหมาย คุณกัวอธิบายว่า ในช่วงที่ทฤษฎีบทของแชนนอน (Shannon’s theorem) และสถาปัตยกรรมฟอนนอยมันน์ (von Neumann architecture) กำลังเผชิญภาวะคอขวดอย่างรุนแรงนี้ อุตสาหกรรมต้องสำรวจทฤษฎีและสถาปัตยกรรมใหม่ ๆ เพื่อปรับรูปแบบกระบวนทัศน์ทางเทคโนโลยีให้เกิดความยั่งยืนทางดิจิทัล
การลดการปล่อยคาร์บอน ส่งผลกระทบต่อพลังในระยะยาวของเศรษฐกิจดิจิทัล
ในเรื่องการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ คุณกัว กล่าวว่า “ความหนาแน่นของการเชื่อมต่อและพลังการประมวลผล เป็นตัวกำหนดความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจดิจิทัล แต่ก็ควรรักษากำลังในระยะยาวด้วย ดังนั้นเราจึงต้องพิจารณามิติใหม่ นั่นคือการลดคาร์บอน”
ปัจจุบันหัวเว่ยยึดมั่นในกลยุทธ์ “บิตมากขึ้น วัตต์น้อยลง (More Bits, Less Watts)” นอกเหนือจากการปรับปรุงความสามารถด้านดิจิทัลขั้นพื้นฐานแล้ว หัวเว่ยยังมุ่งมั่นที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2.7 เท่า โดยทำให้เกิดความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ เช่น ทฤษฎี วัสดุ และอัลกอริทึม และด้วยความก้าวหน้านี้ อุตสาหกรรมไอซีที ก็สามารถช่วยให้อุตสาหกรรมอื่น ๆ ลดการปล่อยคาร์บอนของตนลงได้ ซึ่งที่จริง การลดลงนี้จะมากกว่าการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมไอซีทีถึง 10 เท่า
- หัวเว่ยกำลังเพิ่มการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในเทคโนโลยีพื้นฐาน เพื่อปรับกระบวนทัศน์ทางเทคโนโลยีใหม่
คุณกัวยังกล่าวอีกว่า หัวเว่ยกำลังเพิ่มการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในเทคโนโลยีพื้นฐานอย่างมาก และทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางเทคโนโลยีในสามด้าน คือ ทฤษฎีพื้นฐาน สถาปัตยกรรม และซอฟต์แวร์ ซึ่งการลงทุนนี้จะค่อย ๆ สะท้อนให้เห็นความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ของบริษัท และหวังว่าจะสนับสนุนการพัฒนาในระยะยาวและยั่งยืนของทั้งบริษัท และอุตสาหกรรมไอซีทีในภาพรวม
การลงทุนนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การช่วยให้บริษัทเข้าใกล้และอาจเกินขีดจำกัดของแชนนอน (Shannon’s Limit) อีกด้วย โดยการสำรวจทฤษฎีและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น MIMO เจนใหม่ และปัญญาประดิษฐ์ไร้สาย (wireless AI) ทำให้หัวเว่ยสามารถผลักดันเทคโนโลยีของตนให้เข้าใกล้ขีดจำกัดของแชนนอนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การวิจัยของหัวเว่ยในทฤษฎีใหม่ ๆ เช่น การสื่อสารเชิงความหมาย (semantic communications) ก็จะให้คำแนะนำแก่อุตสาหกรรมเกี่ยวกับทฤษฎีพื้นฐานใหม่ ๆ
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังพัฒนาสถาปัตยกรรมใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้นอีกด้วย โดยปัจจุบัน หัวเว่ยกำลังผสานรวมเทคโนโลยีโฟโตนิกและอิเล็กทรอนิกส์ และออกแบบสถาปัตยกรรมแบบเพียร์ทูเพียร์ (peer-to-peer) เพื่อแก้ปัญหาความท้าทายทางเทคโนโลยี หรือภาวะคอขวดทางเทคนิค
ในแง่ซอฟต์แวร์ หัวเว่ยกำลังสร้างซอฟต์แวร์ฟูลสแตคที่มีปัญญาประดิษฐ์เป็นศูนย์กลาง และระบบนิเวศซอฟต์แวร์ใหม่ เพื่อตอบสนองความสามารถในการประมวลผลที่เป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมาก ที่เกิดจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์
- “การทำงานร่วมกันระหว่างซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์” จะเป็นหนทางข้างหน้า
คุณกัวอธิบายว่า ประสบการณ์อันยอดเยี่ยมของผู้ใช้ มาจากการทำงานร่วมกันระหว่างซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์ เขาใช้สองตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นว่า หัวเว่ยได้นำแนวคิดนี้ไปใช้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอซีทีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อวิวัฒนาการเครือข่ายอย่างไร ตัวอย่างแรก คือ อัลกอริทึมที่ปรับให้เหมาะสำหรับเอเอชอาร์ เทอร์โบ (AHR Turbos) ช่วยให้เมตาเอเอยู (MetaAAU) ใช้พลังงานน้อยลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างที่สอง คือ ความก้าวหน้าของอัลกอริทึมในเลนส์โฮโลแกรม ที่ทำให้โอเอ็กซ์ซี (OXC) เชื่อมต่อแบบวัน-ฮ็อพ (one-hop) ได้
- หัวเว่ยเป็นบริษัทที่มีความสามารถด้านไอซีทีสมบูรณ์ที่สุดในอุตสาหกรรมดิจิทัล
ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการของเครือข่ายเป็นกระบวนการในการแนะนำแนวทางปฏิบัติด้านไอทีล่าสุดไปยังซีที (CT) ตั้งแต่ไอพี (IP) ไปจนถึงระบบคลาวด์ ไปจนถึงปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบัน ในฐานะบริษัทที่มีความสามารถด้านไอซีทีสมบูรณ์ที่สุดในอุตสาหกรรมดิจิทัล คุณกัวกล่าวว่า หัวเว่ยมั่นใจว่าจะสามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาเครือข่ายที่อยู่บนพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์ (AI-native) ได้ในอนาคต
คุณกัว กล่าวปิดสุนทรพจน์ว่า “หัวเว่ยจะยังคงดำเนินกลยุทธ์ด้านโลกาภิวัตน์ ในมาตรฐาน ความสามารถ ซัพพลายเชน และอื่น ๆ โดยหัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะช่วยลูกค้าที่เลือกหัวเว่ยบรรลุความสำเร็จทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด”
มหกรรมโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี 2565 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน โดยหัวเว่ยได้ร่วมนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่าง ๆ ที่บูธ 1H50 ในฟีรา กรัน เวีย ฮอลล์ 1 (Fira Gran Via Hall 1) ทั้งนี้ ด้วยการร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่าย ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิดจากทั่วโลก เราได้เจาะลึกประเด็นต่าง ๆ เช่น แนวโน้มของอุตสาหกรรม แบบจำลอง GUIDE เพื่อนำทางสู่อนาคต และการพัฒนาสีเขียว เพื่อวาดภาพเครือข่ายดิจิทัลแห่งอนาคต สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://carrier.huawei.com/en/events/mwc2022
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1756880/BEN_Just_look_up_en.jpg
คำบรรยายภาพ – คุณกัว ผิง ประธานเวียนของหัวเว่ย