หัวเว่ย มุ่งยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมการศึกษาไทยด้วยนวัตกรรมดิจิทัล การเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลคือกุญแจสำคัญของการส่งเสริมอุตสาหกรรมการศึกษาไทย

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การศึกษาได้รับการออกแบบให้มีความเฉพาะตัวและมีรูปแบบที่ผสมผสานกันมากขึ้น ด้วยโมเดลด้านดิจิทัลใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการวิจัย และสำนักงานธุรการ ความอัจฉริยะและระบบคลาวด์มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยได้รับการสนับสนุนจากนวัตกรรมใหม่ๆ จากฝั่งข้อมูลไอซีทีที่กำลังเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมการศึกษา โดยข้อมูลจากผลสำรวจการใช้ชีวิตดิจิทัลในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2563 และปี พ.ศ. 2564 พบว่าการใช้งานอีคอมเมิร์ซของคนไทยเพิ่มขึ้นจาก 37% เป็น 76% และอัตราส่วนของผู้ที่ทำงานทางไกลเพิ่มขึ้นจาก 17% เป็น 30% ในขณะเดียวกัน บริษัทไทยต่างก็ยอมรับระบบคลาวด์เพิ่มขึ้นจาก 26% เป็น 70% และคาดว่าภายในปี พ.ศ. 2573 จีดีพีรวมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยจะมีสัดส่วนมากถึง 30%

บทบาทด้านดิจิทัลของการศึกษามีรับความสำคัญมากยิ่งขึ้นในช่วงการเกิดโรคระบาดโควิด-19 อย่างกระทันหัน ตลอดช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมามีนักเรียนประมาณกว่า 1,500 ล้านคนไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยของตนเองได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งคิดเป็น 90% ของนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัยทั่วโลก ความจำเป็นเร่งด่วนในการเข้าถึงด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียมและมีคุณภาพจึงกลายเป็นปัญหาระดับโลกในขณะนี้

เนื่องจากประเทศไทยได้มุ่งหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งอาเซียน ช่วงเวลาแห่งความท้าทายในตอนนี้จึงกลายเป็นดั่งช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านของประเทศ ดังที่ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวเน้นย้ำในงาน Huawei CLOUD & CONNECT 2022 (HCC) ว่า “ทุกวันนี้โลกจริงและโลกไซเบอร์ถูกหลอมรวมเข้าด้วยกัน เราต้องทำงานร่วมกับหัวเว่ยและพันธมิตรต่างๆ ในการผนวกโลกดิจิทัลเข้ากับทุกแง่มุมความรู้เพื่อตอบโจทย์ทั้งกลุ่มอาจารย์และนักศึกษา เพื่อให้เราสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจเลี่ยงได้”

ดร. กมล เกียรติเรืองกมลา รองอธิบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เน้นย้ำถึงประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติมในงาน HCC ว่า “โควิดได้เร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลง หากเรายังคิดแบบเดิม อีก 10 ปี เราอาจจะไม่สามารถรักษามหาวิทยาลัยของเราไว้ได้ เราจึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมจากบริษัทชั้นนำอย่างหัวเว่ย เพื่อทลายขนบเดิมๆ ของเรา”

ความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมการศึกษาของประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคดิจิทัล

การศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น และการลงทุนด้านไอซีทีก็เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ในฐานะพันธมิตรด้านไอซีทีที่มีความมุ่งมั่น และเป็นผู้สนับสนุนคุณค่าทางสังคม หัวเว่ยจึงได้เปิดตัวโครงการ “Seeds for Future” ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 ความพยายามและการสร้างความร่วมมือมากว่า 13 ปี ทำให้มีจำนวนนักศึกษามากกว่า 215 คนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยในปี พ.ศ. 2562 หัวเว่ยได้จัดตั้งสถาบัน Huawei ASEAN Academy ของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ Thailand 4.0 ซึ่งปัจจุบันได้จัดการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะและยกระดับทักษะด้านไอซีทีในประเทศไทยไปแล้วกว่า 41,000 คน และ SMEs อีกกว่า 1,300 ราย

นอกเหนือจากการสนับสนุนอีโคซิสเต็มด้านการบ่มเพาะทักษะด้านดิจิทัลซึ่งกำลังเติบโต หัวเว่ยยังได้ส่งมอบโซลูชันซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันอีกมากมาย เช่น มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ ห้องเรียนอัจฉริยะ และโซลูชันการศึกษาออนไลน์ ให้กับสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยชั้นนำและมีชื่อเสียงทั่วไทยกว่า 10 แห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (SWU) เป็นต้น ด้วยโซลูชันเหล่านี้ทำให้มั่นใจได้ว่าการเรียนรู้จะไม่มีวันสิ้นสุด แม้แต่ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ก็ตาม

ทั้งนี้ การอัปเกรดโครงข่ายของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (SWU) ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา โดยหัวเว่ยได้เป็นผู้จัดหาเครือข่ายที่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงและความหน่วงต่ำให้กับมหาวิทยาลัยเพื่อปรับปรุงด้านความครอบคลุมของเครือข่ายไร้สายและความปลอดภัย ถือเป็นการส่งเสริมการพัฒนาดิจิทัลในระดับโครงสร้างพื้นฐาน และกำหนดเกณฑ์มาตรฐานใหม่ให้แก่มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

ภายในงาน Huawei HCC 2022 ผศ. ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารและผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ร่วมมือกับหัวเว่ย เพื่อทำให้โครงการ “KMUTT4Life” สำเร็จลุล่วง โดย ดร.ประเสริฐ ได้กล่าวว่า ด้วยการสนับสนุนของหัวเว่ย ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถสร้างห้องปฏิบัติการที่มีชีวิตเพื่อรองรับการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ รองรับการใช้งานไม่ได้จำกัดแค่ในหมู่โรงเรียน แต่รองรับการใช้งานของคนทุกคน โดยนายสัญญา เศรษฐพิทยากุล ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงและผู้ช่วยรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าความเชี่ยวชาญของหัวเว่ยทำให้สามารถสร้างแพลตฟอร์มที่มีความสำคัญต่อการธำรงรักษาการศึกษาในรูปแบบห้องเรียนวิดีโอออนไลน์ ซึ่งช่วยสร้างศักยภาพการเรียนการสอนที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย

ตามที่ นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เน้นย้ำเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือเชิงรุกกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ หัวเว่ยจึงได้สนับสนุนการสร้างอีโคซิสเต็มของทักษะด้านดิจิทัลที่จะเป็นประโยชน์ต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทย ในการมุ่งสู่ประเทศไทย 4.0 ด้าน ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แสดงความชื่นชมต่อกลยุทธ์ดังกล่าวของหัวเว่ย โดยได้กล่าวว่า “หัวเว่ยได้เพิ่มองค์ความรู้และแนวปฏิบัติด้านไอซีทีที่ใช้งานได้จริงให้แก่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ซึ่งผมเชื่อว่าสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้”

ด้วยการขับเคลื่อนการศึกษาด้านดิจิทัลและการพัฒนาทักษะ ICT ให้แก่บุคลากรในประเทศไทย หัวเว่ย ประเทศไทย จึงมุ่งมั่นวางมาตรฐานสำหรับการศึกษาที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน เสริมความถนัดทางเทคนิคและทักษะให้มากขึ้น เพื่อเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำยิ่งขึ้น และสนับสนุนด้านนวัตกรรมและด้านผู้ประกอบการที่มากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบ

ที่มา: คาร์ลบายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์