โพลี (NYSE: POLY) ประกาศแจ้งเทรนด์ยอดนิยมที่จะส่งผลต่อรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดในปี 2022 และปีต่อๆ ไป พร้อมแนะนำให้องค์กรลงทุนในเทคโนโลยีที่จะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การทำงานให้กับพนักงาน เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในการปฏิบัติงาน อีกทั้ง พนักงานคาดหวังว่าเทคโนโลยีที่ใช้งานง่าย จะช่วยให้ตนเองมีเวลาทำงานของตนให้เสร็จเร็วขึ้น แทนที่จะใช้เวลาหาวิธีเข้าใจการทำงานของเครื่องมือต่างๆ
การทำงานแบบผสมผสานหรือที่เรียกว่า “ไฮบริด” (Hybrid work) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายได้กลายเป็นรูปแบบการทำงานและข้อกำหนดใหม่ๆ สำหรับผู้บริหารในธุรกิจชั้นนำในการออกแบบและตัดสินใจลงทุนในด้านสถานที่ทำงานในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ องค์กรจำนวนมากขึ้นจึงนำวิธีการงานแบบไฮบริดมาเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการทำงานในขณะที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกเริ่มผ่อนคลายข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
จากการสำรวจเรื่อง “นายจ้างผู้คิดเรื่องการปฏิบัตงานใหม่” (EY Work Reimagined Employer Survey) ประจำปี พ.ศ. 2564 พบว่ามีองค์กร 84% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกวางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานให้เป็นแบบไฮบริดในระดับปานกลางถึงระดับสูง และส่งเสริมวิธีการปฏิบัติงานแบบไฮบริดอย่างแข็งขันเพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานที่เก่งมีความสามารถไว้ การสำรวจเดียวกันนี้ยังระบุด้วยว่าพนักงานชอบความยืดหยุ่นในสถานที่และเวลาทำงาน โดยการปฏิบัติงานแบบผสมจำนวนมากที่ระบุนั้นจะช่วยเพิ่มผลิตภาพและความคิดสร้างสรรค์ได้ดี
ปิแอร์-ฌอง ชาลอน รองประธานอาวุโส ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแห่งโพลีกล่าว “ลักษณะการปฏิบัติงานจากทางไกลและแบบผสมผสานได้กำหนดแนวคิดใหม่เกี่ยวกับสถานที่ทำงานของผู้คนตามที่ตนเองรู้ ทำให้รูปแบบสไตล์การทำงานเปลี่ยนไป และเกิดประสบการณ์การทำงานที่ดีต่างกัน ไม่เท่าเทียมกัน และเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จในยุคไฮบริดอย่างแท้จริงนั้น ผู้บริหารจะต้องกำหนดกลยุทธ์และการลงทุนในสถานที่ทำงาน อันจะช่วยให้พนักงานได้รับประสบการณ์การทำงานที่เท่าเทียมกันมากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงว่าพวกเขากำลังทำงานจากที่ใด เพื่อการทำงานร่วมกันและผลิตภาพที่ดีที่สุด”
คุณซามีร์ ซายิด กรรมการผู้จัดการ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและเกาหลีแห่งโพลีกล่าวว่า “การปฏิบัติงานแบบไฮบริดได้กลายเป็นบรรทัดฐานไปแล้ว ซึ่งมีรายงานพบว่าระบบไฮบริดคือรูปแบบการปฏิบัติงานที่ได้รับความนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควบคู่ไปกับการทำงานทุกที่และทำงานเต็มเวลาจากระยะไกล รูปแบบการปฏิบัติงานเหล่านี้นำไปสู่ประเด็นที่ควรพิจารณาและความท้าทายที่อาจค่อนข้างใหม่สำหรับผู้นำธุรกิจหลายคน ดังนั้น ความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับกลุ่มบุคคลในที่ทำงาน (Workplace personas) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้บริหารธุรกิจชั้นนำตัดสินใจอย่างมีข้อมูลเมื่อองค์กรวางแผนกลยุทธ์การปฏิบัติงานแบบผสมผสาน ตลอดจนการลงทุนด้านเทคโนโลยีและพื้นที่ทำงานขององค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าจะสอดคล้องกับรูปแบบการปฏิบัติงานแบบไดนามิกของพนักงานที่มีการกระจายตัวเพิ่มมากขึ้น”
เทรนด์ยอดนิยมที่จะหล่อหลอมการทำงานแบบไฮบริดในปี 2022 และปีต่อๆ ไป
(Top Trends that Will Shape Hybrid Working in 2022 and Beyond”
#1: แนวคิดสร้างประสิทธิผลได้ทุกที่จะเปลี่ยนการจ้างงานและโครงสร้างของสถานที่ทำงาน
การปฏิบัติงานจากทางไกลช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา การปฏิบัติงานแบบผสมผสานเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการทำงาน ผู้บริหารชั้นนำจึงเริ่มมองหาการมอบประสบการณ์การทำงานที่เท่าเทียมมากขึ้นให้แก่ผู้ที่ทำงานอยู่ในและนอกสำนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการประชุมและการอภิปรายกลุ่ม ทั้งนี้ จากการสำรวจประสบการณ์พนักงานประจำปีพ.ศ. 2564 ของ Willis Tower Watson (Willis Tower Watson’s 2021 Employees Experience Survey) พบว่า 90% ของนายจ้างในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญในการยกระดับประสบการณ์พนักงานให้มากขึ้นในช่วง 3 ปีข้างหน้า
โครงสร้างพื้นฐานในลักษณะการทำงานร่วมกันนี้เป็นการยืนยันว่าแนวทางปฏิบัติในการทำงานแบบคล่องตัว ไม่คงที่ ที่เรียกว่าอะซิงโครนัสมากขึ้นเป็นที่ยอมรับมากขึ้น อันเป็นแนวโน้มที่เกิดหลังจากการระบาดไวรัสใหญ่ ซึ่งจะไม่เพียงแต่กำหนดวิธีการทำงานร่วมกันของพนักงาน แต่ยังช่วยให้ธุรกิจต่างๆ คิดใหม่เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการจ้างงานและเข้าถึงกลุ่มคนเก่งที่มีความสามารถระดับโลกและหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมต่างๆ ได้เริ่มปรับตัว และจะเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานต่อไปโดยใช้แนวทางแบบกระจายขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานออกไปให้แก่พนักงานซึ่งส่วนใหญ่อาจทำงานจากที่บ้าน ทั้งที่ยังมีความต่อเนื่องทางธุรกิจและมีประสิทธิภาพ
#2: ใช้เอไอและการวิเคราะห์ข้อมูลในที่ทำงานให้มากขึ้น
จากการสำรวจโดย Juniper Networks พบว่า 95% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าการดำเนินงานประจำวัน ผลิตภัณฑ์ และบริการของบริษัทจะได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีเอไอ ผู้บริหารชั้นนำทั่วทั้งภูมิภาคจะเริ่มนำเอไอและการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้เพื่อสนับสนุนและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยของพนักงานนอกเหนือจากการขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปฏิรูปทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง
แผนกไอทีจะหันไปใช้ข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้มีมุมมองที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของพนักงานทั้งในสำนักงานและเมื่อทำงานจากทางไกล สิ่งเหล่านี้จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้พนักงานแบบไฮบริดทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น ผู้จัดการสำนักงานจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึก เช่น ข้อมูลการครอบครองพื้นที่จะสามารถช่วยผู้จัดการสำนักงานกำหนดรูปแบบสำนักงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดพื้นที่ที่สูญเปล่า และเสริมหรือปรับปรุงมาตรการเว้นระยะห่างที่ปลอดภัยอย่างเหมาะสม
#3: ออกแบบพื้นที่สำนักงานแนวใหม่เพื่ออนาคตไฮบริด
เมื่อองค์กรมีพนักงานใช้เวลาทำงานจากทางไกลมากถึงครึ่งเดียวหรือเกือบตลอดเวลาการทำงาน องค์กรต่างๆ จึงหันมาใช้แนวทางที่ยืดหยุ่นและคุ้มค่าสำหรับการลงทุนในพื้นที่สำนักงานของตน ทั้งนี้ ตามข้อมูลของ Maybank Kim Eng ในประเทศสิงคโปร์ พบว่าผู้ใช้สำนักงานในย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ตั้งเป้าที่จะลดพื้นที่สำนักงานลงจากเดิม 10% เป็น 20% ในช่วง 3 ปีถัดไป
นอกจากนี้ มีการจัดสรรสำนักงานแบบออนดีมานด์ (Office on-demand) เพื่อช่วยให้ธุรกิจเพิ่มพื้นที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความจำเป็น ในทางกลับกัน องค์กรจะที่มีพื้นที่สำนักงานส่วนเกินเพื่อพิจารณาให้เช่าช่วงพื้นที่นั้นได้ตามต้องการ ทั้งนี้ โมเดล ‘ศูนย์แกนหลักและยืดหยุ่น’ (Core and Flex) เช่นนี้จะช่วยผสมผสานความสำคัญในการรักษาความปลอดภัยระยะยาวของการปฏิบัติงานหลัก ขณะเดียวกันก็ให้ความยืดหยุ่นสำหรับการเติบโต ในเวลาเดียวกัน บริษัทต่างๆ จะเริ่มกำหนดบทบาทของพนักงานขึ้นมาใหม่ และกำหนดว่ากลุ่มผู้ปฎิบัติงานในหน้าที่ใดที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำงานอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) และกลุ่มใดสามารถทำงานจากทางไกลหรือในสำนักงานที่สื่อสารกันผ่านดาวเทียมตามหัวเมืองใหญ่หรือบริเวณห่างไกล
นอกจากนี้ ผู้บริหารชั้นนำจะคำนึงหากลุทธ์ที่จะดึงพนักงานกลับเข้าที่ทำงานและจะเป็นสิ่งที่พนักงานตั้งตารอ สำนักงานต่างๆ จะกลายเป็นศูนย์กลางการทำงานร่วมกัน ทำหน้าที่เป็นสถานที่สำหรับทีมที่จะรวมตัวกันเพื่อประชุมระดมความคิดในกลุ่มย่อย จัดการประชุมกับลูกค้า งานฉลองในวาระสำคัญๆ และติดต่อทำงานในโครงการที่ต้องประสานงานร่วมกัน สำนักงานต่างๆ ยังจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับการขัดเกลาทางสังคมของสมาชิกในองค์กรที่จะช่วยให้เกิดวัฒนธรรมที่ไม่สามารถสร้างผ่านการทำงานจากทางไกลได้
สิ่งที่ควรคำนึงถึงข้างหน้าต่อไป: องค์กรต้องลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงาน
การลงทุนด้านเทคโนโลยีของบริษัทและกลยุทธ์การทำงานร่วมกันจะเน้นที่การปรับปรุงประสบการณ์การปฏิบัติงานของพนักงานทั้งทางไกลและนอกสถานที่ ทั้งนี้ พนักงานผู้ใช้งานล้วนคาดหวังว่าเทคโนโลยีที่ใช้งานง่ายสามารถลดการหยุดชะงักที่อาจขัดขวางประสิทธิภาพการทำงานและการทำงานร่วมกันของตนเองลงได้ และเพื่อให้พวกเขาสามารถใช้เวลามากขึ้นในการทำงานของตนให้เสร็จ แทนที่จะใช้เวลาหาวิธีเข้าใจการทำงานของเครื่องมือต่างๆ
ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยข้อจำกัดด้านการเดินทางเพื่อธุรกิจและการประชุมแบบพบปะเห็นหน้ากันจึงทำให้การประชุมทางวิดีโอกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับการทำงานร่วมกันและยังนำไปสู่รูปแบบการใช้งานวิดีโอใหม่ๆ เช่น การแพทย์ทางไกล การจัดงานแบบผสม การเยี่ยมชมโครงการหมู่บ้านเสมือนจริง และหลักสูตรการศึกษาผ่านวิดีโอ ด้วยเหตุนี้ องค์กรจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีนโยบายในการใช้โซลูชันวิดีโอคุณภาพสูงที่สุดเท่านั้นมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ความยืดหยุ่น และประสบการณ์ของลูกค้าในระดับสูง
เทรนด์เหล่านี้จะผลักดันความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดต่อเทคโนโลยีระดับโปรและเครื่องมือการทำงานร่วมกันที่เน้นพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ReportLinker ได้คาดการณ์ไว้ว่าตลาดการประชุมทางวิดีโอในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีอัตราการเติบโตต่อปีหรือ CAGR ระหว่างปีพ.ศ. 2564-2570 ที่ 17.8% ซึ่งหมายถึงโอกาสสำคัญสำหรับผู้ขายอุปกรณ์การทำงานร่วมกัน เนื่องจากพนักงานที่ทำงานร่วมกันในสำนักงานสามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกันในห้องประชุมที่พวกเขาคุ้นเคยกับการใช้งานจากสำนักงานที่บ้านของพวกเขานั่นเอง
ที่มา: คอมมิวนิเคชั่น อาร์ต