Peng Song ผู้บริหารหัวเว่ย ชี้โมเดล C.A.F คือคำตอบในการสร้างขีดความสามารถการแข่งขันของเครือข่ายและขับเคลื่อนการเติบโต

งานประชุม Ultra-Broadband Forum ครั้งที่ 7 (UBBF 2021) เริ่มขึ้นวันที่ 19 ต.ค. ในดูไบ ภายในงานดังกล่าว Peng Song ประธานฝ่ายการตลาดธุรกิจโครงข่ายและการขายโซลูชันระดับโลก (Global Carrier Marketing & Solution Sales) กล่าวสุนทรพจน์หลักในหัวข้อ “ขยายการเชื่อมต่อ ขับเคลื่อนการเติบโต” ในสุนทรพจน์ดังกล่าว เขาได้อธิบายนิยามและรายละเอียดของโมเดล C.A.F (Coverage Architecture Fusion – ความครอบคลุม สถาปัตยกรรม การผสานผนวกรวม) ของหัวเว่ย โดย Peng กล่าวเน้นย้ำว่า “มีโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการพัฒนาการเชื่อมต่อ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับผู้ให้บริการในการสร้างความสามารถการแข่งขันของเครือข่ายด้วยโมเดล CAF”

ปีที่ผ่านมาเต็มไปด้วยความท้าทายและโอกาส ขณะนี้ความต้องการการเชื่อมต่อกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งสำหรับบ้านและองค์กร บ้านกลายเป็นสถานที่สำคัญสำหรับการเรียน การทำงาน และการทำธุรกิจการค้า ขณะที่องค์กรไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะกับแบนด์วิธสำหรับการเชื่อมต่ออีกต่อไป การเชื่อมต่อขององค์กรได้เปลี่ยนจากเทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication technology – CT) เป็นเทคโนโลยีปฏิบัติการ (Operational technology – OT) การขยายการเชื่อมต่อและการผนวกรวมเข้ากับระบบคลาวด์ได้กลายเป็นประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อ ในปัจจุบัน ประเทศต่าง ๆ พยายามเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและได้มีการให้นิยามใหม่แก่คุณค่าของการเชื่อมต่อ ผู้ให้บริการจะสามารถเร่งการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรม ทำให้การเชื่อมต่อมีคุณค่าสูงสุด และสร้างการเติบโตใหม่ได้อย่างไร

ในการนี้ Peng กล่าวว่า โมเดล C.A.F. คือคำตอบ โดย “C” หมายถึงความครอบคลุม (Coverage) “F” หมายถึงการผสานผนวกรวม (Fusion) และ “A” หมายถึงสถาปัตยกรรม (Architecture)

ความครอบคลุม: สำรวจว่าในปัจจุบันเราจะสามารถขยายการเชื่อมต่อสู่บ้านและองค์กรเพื่อให้สอดรับกับความต้องการรูปแบบใหม่และสร้างมูลค่าให้ธุรกิจได้อย่างไร ความต้องการสำหรับการเชื่อมต่อกำลังเปลี่ยนแปลงไปทั้งสำหรับบ้านและองค์กร เมื่อมีการครอบคลุมที่กว้างขึ้น ผู้ให้บริการต้องขยายการเชื่อมต่อสู่ทุกห้อง ทุกอุปกรณ์ และทุกระบบการผลิตในองค์กร ซึ่งจะเพิ่มจำนวนของการเชื่อมต่อ เพิ่มความผูกพันในการใช้งานของผู้ใช้ (User stickiness) และสร้างโอกาสธุรกิจที่มากขึ้น

สำหรับกรณีของการใช้งานภายในบ้าน Peng เสนอสองวิธีในการขยายการเชื่อมต่อสู่บ้าน วิธีแรกคือใช้การวางแผนโครงข่ายไฟเบอร์บริการครบวงจรและโซลูชัน AirPON และ Digital Quick ODN ระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมของหัวเว่ย เพื่อเร่งการครอบคลุมของไฟเบอร์และขยายไฟเบอร์สู่บ้าน อีกวิธีได้แก่การขยายจาก FTTH (Fiber to the Home – ไฟเบอร์สู่บ้าน) สู่ FTTR (Fiber to the Room – ไฟเบอร์สู่ห้อง) เพื่อขยายไฟเบอร์สู่ห้องต่าง ๆ สำหรับระบบเครือข่ายภายในบ้าน การทำเช่นนี้จะยกระดับประสบการณ์ให้เหนือกว่าจินตนาการของเรา พร้อมทั้งเพิ่มความผูกพันในการใช้งานของผู้ใช้ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นฐานสำหรับระบบบ้านดิจิทัลและทำให้การพัฒนาบริการอัจฉริยะเป็นไปได้

สำหรับกรณีของการใช้งานในองค์กร Peng เน้นย้ำว่าสายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line) ต้องมีข้อเสนอที่แตกต่างเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ยิ่งไปกว่านั้น การเชื่อมต่อภายในองค์กรต้องขยายจาก CT สู่ OT การทำเช่นนี้จะทำให้หลายปัญหาในองค์กรสามารถแก้ไขได้เหมือนระบบ PLC ควบคุมเครื่องจักรระยะไกลที่ใช้ในบริษัทผู้ผลิตเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและประสบการณ์ผู้ใช้

การผสานผนวกรวม: สำรวจว่าในอนาคตการเชื่อมต่อจะสามารถผนวกรวมเข้ากับระบบคลาวด์และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลได้อย่างไร การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลเป็นโอกาสใหญ่ที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมไอซีที ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่แนวคิดอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นความเป็นจริง แน่นอนว่าระบบคลาวเป็นแกนหลักของการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล แต่การเชื่อมต่อก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน ในแง่นี้ Peng ชี้ว่า “การผสานผนวกรวม (Fusion) เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการเชื่อมต่อจำเป็นต้องยึดระบบคลาวด์เป็นศูนย์กลางและช่วยให้องค์กรย้ายสู่ระบบคลาวด์ ในการนี้จำเป็นต้องผนวกรวมการเชื่อมต่อกับระบบคลาวเข้าด้วยกัน โดยผู้ให้บริการสามารถดำเนินบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้

ในสุนทรพจน์นี้ Peng ได้กล่าวถึงสองระยะของการผนวกรวม ในระยะแรก การเชื่อมต่อต้องยึดคลาวเป็นศูนย์กลาง ในแง่นี้มีคำสำคัญอยู่สามคำ ประกอบด้วย “รวดเร็ว” หมายถึงการใช้เทอร์มินัลคลาวด์อัจฉริยะในฝั่งขององค์กรเพื่อให้เกิดการเข้าถึงระบบคลาวด์อย่างรวดเร็ว “การเชื่อมต่อระหว่างกันแบบมัลติคลาวด์” หมายถึงการใช้ SRv6 (Segment Routing IPv6) ในเครือข่ายแกนหลัก (Backbone network) เพื่อใช้งานการเข้าถึงแบบมัลติคลาวด์ผ่านการเชื่อมต่อเดียว และ “ระบบกำหนด” (Deterministic) หมายถึงความสามารถในการจัดแบ่งเครือข่ายย่อยแบบ Network slicing เพื่อรักษาการกำหนดได้อย่างแน่นอนของระบบ

ในระยะที่สอง การเชื่อมต่อต้องผนวกรวมเข้ากับคลาวด์และสร้างระบบนิเวศ ขั้นนี้ถือเป็นส่วนที่ท้าทายที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็มีค่าที่สุด การทำเช่นนี้ต้องใช้การแบ่งย่อยและการเปิดกว้างของความสามารถของเครือข่ายเพื่อดำเนินการเครือข่ายเลือกคลาวด์ (Network selecting cloud) และคลาวด์กำหนดการทำงานของเครือข่าย (Cloud scheduling network)

สถาปัตยกรรม: สำรวจคุณสมบัติของสถาปัตยกรรมของเครือข่ายที่ต้องใช้ในการบรรลุความสำเร็จทางธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต Peng เน้นย้ำว่าเพื่อเอื้อให้เกิดวิวัฒนาการของเครือข่าย จำเป็นต้องใช้โหมด spine leaf เพื่อทำให้สถาปัตยกรรมของเครือข่ายมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และต้องใช้เทคโนโลยีอย่าง PON และ OXC เพื่อทำให้บริการของเครือข่ายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องใช้เครือข่ายอัตโนมัติที่เรียกว่า Autonomous Driving Network เพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน (OPEX) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ของการดำเนินงานและซ่อมบำรุง (O&M) ความพยายามอย่างต่อเนื่องของ หัวเว่ย ในการสำรวจเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเช่น OXC, SRv6 และ ADN ได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่รากฐานของสถาปัตยกรรม

Peng จบสุนทรพจน์หลักนี้ด้วยการยกสุภาษิตอาหรับ: “การกระทำคือผล ขณะที่คำพูดเป็นเพียงใบ ไม่ว่าสภาพแวดล้อมที่เราเผชิญอยู่จะยากเข็ญเพียงใด หัวเว่ยจะมุ่งให้ความสำคัญกับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อต่อไป เราจะดำเนินบทบาทของเราและสนับสนุนให้ลูกค้าของเราบรรลุความสำเร็จทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1664186/1.jpg
คำบรรยายภาพ – Peng Song ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์หลัก

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์