การเติบโตของ TikTok กำลังได้รับการจับตามองจากทั่วโลก เพราะจากจำนวนผู้ใช้ TikTok ที่สูงถึง 1 พันล้านคนทั่วโลกในทุกๆ เดือน โดยมีฐานผู้ใช้ TikTok ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนมากกว่า 240 ล้านคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเกือบเท่าตัว และมีการดูวิดีโอมากกว่า 1.2 ล้านล้านครั้ง แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้จำนวนมหาศาล และมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเข้าถึงเนื้อหาบนหน้าฟีด “For You” ที่การแสดงผลในผู้ใช้แต่ละคนจะแตกต่างกันไปและยังเป็นพื้นที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ใช้เวลาด้วยมากที่สุด ด้วยเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้ได้ค้นพบคอนเทนท์ที่เกี่ยวเนื่องกับความสนใจ และยังเป็นจุดที่ช่วยให้ผู้ใช้กว่า 50% ค้นพบแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บน TikTok ที่สำคัญคือผู้ใช้งานในอาเซียนมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมกับเนื้อหาที่มีแบรนด์สนับสนุนมากกว่า 2 เท่า
ซาเมียร์ ซิงห์ Head of Global Business Solutions ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค TikTok กล่าวถึงความพิเศษของผู้ใช้งาน TikTok ในภูมิภาคอาเซียนที่น่าสนใจไม่ใช่แค่จำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น และการเข้าไปมีส่วนร่วมกับแบรนด์ เพราะในอีกมุมผู้ใช้งาน 1 ใน 2 ได้กลายเป็นครีเอเตอร์ และมีการสร้างคอนเทนท์ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และกลายเป็นว่ากว่า 80% เป็นการครีเอทคอนเทนท์ของตัวเองโดยเฉพาะ สอดกล้องกับสถิติการสร้างวิดีโอสั้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนเมษายนที่ผ่านมามีการโพสต์วิดีโอมากกว่า 817 ล้านรายการ
นอกจากนี้ TikTok ยังเป็นแพลตฟอร์มที่มีคอนเทนท์หลากหลาย โดยมี 3 หมวดที่น่าจับตาคือ คอนเทนท์เกี่ยวกับการศึกษา อาหาร ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับในปีที่ผ่านมาถึง 3.7 เท่า ตามด้วยคอนเทนท์เกมที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 2.8 เท่า จึงกลายเป็นว่า TikTok ได้กลายเป็นพื้นที่ให้ผู้ใช้งานได้เข้าร่วมกิจกรรม และพร้อมที่จะกลายเป็นครีเอเตอร์ด้วย
ขณะเดียวกัน รูปแบบการโฆษณาบน TikTok ที่แสดงผลใกล้เคียงกับคอนเทนท์ปกติ ทำให้ผู้ใช้งานมองว่าเป็นโฆษณาที่สนุก เมื่อเปรียบเทียบกับการโฆษณาบนแพลตฟอร์มอื่นๆ จะให้ความบันเทิงมากขึ้นถึง 74% สนุกกว่า 70% และช่วยให้จดจำแบรนด์ได้มากกว่าเดิมถึง 65% เพราะทุกคนทราบกันดีกว่าผู้ใช้งาน TikTok ต้องการเข้ามาใช้งานเพื่อความบันเทิง และได้รับความรู้กลับไป ดังนั้นเพื่อให้แบรนด์สามารถตอบสนองรูปแบบการใช้งานนี้ได้ TikTok จึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่จะเข้าไปช่วยให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อกับผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง
ที่ผ่านมา มีหลายแบรนด์ได้เข้ามาเปลี่ยนประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ TikTok ให้กลายเป็นลูกค้า ด้วยการผสมผสานคอนเทนท์และการจำหน่ายสินค้าบน TikTok ในลักษณะของ Shoppertainment อย่างแคมเปญ #TikTokMadeMeBuyIt ที่กลายเป็นปรากฏการณ์ด้วยจำนวนผู้รับชมกว่า 5 พันล้านครั้ง จนร้านค้าสามารถขายสินค้าหมดภายในพริบตา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากผู้ใช้กลายเป็นผู้ซื้อที่ได้ทั้งความบันเทิง ความรู้ แรงบันดาลใจไปพร้อมๆ กัน
“1 ใน 3 ของผู้ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการซื้อสินค้าที่ทำคอนเทนท์มาให้รับชมแล้วรู้สึกมีความสุข และในอนาคต TikTok จะมีพัฒนาช่องทางการซื้อขายบนแพลตฟอร์มให้ได้ประสบการณ์ที่ลื่นไหลมากที่สุด ทั้งการเปิดให้แบรนด์สร้างร้านค้าเพิ่มโฆษณาแบบโชว์เคสที่มีสีสัน และทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่างใกล้ชิด”
จากข้อมูลทั้งหมดนี้ เชื่อว่าหลายคนอาจยังสงสัยว่า แบรนด์ ร้านค้า และผู้ประกอบการจะสามารถสร้างโอกาสเหล่านี้ได้อย่างไร จึงเป็นที่มาของการจัดงาน TikTok: The Stage เพื่อรวบรวมเนื้อหาที่น่าสนใจ มาช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดบนแพลตฟอร์ม TikTok
นี่คือยุคสมัยที่ผู้คนแสวงหาความสุข
ที่ผ่านมา TikTok ถือเป็นแพลตฟอร์มที่มีความชัดเจนมากในเรื่องของการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจ และนำไปสู่การสร้างความสุขให้แก่ผู้ใช้งาน เพราะ TikTok ค้นพบว่า ผู้คนที่เข้ามาในออนไลน์มีเป้าหมายสำคัญคือการพักผ่อน และชาร์จพลังให้มีชีวิตชีวาขึ้น ซึ่งจากข้อมูลพบว่าเฉลี่ยแล้วผู้ใช้ TikTok ในอาเซียนมีความถี่ในการใช้งานบนแพลตฟอร์มสูงถึง 11 ครั้งต่อวัน และเหตุผลหลักที่เข้ามาใช้เวลาบน TikTok คือ การเข้ามาชมคอนเทนท์บน TikTok และการติดตามครีเอเตอร์ที่ชื่นชอบ ส่งผลให้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่เมื่อผู้คนเข้ามาใช้งานสามารถเติมพลัง และรับรู้ถึงความสุขที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่อยู่บนแพลตฟอร์ม
ข้อมูลจากการศึกษาของ Accenture ค้นพบว่าความคิดและความคาดหวังของผู้คนกำลังเปลี่ยนแปลงไป เริ่มต้นจากแพลตฟอร์ม ขยายไปสู่แบรนด์ และวิธีที่โฆษณาเข้าถึงพวกเขาเหล่านั้น และแน่นอนว่าแต่ละคนจะมีนิยามความสนุกในการรับชมคอนเทนท์แตกต่างกันไป ก่อนสรุปออกมาเป็น 5 แนวคิดหรือ Mindset สำคัญให้แบรนด์เข้าใจถึงการเชื่อมต่อกับลูกค้าบนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ
- ‘Me-time’ Mindset – คนกลุ่มนี้จะชื่นชอบและแสวงหาความสะดวกสบายและเกิดความพึงพอใจต่อสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
- ‘FOMO’ Mindset – คนกลุ่มนี้ความสุขคือการอยู่ในกระแสและไม่ตกเทรนด์
- ‘Better we, better me’ Mindset – คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่มีความเข้าอกเข้าใจ หรือ “Empathy” และให้ความสำคัญกับทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลก
- ‘Level up’ Mindset – คนกลุ่มนี้มีความสุขเมื่อได้ในการเรียนรู้และทดลองสิ่งใหม่ๆ
- ‘Jumpstarter’ Mindset – คนกลุ่มนี้มีความเกี่ยวข้องกับการเป็นนักสำรวจ นักสร้างแรงบันดาลใจ และผู้ที่จุดประกายสิ่งใหม่ๆ
จากแนวคิดดังกล่าว ยิ่งแบรนด์เข้าใจผู้ใช้มากเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้นำเสนอประสบการณ์ และคอนเทนท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้งาน TikTok ได้มากขึ้นเท่านั้น และแบรนด์ยังสามารถใช้อารมณ์เหล่านี้ในการเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมาย เร่งให้ธุรกิจเติบโตภายใต้ 3 ขั้นตอนสำคัญ ประกอบด้วย
- Be ‘flawsome’ – ไม่ต้องสมบูรณ์แบบ เพราะผู้ใช้อาจไม่ชื่นชอบคอนเทนท์ที่ปั้นแต่งมากเกินไป ทำให้การแสดงตัวตนที่แท้จริงจะช่วยให้เข้าถึงจิตใจของผู้รับชมคอนเทนท์ได้มากที่สุด
- Democratise creativity หรือการสร้างสรรค์แบบประชาธิปไตย เพราะใครที่มีไอเดีย และสมาร์ทโฟนก็สามารถสร้างคอนเทนท์ และโฆษณาชั้นยอดได้ TikTok จึงส่งเสริมให้แบรนด์ชวนลูกค้ามามีส่วนร่วมให้เข้ามาอยู่ในเรื่องราวของแบรนด์
- เปิดรับ Shoppertainment เนื่องจากผู้คนเลือกซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ทำให้เห็นการผสมผสานระหว่างอีคอมเมิร์ซและคอนเทนท์เข้าด้วยกัน ทำให้แบรนด์สามารถหาลูกค้าที่เหมาะสม และเปลี่ยนการค้นพบไปสู่ขั้นตอนการซื้อได้
โดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่า ในช่วงเวลานี้ผู้คนต้องการความสุขในชีวิตมากกว่าช่วงที่ผ่านมา และผู้คนส่วนใหญ่พบสิ่งนั้นใน TikTok จากการเป็นแพลตฟอร์มแห่งความสุขบนอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนนึกถึง เพราะสามารถค้นหาคอนเทนท์ที่สร้างสรรค์ จริงใจ และหลากหลาย ซึ่งแบรนด์ที่เข้าใจถึงความคิด และพลังแห่งความสุขจะเร่งให้ธุรกิจเติบโตได้ในลักษณะของ ‘Happy users, Happy buyers’
แพลตฟอร์มแห่งความปลอดภัย
ภายใต้รายงานบังคับแนวทางปฏิบัติชุมชนล่าสุดของ TikTok ออกมาเปิดเผยว่าในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2564 มีวิดีโอเกือบ 62 ล้านคลิปถูกลบออกจาก TikTok ทั่วโลก เนื่องจากละเมิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขการให้บริการ ซึ่งตัวเลขนี้มีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของวิดีโอที่ถูกอัปโหลดขึ้นบนแพลตฟอร์ม
นอกจากนี้ จากจำนวนวิดีโอที่ลบออกไป 81.8% ถูกพบและลบออกไปก่อนถูกรับชม 91% ถูกลบออกไปก่อนที่ผู้ใช้แจ้งรีพอร์ทเข้ามา และ 93.7 ถูกลบออกในเวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมง จากข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า TikTok มุ่งมั่นมากแค่ไหนในการทำให้แพลตฟอร์มมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานทุกคน เพื่อให้เป็นสภาพแวดล้อมที่น่าเชื่อถือที่สุด
เพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มที่ปลอดภัย TikTok มีการผลักดันในการพัฒนานโยบายความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง มีแนวทางปฏิบัติในการกลั่นกรองอย่างชัดเจน รวมถึงการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ผ่านฟีเจอร์ความปลอดภัยต่างๆ ได้แก่ การจำกัดอายุผู้ใช้ การจับคู่ใช้งานในครอบครัว การอบรมด้านความปลอดภัย เพื่อให้ทั้งผู้ใช้ และแบรนด์มั่นใจว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
พร้อมกับประกาศเปิดตัวหน่วยงานกลั่นกรองเพื่อความปลอดภัยของแบรนด์ ช่วยให้สามารถควบคุมตำแหน่งของโฆษณาได้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้แบรนด์สามารถหลีกเลี่ยงการปะปนกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และ TikTok ยังได้เข้าไปร่วมมือกับ OpenSlate ในการลดความเสี่ยงเกี่ยวกับเนื้อหา และช่วยปกป้องชื่อเสียงของแบรนด์ด้วย
ยกระดับความคิดสร้างสรรค์ ปลดล็อคโฆษณาด้วยครีเอเตอร์
ด้วยการที่ TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ไม่เหมือนใคร เพราะมีความหลากหลายของเนื้อหาที่สูงมาก จากการที่ผู้ใช้สร้างเนื้อหาใหม่ๆ ตลอดเวลา ทำให้ความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทสำคัญมากกับเรื่องนี้ และที่สำคัญไม่ว่าธุรกิจหรือแบรนด์จะเล็กหรือใหญ่แค่ไหน ทุกแบรนด์มีคุณค่าที่อยากให้ผู้ใช้งานได้ค้นพบใน TikTok
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสื่อสารระหว่างแบรนด์ และผู้ใช้งาน TikTok คือเรื่องการสื่อถึงความเป็นตัวตน การใช้คลิปวิดีโอแนวตั้งในการสื่อสารพร้อมเสียงเพลง และการทำงานร่วมกันระหว่าง เพราะผู้ใช้งาน TikTok พร้อมที่จะสร้างสรรค์ แสดงตัวตนให้ผู้อื่นเห็น และรู้สึกดีที่ได้เป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นผู้ใช้ TikTok จึงอยากเห็นแบรนด์ที่ซื่อสัตย์ และไว้วางใจแบรนด์ที่มีค่านิยมตรงกัน
ขณะเดียวกัน ครีเอเตอร์ได้กลายเป็นส่วนผสมสำคัญในการปลดล็อคการมีส่วนร่วม สร้างความไว้วางใจบน TikTok และเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับแบรนด์ในการเริ่มต้นใช้งาน ด้วยการนำเสนอ TikTok Creator Market Place ด้วยครีเอเตอร์ที่ผ่านการรับรองกว่า 20,000 คน ใน 20 ประเทศ ทำให้แบรนด์สามารถค้นหาครีเอเตอร์ที่เหมาะสมกับแบรนด์เพื่อทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น
วู้ดดี้-วุฒิธร มิลินทจินดา คอนเทนท์ครีเอเตอร์ และพิธีกรชื่อดัง ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า แบรนด์ที่จะเข้าไปสร้างชุมชนใน TikTok สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกเลย คือ ต้องเล่น TikTok และรู้สึกสนุกไปกับ TikTok อีกทั้งยังพบว่าการโฆษณาผ่าน TikTok ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายที่สูง เมื่อเทียบกับผลตอบรับที่ได้กลับมา ดังนั้นเมื่อค่าใช้จ่ายไม่สูง ทำให้แบรนด์สามารถทดลองนำเทคนิคใหม่ๆ ในแง่ของการตลาดไปเล่นกับ TikTok ได้มากมาย เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือ TikTok เป็นแพลตฟอร์มแห่งความสนุกที่สามารถทำให้ผู้ชมเพลิดเพลินกับการชมคอนเทนท์ได้ติดต่อกันหลายชั่วโมง รวมถึงหากแบรนด์ต้องทำงานร่วมกับครีเอเตอร์ สิ่งที่แบรนด์ต้องเรียนรู้คือการไม่เข้าไปกำหนดทิศทางมากจนเกินไป ทำให้ครีเอเตอร์ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง และอาจะทำให้คอนเทนท์ที่สร้างสรรค์ออกมาดูน่าเบื่อเกินไป และจะไม่เข้ากับหลักของ TikTok ที่เป็นพื้นที่แห่งความสนุก สร้างแรงบันดาลใจ และมอบความสุขให้ทุกคน
จากความสนุก สู่โอกาสเติบโตอันยิ่งใหญ่สำหรับ SME
TikTok ได้กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจ SME หลายรายผ่านความท้าทายระดับโลกในช่วงที่ผ่านมาเพราะแม้ว่าจะเป็นมือใหม่ในการทำธุรกิจ TikTok ก็มีเครื่องมือในการทำการตลาดดิจิทัลให้เลือกใช้งาน
ทุกคนทราบกันดีว่า SME มีความสำคัญมากแค่ไหนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะคิดเป็นสัดส่วนธุรกิจถึง 97% ในภูมิภาคนี้ และสร้าง GDP เป็นคิดเป็นสัดส่วนถึง 41% ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ TikTok ที่จะเข้าไปสนับสนุนทุกธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และประสบความสำเร็จบนแพลตฟอร์ม
ที่ผ่านมา 1 ใน 3 ของ SME เคยใช้งานโซลูชั่นการตลาดครบวงจร TikTok for Business และ TikTok ถูกจัดอันดับให้เป็นแพลตฟอร์มที่ SME ชื่นชอบมากที่สุด และว่า 60% ของ SME ใช้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
สิ่งที่ทำให้ TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ SME เป็นเพราะ TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกออกแบบมาเพื่อการค้นพบสิ่งใหม่ เมื่อผู้ใช้เลื่อนดูคอนเทนท์จะถูกดึงดูดเข้าสู่โลกที่พวกเขาสนใจ และเกี่ยวข้อง โดยมีสถิติว่ากว่า 50% ของผู้ใช้ค้นพบแบรนด์ และผลิตภัณฑ์ใหม่บน TikTok และ 44% ตัดสินใจซื้อสินค้าในทันที
ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา TikTok ได้ขยายทีมงานสำหรับธุรกิจ SME เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า พร้อมฝึกอบรบเพื่อให้รองรับความต้องการของทั่วภูมิภาคจาก 3 ประเทศในอาเซียน สู่ 7 ประเทศในปัจจุบัน รวมถึงเข้าไปทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนการเข้าถึงทักษะทางดิจิทัล อย่างการเข้าไปร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ในประเทศไทย
สำหรับเครื่องมือที่ช่วยให้ SME สามารถสร้างโฆษณาบน TikTok ได้นั้นมีความยืดหยุ่นสูงมาก เพราะโซลูชั่นของ TikTok ใช้งานได้ง่าย สามารถกำหนดงบประมาณได้ชัดเจน พร้อมมีโซลูชั่นทางธุรกิจที่ครบตั้งแต่การสร้างการจดจำ (Awareness) เริ่มพิจารณา (Consideration) เปลี่ยนเป็นลูกค้า (Conversation) และเกิดความภักดีในแบรนด์ (Loyalty) ด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย
จนถึงการทำโฆษณาแบบครบวงจร (TikTok Ads Manager) ไว้ใช้วิเคราะห์ข้อมูลการเข้าถึง จำนวนยอดวิววิดีโอจนถึงการติดตามขั้นสูงเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่การโฆษณาด้วยการ โปรโมท (Promote) ไล่ขึ้นมาเป็น Spark Ads ในการเปลี่ยนคอนเทนท์ที่มีในบัญชีธุรกิจไปเป็นบัญชีโฆษณา หรือทำงานร่วมกับครีเอเตอร์สร้างคอนเทนท์ที่แบรนด์ให้การสนับสนุน เพื่อสร้างยอดการเข้าชมที่เพิ่มขึ้น จนถึงการทำ Collection Ads ในการสร้างช่องทางเชื่อมโยงไปยังหน้าผลิตภัณฑ์ใน TikTok ก่อนเข้าสู่การชำระเงินภายนอกสร้างยอดขายได้ทันที
ในอนาคต TikTok จะมีโซลูชั่นอีกมากมายที่เข้ามาช่วยขับเคลื่อนชุมชน เพื่อให้แพลตฟอร์มเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และเพิ่มฟีเจอร์อย่างการ Livestreaming และ TikTok Shop ที่เป็นโซลูชั่นการค้าสำหรับธุรกิจภายในแพลตฟอร์ม พร้อมสนับสนุนธุรกิจด้วยการเพิ่มมูลค่า และโอกาสทางการขขายในช่วงเทศกาลต่างๆ
จากข้อมูลทั้งหมดนี้ ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ทุกคนเข้าถึงเพื่อรับความบันเทิง สร้างแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลที่ดี จากวิดีโอคอนเทนท์ที่มีเนื้อหาหลากหลาย และที่สำคัญ TikTok ยังเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์และแท้จริง
“TikTok มีภารกิจในการนำความสุขมาให้ผู้ใช้งานหลายพันล้านคนทั่วโลก และเราได้เห็นแล้วว่าผู้ใช้ที่มีความสุข กลายเป็นลูกค้าที่มีความสุขได้อย่างไร จากแนวทางโฆษณาเต็มรูปแบบที่ช่วยให้แบรนด์ และธุรกิจเติบโต ร่วมกับการสร้างชุมชนของ TikTok ที่มีความสุข โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว” ซาเมียร์ ซิงห์ กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งหมดนี้คือ ไฮไลท์สำคัญจาก TikTok: The Stage การประชุมและนิทรรศการเสมือนจริงครั้งแรกจาก TikTok ที่มาพร้อมข้อมูลเชิงลึกมากมายของแพลตฟอร์ม TikTok เพื่อช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดสามารถเข้าถึงชุมชนผู้ใช้ TikTok กลุ่มเป้าหมาย และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจบน TikTok ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สนใจสามารถติดตามชมรีรันของ TikTok: The Stage ได้ทาง https://www.tiktok.com/business/th/blog/tiktok-the-stage-watch-on-demand
ที่มา: ชมฉวีวรรณ