โดยปานกาจ ชาร์มา รองประธานบริหาร ธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค(Schneider Electric)
ผมเคยเขียนบทความก่อนหน้านี้เกี่ยวกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านพลังงานที่ใกล้เข้ามาทุกที โดยมุ่งเน้นที่การสร้างเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้ความยั่งยืน
ในขณะที่เรายังคงใช้ชีวิตแบบนิวนอร์มัลกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับวิกฤตด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลก ผมคิดว่าสิ่งสำคัญคือการหันกลับมาทบทวนและเปิดมุมมองให้กว้างขึ้นจากจุดเริ่มต้น เพื่อให้ครอบคลุมการเรียกร้องให้มีการดำเนินการเพื่อเพิ่มความยั่งยืนให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ทุกขนาด
เมื่อพิจารณาถึงการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จากระยะไกลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทั่วทุกภาคส่วนและอุตสาหกรรมต่างๆ จะเห็นว่าดาต้าเซ็นเตอร์ กลายเป็นปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังในการสร้างศักยภาพให้กับการดำเนินชีวิตในแบบนิวนอร์มัล
เมื่อต้องพึ่งพาดาต้าเซ็นเตอร์อย่างจริงจัง การหยุดชะงักของดาต้าเซ็นเตอร์จึงส่งผลกระทบอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถประชุมทางวิดีโอ ไม่สามารถตรวจสอบการทำงานจากระยะไกล และไม่สามารถเข้าถึงการบริหารจัดการ หรือการสตรีมเนื้อหา ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากและเป็นที่จับตาของสาธารณชน
ในเวลาที่เราต้องพึ่งพาดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งจำเป็นคือการทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์มีทั้งความยืดหยุ่นและยั่งยืน ซึ่งเรามีทั้งวิสัยทัศน์และแผนงานที่จะช่วยให้บรรลุผลได้ทั้งสองด้าน
เมื่อเร่งการปฏิรูปสู่ดิจิทัลแล้ว ห้ามหันหลังกลับ
การปฏิรูปสู่ดิจิทัล ช่วยย่นระยะเวลาในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้เร็วขึ้น จากหลายปีเหลือแค่เพียงไม่กี่เดือน นับเป็นความก้าวหน้าที่พาเราเข้าใกล้โลกดิจิทัลทั้งหมดได้มากขึ้น และไม่สามารถย้อนกลับไปได้ ในทางกลับกันเราสามารถคาดหวังว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ในการเปลี่ยนกระบวนการของกิจกรรมมากมายสู่ระบบดิจิทัล ทั้งในการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว
ดังเช่นที่ระบุไว้ในรายงานฉบับล่าสุดเรื่อง ‘บทบาทของสิ่งกระตุ้นโครงสร้างพื้นฐานในการฟื้นฟูของโควิด 19 และถัดไป’ ของ บอสตัน คอลซัลติ้ง กรุ๊ป และสภาเศรษฐกิจโลกที่ว่า “การเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เนื่องจากคาดว่าจะมีการเร่งนำเทคโนโลยีมาปรับใช้มากขึ้นหลังช่วงโควิด-19”
เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เพิ่มขึ้น ดาต้าเซ็นเตอร์จะต้องปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการและมีความยืดหยุ่น ในขณะเดียวกัน ดาต้าเซ็นเตอร์ยังต้องให้ประสิทธิภาพและความยั่งยืน ซึ่งเป็นความย้อนแย้งที่น่าสนใจแต่ไม่ยากเกินไปที่จะทำ
เพื่อให้มั่นใจว่าดาต้าเซ็นเตอร์จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แนวทางปฏิบัติทั่วไปก่อนหน้านี้ คือการเพิ่ม redundancy เพื่อสร้างความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งต้องแลกกับเรื่องของประสิทธิภาพและความยั่งยืน ด้วยย่างก้าวในปัจจุบันและจากการอิงฐานของการจำลองระบบภายใน โดยคาดว่าการใช้พลังงานจากดาต้าเซ็นเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2040 ซึ่งการเพิ่มส่วนใหญ่จะมาจากเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์จะไม่ถูกมองข้ามโดยภาครัฐหรือรัฐบาลของประเทศ เนื่องจากความยั่งยืนยังคงเป็นประเด็นสำคัญสำหรับทั้งภาครัฐและเอกชน
แม้เราจะอยู่ในช่วงเวลาของสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ผมก็ดีใจที่ได้เห็นว่าความยั่งยืนยังคงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เพราะความก้าวหน้าในปัจจุบันไม่ควรเป็นสาเหตุที่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนรุ่นถัดไปในอนาคต ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริคให้การสนับสนุนเรื่องที่ละเอียดอ่อนนี้อย่างจริงจัง
โดยทั่วไปการต่อต้านการลดความสำคัญของความยั่งยืนในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกในปัจจุบันอยู่ในความไม่แน่นอน (ส่วนใหญ่มาจากโควิด-19) ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิงกับการผันผวนของเศรษฐกิจทั่วโลกด้านอื่นๆ ซึ่งทำให้ประเด็นความยั่งยืนถูกลดทอนความสำคัญลงไป
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามรายงานการวิจัยฉบับล่าสุดของ 451 Research ที่สนับสนุนการจัดทำโดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค(Schneider Electric) พบว่าผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับผู้เช่าหลายราย (MTDC – Multi-Tenant Data Center) จำนวนกว่า 800 แห่งจาก 19 ประเทศ ถูกขอให้ชั่งน้ำหนักความสำคัญระหว่างแนวทางขององค์กรในเรื่องประสิทธิภาพและความยั่งยืน
ผู้ตอบสำรวจส่วนใหญ่ คิดเป็น 43 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ให้บริการ MTDC รายงานว่าองค์กรของตนมีโปรแกรมด้านความยั่งยืนในเชิงกลยุทธ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ผ่านวงจรการทำงานส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในขั้นตอนการออกแบบ สร้าง และดำเนินการ
แก้ปัญหาย้อนแย้งด้านความยืดหยุ่นและความยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน
ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ความย้อนแย้งของการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้ทั้งความยืดหยุ่นและความยั่งยืน ในสภาพการทำงานของระบบไอทีแบบไฮบริดสามารถแก้ไขได้ ที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราเชื่อว่าการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์สามารถจัดการกับความท้าทาย 4 ปัจจัยหลักต่อไปนี้ได้
- ความยั่งยืน – ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจอย่างรับผิดชอบ โดยไม่กระทบต่ออนาคตในการอยู่ร่วมกัน
- ประสิทธิภาพ – ช่วยปรับปรุงค่าใช้จ่าย เพิ่มความเร็ว และข้อได้เปรียบที่ช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การปรับตัว – ด้วยการออกแบบที่พร้อมรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคต
- ความยืดหยุ่น – ลดภาวะเสี่ยงจากการดาวน์ไทม์ที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า
การพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ท่ามกลางความท้าทายถือเป็นความรับผิดชอบที่สำคัญ ที่ต้องดำเนินการด้วยความเร่งด่วนยิ่งขึ้น เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤตด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ที่มา: เอพีพีอาร์ มีเดีย