หัวเว่ยจัดงานประชุมนวัตกรรมการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเอเชียแปซิฟิกผ่านไลฟ์สตรีมมิง ภายใต้ธีม “เปิดรับยุคใหม่ของการศึกษาอัจฉริยะ” โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมชั้นนำหลากหลายทั้งจาก ยูเนสโก-ICHEI, NUS, โอเพ่น ยูนิเวอร์ซิตี้, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย และพีดับบลิวซี รวมถึงผู้อำนวยการด้านข้อมูลข่าวสาร พันธมิตร และผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงธุรกิจอีก 450 ราย เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นในประเด็นสำคัญในอุตสาหกรรมการศึกษา เช่น วิทยาเขตอัจฉริยะ การศึกษาออนไลน์ และห้องเรียนอัจฉริยะ ตลอดจนหารือร่วมกันถึงแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยี ความท้าทายและโอกาสสำหรับข้อมูลการศึกษาในยุคหลังการแพร่ระบาด
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว และเริ่มมีการขยับอันดับในมหาวิทยาลัยโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่เทคโนโลยีเริ่มทวีบทบาทความสำคัญมากขึ้นในการเรียนการสอน และการจัดการของมหาวิทยาลัย
นายนิโคลัส มา ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก เผยถึงความเข้าใจของหัวเว่ยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยต่ออนาคตของแวดวงอุดมศึกษา หัวเว่ยให้บริการวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยกว่า 300 แห่งในเอเชียแปซิฟิกด้วยโซลูชันไอซีทีเพื่อการศึกษา และได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาจัดทำโครงการไอซีที อะคาเดมี 224 แห่ง และมีผู้ผ่านการอบรมแล้วกว่า 10,000 คน นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้พัฒนาทักษะผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีที กว่า 4,300 คนในหลายประเทศ เพื่อให้บริการลูกค้าในอุตสาหกรรมการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง และสร้างผู้มีความสามารถด้านนวัตกรรมคุณภาพสูงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้มากขึ้น
ศาสตราจารย์เชา เจียนหัว ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของยูเนสโก ICHEI ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มใหม่ที่น่าตื่นเต้นในด้านการศึกษา ศาสตราจารย์เชาเผยว่า อุตสาหกรรมการศึกษาทุกวันนี้กำลังปรับเปลี่ยนตามเทคโนโลยีดิจิทัลสำคัญ 5 อย่าง ได้แก่ AR, การเรียนรู้แบบไฮบริดส่วนบุคคล, กลศาสตร์เกม, AI และ IoT ยิ่งไปกว่านั้น จะมีรูปแบบการใช้งานใหม่ 5 อย่างในแวดวงการศึกษา ได้แก่ ระบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม การติดตามสุขภาพจิต การศึกษาทางไกลส่วนบุคคล การประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ และการศึกษาแบบร่วมมือกันส่วนบุคคล การศึกษาออนไลน์กำลังพลิกโฉมอุตสาหกรรมด้วยความยืดหยุ่น การเข้าถึงที่ง่าย และการปรับเปลี่ยนตามตัวนักเรียน นอกจากนี้ ระบบอีเลิร์นนิงกำลังค่อย ๆ กลายเป็นวิธีการสอนที่พบเห็นได้ทั่วไปในการศึกษาออนไลน์เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19
การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วง 18 เดือนให้หลังนี้ ได้ส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก อาจารย์และนักศึกษาจำนวนมากไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้เหมือนเคย ในเวทีสนทนาครั้งนี้ ผู้ร่วมอภิปรายได้แสดงให้เห็นถึงแนวทางของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการใช้เทคโนโลยี เพื่อรับมือกับผลกระทบดังกล่าว ตลอดจนแผนและวิสัยทัศน์สำหรับรูปแบบการสอนและการจัดการในอนาคต และวิธีเร่งการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันของมหาวิทยาลัยต่างๆ
ศาสตรจารย์แอนดรูว์ เชา ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของ ICHEI (ยูเนสโก) และรองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการศึกษาระดับสูง ของมหาวิทยาลัย Southern University of Science and Technology เผยว่า ICHEI ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มระหว่างประเทศสำหรับอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาภายใต้ชื่อ International Institute for Online Education (IIOE) หนึ่งในเป้าหมายของ IIOE คือยกระดับความสามารถด้านไอซีที ของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ปรับตัวกับการเปลี่ยนการศึกษาสู่รูปแบบดิจิทัลได้
ด้านรองศาสตรจารย์เอิร์ล ลิม รองประธานฝ่ายนวัตกรรมและคุณภาพการสอน มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ย้ำเตือนว่า เทคโนโลยีจะช่วยให้เราพัฒนาระบบการเรียนการสอน (และระบบแนะนำ) ที่ประมวลผลตามองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อประเมินว่านักเรียนจะได้เรียนรู้ มีทักษะ และบรรลุผลได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบเรื่องคนสำคัญมากกว่า เพราะเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น หากอาจารย์ไม่กำหนดคุณค่าอย่างเหมาะสม (ระดับความยาก ชุดความรู้ และชุดทักษะ) แก่การประเมิน หากนักศึกษาและอาจารย์ไม่ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเหล่านี้ ระบบที่ดีที่สุดก็ไม่มีประโยชน์
สำหรับความท้าทายเบื้องต้นที่มหาวิทยาลัยและสถาบันการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาต้องเผชิญอยู่นั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรพล สังข์โพธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ย้ำว่า การทำให้แน่ใจว่านักศึกษาจะมีอุปกรณ์และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมคือภารกิจแรกในการสร้างนวัตกรรมการเรียนออนไลน์ กฎระเบียบและข้อบังคับในบางประเทศยังเป็นอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย
ในหัวข้อการประเมินและการสอบ ศาสตราจารย์ริคกี้ รองประธานฝ่ายนักศึกษาและการสนับสนุน มหาวิทยาลัยโอเพ่น ยูนิเวอร์ซิตี้แห่งฮ่องกงให้ความเห็นว่า การสอบกำลังถูกมองว่าเป็นเครื่องมือแบบเก่าในบริบทปัจจุบัน การสอบอาจจะสะดวกแต่อาจไม่ใช่เครืองมือเดี่ยวที่ดีที่สุดในปัจจุบันแล้ว เนื่องจากการรับข้อมูลมีรูปแบบและขอบข่ายใช้ประเมินแตกต่างออกไปมากมาย ส่วนความเห็นต่อปัจจัยสู่ความสำเร็จสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในระดับอุดมศึกษานั้น นายโจเซฟ โฮ ผู้อำนวยการจากฝ่ายกลยุทธ์ พีดับบลิวซี ให้ความเห็นว่า ความรู้ในการใช้สิ่งที่มีอยู่ในทุกวันนี้และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์นั้นมีบทบาทสำคัญยิ่ง ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาการมีส่วนร่วมนั้นไว้เพื่อให้ได้มากกว่าเพียงการสอนด้วย กุญแจสำคัญคือการรักษาการสื่อสารให้คงอยู่และให้นักศึกษามีส่วนร่วมเสมอ ในกรณีเดียวกันนี้ รศ.ดร.นูริแซม ซาฟีย์รองคณบดีฝ่ายเครือข่ายและศิษย์เก่า คณะไอเอสที มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia) เน้นว่า ปัจจัยความสำเร็จสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในระดับอุดมศึกษา คือการเปิดรับการสอนออนไลน์แบบใหม่ รวมถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพและการจัดการการเปลี่ยนสู่การเรียนออนไลน์
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมากมายกำลังเผชิญปัญหาคล้ายคลึงกัน เช่น การขาดการมีปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา การแบ่งปันทรัพยากรการศึกษาที่ไม่เพียงพอ การจัดการที่ยากลำบากเนื่องจากบริการของสถานศึกษาที่กระจัดกระจาย การใช้พลังงานมาก และการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพต่ำ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้บริหารการศึกษาและอาจารย์ที่จะรับมือความท้าทายดังกล่าว ในงานประชุมนี้ นายชี รี จากหัวเว่ยประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แนะนำโซลูชัน Huawei Smart Campus Solution และ Smart Classroom Solution ที่ออกแบบมาสำหรับระดับอุดมศึกษา หัวเว่ยทำงานร่วมกับพันธมิตรชั้นนำของอุตสาหกรรมและใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มคลาวด์ของตนเองเพื่อให้บริการโซลูชันการศึกษาแบบ E2E อัจฉริยะที่ครอบคลุมอุปกรณ์อัจฉริยะ เครือข่ายครบวงจร และแอปพลิเคชันการสอนและการจัดการสำหรับลูกค้ามหาวิทยาลัยในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแอฟริกาใต้ อิตาลี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หัวเว่ยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีช่วยปรับใช้โหมดการเรียนรู้แบบ OMO ไฮบริดที่มีนักเรียนนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง และปรับสภาพแวดล้อมการสอน ประสิทธิภาพการสอน คุณภาพการสอน และประสิทธิภาพการจัดการในวิทยาลัยให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ ดร.ทีโอ ฮุย รองประธานสถาบันวิศวกรสิงคโปร์ และอาจารย์อาวุโสมหาวิทยาลัย Singapore University of Technology and Design (SUTD) ได้เปิดตัวโปรเจกต์ร่วมระหว่าง SUTD กับ HUAWEI CLOUD โดยเขาได้เน้นย้ำถึงโซลูชัน Smart Hybrid Learning Solution ซึ่งรวมโมดูลต่าง ๆ เช่น ระบบการจัดการการเรียนรู้บนคลาวด์ บทเรียนไฮบริดอัจฉริยะ แบบทดสอบออนไลน์ การคุมสอบด้วย AI ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เสมือน และ VDI และใช้ Huawei IdeaHub เพื่อทำการสอนแบบมีส่วนร่วมทั้งออนไลน์และออฟไลน์
การศึกษาระดับอุดมศึกษาคือพื้นฐานของประเทศในการบ่มเพาะผู้มีความสามารถใหม่ ๆ นำการวิจัยมาใช้ให้เกิดความสำเร็จในทางอุตสาหกรรม และเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันไอซีที ชั้นนำระดับโลก หัวเว่ยจะไม่หยุดพัฒนา และให้ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ใช้งานง่าย ปลอดภัย เปิดกว้าง และอัจฉริยะแก่อุตสาหกรรมการศึกษาในเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก อำนวยความสะดวกให้กับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลสำหรับการเรียนรู้และการศึกษา
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1529734/Huawei.jpg
คำบรรยายภาพ – ภาพรวมโซลูชัน Huawei Smart Education Solutions