ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคหลัง COVID-19 หลายองค์กรต่างได้รับผลกระทบในหลาย ๆ ภาคส่วน อาจจะต้องมีการชะลอการลงทุนต่าง ๆ จนทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การนำองค์กรเข้าสู่การเป็น Digital Transformation ยังจำเป็นอยู่หรือไม่?
คำว่า Digital Transformation เป็นแนวคิดที่หลายองค์กรนำมาใช้เพื่อกำหนดทิศทางและเป็นนโยบายหลักในการดำเนินธุรกิจ โดยส่วนมากจะใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยในการ Transform องค์กรเพื่อสร้าง S-CURVE ใหม่ของธุรกิจ ซึ่งเป็นความฝันของผู้นำองค์กรเกือบจะทุกคน มีทั้งองค์กรที่สำเร็จและองค์กรที่ยังทำไม่สำเร็จไม่สามารถนำ Digital Transformation มาใช้กับองค์กรได้
แต่สุดท้ายแล้ว ยังเกิดข้อสงสัยว่า Digital Transformation นั้นเป็นแค่ “แนวคิด” หรือ “เกิดขึ้นได้จริง” ในองค์กรต่าง ๆ ของไทย
ธนวินท์ รัฐเมธา ผู้ก่อตั้ง The Enterprise Content Platform ผู้สร้างสรรค์ Content สำหรับองค์กรและธุรกิจ ซึ่งมีประสบการณ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อองค์กรขนาดใหญ่ ได้กล่าวว่า “The Enterprise เกิดจากกลุ่มคนที่มีความเข้าใจในเทคโนโลยีและเข้าใจถึงความต้องการขององค์กร เนื่องจากเรามองเห็นถึงปัญหาว่า องค์กรและคนทำงานในองค์กรขาดการเข้าถึงข้อมูลที่เข้าใจง่าย เป็นกลาง และน่าเชื่อถือ เราจึงต้องการสร้าง Platform Content ที่น่าเชื่อถือ แต่มีความสร้างสรรค์และเข้าถึงกลุ่มคนในองค์กร เพราะเรามีความเชื่อว่า หากคนในองค์กรมีความรู้และไอเดียมากขึ้น ก็จะสามารถนำไปพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงที่ผ่านมา เรื่องของ Digital Transformation ได้รับการพูดถึงและมีความพยายามในการนำเอามาใช้งานจริงเป็นอย่างมาก ดังนั้น เราจึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับกรณีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ โดยเน้นไปที่แก่นแท้ของ Digital Transformation ว่าคืออะไร และทำอย่างไรถึงจะสำเร็จ”
ความหมายที่แท้จริงของ”Digital Transformation”
การนำเทคโนโลยีใด ๆ ก็ตามเข้ามาช่วยพัฒนาและแก้ไขกระบวนการทำงานของธุรกิจในองค์กรให้ดีขึ้น แน่นอนว่าเป็นความหมายง่าย ๆ แต่เต็มไปด้วยสิ่งที่แฝงอยู่มากมาย การเริ่มต้น Transform ที่ง่ายที่สุด ก็คือ การนำระบบ Excel เข้ามาใช้แทนกระดาษองค์กร หรือการเลือกซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ อย่าง ERP, CRM หรือ HCM เข้ามาใช้ในองค์กร ก็ถือว่าเป็นการทำ Digital Transformation เช่นกัน การ Transform ไม่ได้อยู่ที่ว่าเทคโนโลยีนั้นล้ำสมัยมากแค่ไหน เพราะทั้งหมดขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจและกระบวนการทำงานมากกว่าการใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์องค์กรและช่วยเหลือการทำงานนั้น ๆ มากน้อยเพียงใด
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เทคโนโลยีเองก็มีความหลากหลายและได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว (High Technology) และมีความสามารถที่จะนำมาพัฒนาหรือช่วยองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การทำงานแบบ Cloud Concept (IaaS,PaaS และ SaaS) หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน (Disruptive Technology) เช่น Machine Learning หรือ AI Robotics และ IoT เหล่านี้ คือ ตัวช่วยให้การทำงานขององค์กรง่ายและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น บุคลากรสามารถนำเวลาไปใช้กับกระบวนการทำงานอื่นที่สร้างมูลค่าให้ตัวเองและองค์กรได้มากกว่าการต้องทำงานซ้ำ ๆ เดิม ๆ เช่น การทำ Marketing Campaign เพิ่มยอดขายจากข้อมูลที่ AI suggest มาให้ เป็นต้น
Digital Transformation และ Business Transformation
จากการศึกษา The Enterprise มองว่ายังมีส่วนสำคัญที่หายไปในนิยามของ Digital Transformation นั่นก็คือ คำว่า “Business” ที่ขาดหายไปในนิยามของการ Transform และเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การ Transform นั้นสมบูรณ์แบบ หลายองค์กรมองข้ามการทำ “Business Transformation” แต่มักจะกระโดดเข้าสู่เรื่องของดิจิทัลไปเลย
หลายองค์กรมักเข้าใจผิดว่า การนำเทคโนโลยีเจ๋ง ๆ และมีความซับซ้อนเข้ามาใช้งานในองค์กรจะทำให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในองค์กรจนสร้าง S-CURVE ใหม่ขององค์กรได้ ที่จริงแล้ว สิ่งนี้ถูกแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น
ถูกต้องที่เทคโนโลยีมาขับเคลื่อน Digital Transformation แต่ต้องไม่มองข้าม “ธุรกิจ” ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของธุรกิจ (Business Industry) กระบวนการทำงาน (Business Process) และที่สำคัญที่สุดคือ ทิศทางธุรกิจขององค์กร (Business Direction) สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่จะเป็นกุญแจสำคัญ ต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจตัวองค์กรเองก่อน จากนั้นจึงจะสามารถสร้าง Business Transformation ได้อย่างแท้จริง โดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง
ตัวอย่างที่ถูกต้อง เช่น COO ให้นโยบายหาระบบ CRM เข้ามาใช้เพื่อสร้าง Customer Experience ใหม่ ๆ และเปิดบริการไปหากลุ่มลูกค้าใหม่เพราะต้องการสร้างยอดขายแบบก้าวกระโดด อย่างนี้ถึงจะสร้าง Business Transformation ได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อนั้น S-CURVE ใหม่ก็จะพาองค์กรไปสู่จุดตั้งใจไว้ (Digital Transformation Roadmap)
Digital Transformation กับ 5 ความท้าทายที่ผู้บริหารและทีมทำงานได้เจอ
The Enterprise ได้รวบรวมความท้าทายจากประสบการณ์จริงที่เหล่าผู้บริหารและทีมทำงานในหลายองค์กรลงความเห็นว่าเป็นความท้าทายหลักของการทำ Digital Transformation โดยจะมุ่งเน้นไปถึงต้นเหตุของปัญหา และมีการจัดอันดับตามความถี่ที่พบ ดังนี้
- ทีม Change Management มีบทบาทสำคัญที่สุดในการทำ Transformation – การทำ Transformation จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แน่นอนว่าต้องเกิดการต่อต้านจากทั้งกระบวนการทำงานขององค์กรและตัวพนักงานในองค์กรเอง ดังนั้น การบริหารการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Management จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำคัญ และองค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
- การ Transform ที่ไม่สอดคล้องกับทิศทางของบริษัท – ทีมงานในหลายองค์กรมักจะพบว่าปัญหาของการทำ Transformation นั้นได้ผลลัพธ์ไม่สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารระดับสูงของบริษัท
- ความยากในการบริหาร Outsource ให้เข้าใจการ Transform ของบริษัท – บุคลากรขององค์กรไม่ได้มีแค่พนักงาน โดยเฉพาะในเทรนด์ขององค์กรปัจจุบันที่นิยมใช้งาน Outsource เพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการต่าง ๆ ดังนั้น หากองค์กรจ้างบริษัท Outsource มาพัฒนาระบบเพื่อทำ Transformation จะเป็นอีกหนึ่งความท้าทายหลัก เนื่องจากพวกเขาจะไม่มีความมีส่วนร่วมในการ Transform แต่จะมองแค่การทำตามความต้องการเป็นเรื่อง ๆ ไปเท่านั้น
- การให้ความสำคัญกับ Business Process มากที่สุด – เทคโนโลยีที่เข้ามาจะเข้ามาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง Business Process องค์กรควรต้องมีความชัดเจนตั้งแต่แรก ไม่ควรให้น้ำหนักกับ Best Practice มากไปกว่าความเป็นตัวขององค์กรเอง
ที่มา: ลิตเติ้ล ปีปปา