SHOPLINE ผู้นำระบบจัดการร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซแบบครบวงจรอันดับหนึ่งของเอเชีย ชี้อีคอมเมิร์ซ(E-commerce) และโซเชียลคอมเมิร์ซ(Social Commerce) จะยังเติบโตต่อเนื่องด้วยปัจจัยของการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ซึ่งจะส่งผลให้พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้คนมุ่งสู่ออนไลน์มากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นทั้งในอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซ โดย SHOPLINE พร้อมเดินเกมรุกช่วยผู้ประกอบการ SMEs ไทยผ่านวิกฤติการค้าด้วยอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซ ผ่าน 3 กลยุทธ์สำคัญ ทั้งด้านบริการโซลูชันตอบโจทย์ธุรกิจให้สามารถเริ่มทำธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การจัดกิจกรรมติดอาวุธความรู้ผู้ประกอบการไทยในการทำธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซให้ประสบความสำเร็จ และการออกแพ็คเกจบริการในราคาที่คุ้มค่ามากที่สุดเพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจทุกขนาดสามารถเข้าถึงบริการได้
ในปัจจุบันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยจะมาจากผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นเสาหลักสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ ด้วยขนาดธุรกิจ (จีดีพี) ของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 5.6 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนของ 34%ของขนาดเศรษฐกิจ (จีดีพี) ประเทศไทย ด้วยจำนวนผู้ประกอบการมากกว่า 3.1 ล้านรายและส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่มีขนาดเล็กและกลุ่มไมโครเอ็มอี ดังนั้นการแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งถือเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่มีความเปราะบางมากที่สุด แต่ในทางกลับกันในช่วงวิกฤติการณ์นี้แนวโน้มของธุรกิจอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซกลับเติบโตขึ้นอย่าวก้าวกระโดด เห็นได้จากข้อมูลตลาดอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยปี 2563 ที่ผ่านมา มีการเติบโตสูงถึงถึง 81% (ที่มา ทีมวิจัย Google, Temasek และ Bain & Company, 2563) ด้วยมูลค่า 9,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2563 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 24,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2568 จึงเป็นสัญญาณสำคัญให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยต้องปรับและเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจสู่อีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซอย่างเร็วที่สุด เพื่อพยุงธุรกิจให้ข้ามวิกฤตนี้และสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง
นายชนนันท์ ปัญจทรัพย์ ผู้จัดการทั่วไปของ SHOPLINE ประเทศไทย กล่าวว่า SHOPLINE ถือเป็นผู้นำการให้บริการแก่ร้านค้าในภูมิภาคเอเชีย ด้วยความสำเร็จที่มีจำนวนร้านค้าออนไลน์เข้ามาใช้บริการมากกว่า 250,000 ร้านค้า ใน 10 ประเทศของภูมิภาคเอเชีย และมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มของ SHOPLINE แล้วมากกว่า 80 ล้านคน โดยจากการประเมินทิศทางตลาดอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปีที่ผ่านมา เราเชื่อว่าจากวิกฤติการณ์ COVID-19 ที่ยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนไทยทั้งในการใช้ชีวิตประจำวันและพฤติกรรมการจับจ่าย จะยิ่งทำให้ผู้คนหันมาซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งจากปัจจัยจะยิ่งสนับสนุนให้การปรับกลยุทธ์ธุรกิจสู่อีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการพาธุรกิจข้ามวิกฤติการณ์นี้ได้
โดย SHOPLINE พร้อมเดินเกมรุกช่วยผู้ประกอบการ SMEs ไทยผ่านวิกฤติการค้าด้วยอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซ ผ่าน 3 กลยุทธ์สำคัญ ทั้งโดยเริ่มที่การนำเสนอโซลูชันที่จะตอบโจทย์ธุรกิจ SMEs ให้สามารถเริ่มทำธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พร้อมด้วยการติดอาวุธผู้ประกอบการ SMEs ไทยในการทำธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซให้ประสบความสำเร็จ พร้อมด้วยการออกแพ็คเกจค่าบริการในราคาที่คุ้มค่ามากที่สุดเพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจทุกขนาดสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างไม่ลังเล
เริ่มที่กลยุทธ์ที่ 1 คือ การนำเสนอโซลูชันที่จะตอบโจทย์ธุรกิจ SMEs ด้วยโซลูชันของ SHOPLINE ที่มีครอบคลุมสำหรับร้านค้าออนไลน์ทั้ง บริการจัดการร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซ หรือ E-commerce Solution ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกธุรกิจครอบคลุม ตั้งแต่การเปิดร้านค้าออนไลน์และระบบจัดการหลังบ้าน ได้แก่ โซลูชันการสร้างเว็บไซด์สำหรับร้านค้าที่รองรับขนาดหน้าจอของอุปกรณ์ได้หลากหลายรูปแบบ ที่มาพร้อมด้วยระบบการจัดการร้านค้าออนไลน์ ทั้งระบบการจัดการออเดอร์ การจัดการสต็อกสินค้า การชำระเงิน การทำ ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ CRM เครื่องมือทางการตลาด การวิเคราะห์ข้อมูลและตัวติดตามทางการตลาดเพื่อช่วยกระตุ้นยอดขาย สามารถเชื่อมกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้ อาทิ Google, Facebook, LINE OA และอื่น ๆ
ระบบการจัดการร้านค้าบนโซเชียลคอมเมิร์ซ หรือ Social Commerce Solution ที่จะช่วยตอบโจทย์ทุกธุรกิจที่ต้องการกระตุ้นยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพร้อมฟีเจอร์ที่โดดเด่นมากมาย อาทิ Shopline Live App ระบบตัวช่วยแม่ค้าออนไลน์ในการ live-streaming ขายสินค้าแบบครบวงจรที่สามารถช่วยจัดการออเดอร์ ตอบกลับลูกค้า และระบบการชำระเงิน อีกทั้งระบบการจัดการข้อความจากลูกค้า โดยมี Chatbot เพื่อการตั้งค่าคำถามที่ถูกถามบ่อย และสามารถเชื่อมต่อกับ LINE OA ได้
พร้อมกันนี้ ยังมีบริการเสริมองค์ความรู้ทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทย ด้วยการจัด webinar ของ SHOPLINE ที่มีการจัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน โดยในเดือนพฤษภาคมนี้ SHOPLINE จะจัดสัมมนาออนไลน์ฟรีในหัวข้อ “SHOPLINE101 ตัวช่วยแม่ค้าออนไลน์ทำอะไรได้บ้าง?” ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป ซึ่งงานสัมมนาสำหรับครั้งนี้มีจะช่วยให้ผู้ประกอบการได้รู้ขั้นตอนและเทคนิคในการเปิดร้านค้าออนไลน์ด้วยโซลูชันจาก SHOPLINE ที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วใน 3 นาที และเรียนรู้วิธีการทำงานของระบบดูดออเดอร์จากการ LIVE สดที่ใช้งานได้ง่าย ขายสินค้าได้คล่อง โดยจะมีวิทยากรทีม E-commerce Expert จาก SHOPLINE Thailand มาให้ความรู้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่ต้องการอัพเดทความรู้ด้านธุรกิจและเทรนด์การตลาดดิจิทัลที่น่าสนใจ ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ http://bit.ly/SLWebinarRegister นอกจากนั้น SHOPLINE ยังมีบทความดีๆ เพื่ออัปเดตความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์ผ่านทางห้องเรียน SHOPLINE ที่ https://blog.shopline.co.th
และสุดท้ายอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่ทาง SHOPLINE มีความตั้งใจที่จะทำเพื่อผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ คือ การเปิดตัวบริการด้วยแพ็คเกจค่าบริการแบบคุ้มค่า ด้วยราคาเริ่มต้นเพียงเดือนละ 599 บาท สำหรับบริการอีคอมเมิร์ซ หรือรวมสองแพ็กเกจทั้งอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซที่ราคาค่าบริการเพียง 1,190 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ประกอบการในประเทศไทย
“ความท้าทายของผู้ประกอบการ SMEs ไทยในวันนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การผ่านวิกฤติการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและพฤติกรรมของผู้คน แต่ยังรวมถึงการปรับกลยุทธ์ธุรกิจภายใต้ข้อจำกัด ทั้งด้านกำลังคน เงินทุน และความรู้ในการทำการตลาดดิจิทัล ที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs ไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่การค้าบนอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซได้ทันเวลาและตอบโจทย์เป้าหมายธุรกิจ ด้วยโจทย์ที่ท้าทายนี้ SHOPLINE จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเริ่มต้นธุรกิจบนออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วในช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้” นายชนนันท์ กล่าวในตอนท้าย
หากท่านใดสนใจ สามารถติดต่อ SHOPLINE ได้ที่
- Line OA : @Shoplineth หรือคลิ๊ก https://bit.ly/SHOPLINETH_LINE
- โทร: 0946538866, 0818292797
- ปรึกษาฟรีได้ที่ :https://bit.ly/3h2oSpT
ที่มา: ชมฉวีวรรณ