GESDA เตรียมจัดการประชุมสุดยอดครั้งแรกในเดือนต.ค. สำหรับโครงการริเริ่มด้านการทูตระดับโลกตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดใหม่

Geneva Science and Diplomacy Anticipator (GESDA) มูลนิธิสัญชาติสวิสที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือด้านการทูตระดับโลกแห่งแรกโดยอิงตามการคาดการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ได้เปิดเผยรายงานกิจกรรมฉบับแรกและประกาศว่าจะจัดการประชุมสุดยอดประจำปีครั้งแรกสำหรับโซลูชันต่าง ๆ โดยอิงตามแพลตฟอร์มการตัดสินใจที่เป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิอย่าง GESDA Breakthrough Radar

การประชุมสุดยอด GESDA ประจำปีครั้งแรกจะจัดขึ้นในวันที่ 7-9 ต.ค. โดยคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 300 คน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ผู้ชนะรางวัลโนเบล และตัวแทนท่านอื่น ๆ จากชุมชน GESDA ทั้ง 4 ชุมชน อันได้แก่ นักวิชาการ นักการทูต ผู้นำที่สร้างผลกระทบ องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนทั่วไป ณ Campus Biotech ซึ่งเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์ของเมืองเจนีวา ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ GESDA โดยผู้เข้าร่วมจะหารือประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในการประชุมเชิงโต้ตอบและการสนทนาอื่น ๆ ดังนี้

  • วิธีกระตุ้นระบบพหุภาคีผ่านการคาดการณ์และการดำเนินการในการทูตวิทยาศาสตร์
  • ความท้าทายระดับโลกในอนาคตสำหรับวิศวกรรมจีโนมมนุษย์
  • อนาคตทั่วไปสำหรับควอนตัมคอมพิวติง
  • ถนนสู่การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอวกาศ
  • การร่วมพัฒนา AI ขั้นสูงในระดับโลกด้วยการเข้าถึงที่ปลอดภัยแบบสากล
  • และแผนการจัดหาเงินทุนและการพัฒนาในอนาคตตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

ในการประชุมสุดยอดดังกล่าว GESDA จะเปิดตัว Breakthrough Radar เครื่องมือการตัดสินใจที่เป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิ ซึ่งจะประเมินผลกระทบและแรงผลักดันของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในอนาคต พร้อมกรอบเวลาที่เกี่ยวข้องกับ GESDA (5, 10 และ 25 ปี) ใน 4 ประเด็นใหม่ทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การปฏิวัติควอนตัมและปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง (AI) การเสริมทักษะมนุษย์ (Human Augmentation) การฟื้นฟูเชิงนิเวศ และการแทรกแซงระบบธรรมชาติ เช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์และการทูตเชิงคาดการณ์ ทั้งนี้ เครื่องมือ Breakthrough Radar ได้ออกแบบมาเพื่อจัดทำแผนที่ที่อ่านง่ายสำหรับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ที่อาจเกิดขึ้น และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้คน สังคม และโลกใบนี้ ขณะที่ GESDA กำลังผลักดันการพัฒนาโซลูชันในเจนีวาโดยอิงตามการสอดแนมทางวิทยาศาสตร์เชิงคาดการณ์ เพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลกในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น

  • องค์กรลูกผสมที่มีลักษณะคล้าย CERN/IAEA เพื่อรับประกันการเข้าถึงและการใช้โครงสร้างพื้นฐานควอนตัมสำหรับการสื่อสารและการประมวลผลอย่างปลอดภัย ในลักษณะคล้ายกับองค์กรเพื่อวาระความความปลอดภัยระดับชาติและนานาชาติเชิงกลยุทธ์ 
  • การจัดตั้งศาลระดับโลกแห่งใหม่หรือหน่วยงานระงับข้อพิพาทสำหรับการกำกับตนเองในเรื่องข้อพิพาททางวิทยาศาสตร์ด้านจริยธรรม ความเป็นส่วนตัว การกำกับดูแลด้านวิทยาศาสตร์ และผลประโยชน์ของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์โดยรวมต่อมนุษยชาติ
  • ข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาร่วมกัน การเข้าถึง และการใช้โมเดล AI ขั้นสูง พร้อมกับการสร้างองค์กรเพื่อสนับสนุนและควบคุมมาตรฐานการกำกับดูแลระดับโลกเหล่านั้น
  • และการวิจัยและพัฒนาคล้ายโครงการแมนฮัตตันที่ดำเนินการเพื่อช่วยให้วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเร่งการหยุดปล่อยก๊าซคาร์บอนของกระบวนการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในทศวรรษหน้า

GESDA ได้เรียกประชุมนักวิทยาศาสตร์ นักการทูตอาวุโส ผู้ใจบุญ หัวหน้าองค์กรระหว่างประเทศ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงประมาณ 100 คน ตลอดจนองค์กร NGO และประชาชนทั่วไป ตามที่ระบุรายละเอียดในรายงานกิจกรรมประจำปีฉบับแรกซึ่งครอบคลุมปี 2562 และ 2563 อันรวมถึงข้อเท็จจริงสำคัญและตัวเลขเกี่ยวกับความคืบหน้าของมูลนิธิ นอกจากนี้ มูลนิธิได้จัดทำบทสรุปวิทยาศาสตร์เชิงคาดการณ์ 11 ประการและรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ ผู้นำทางการเมืองและธุรกิจ และประชาชนทั่วไปประมาณ 60 คน เพื่อหารือเกี่ยวกับบทสรุปเหล่านี้ในการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการวิชาการและการทูตระดับสูงในเดือนธ.ค. 2563 และ GESDA ได้ดึงดูดเงินทุนเพื่อการกุศลเพื่อสมทบการระดมทุนระดับ seed funding จากรัฐบาลกลางสวิส เช่นเดียวกับเมืองเจนีวา

รายงานกิจกรรมประจำปีฉบับแรกได้เผยแพร่ หลังจากรัฐบาลกลางของสวิตเซอร์แลนด์เสริมสร้างบทบาทของเมืองเจนีวาในฐานะศูนย์กลางการกำกับดูแลด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี ด้วยการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต Alexandre Fasel เป็นผู้แทนพิเศษคนแรกสำหรับการทูตด้านวิทยาศาสตร์ในเจนีวาเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา

“GESDA ประสบความสำเร็จจนเกินความคาดหมายของผมจริง ๆ” Peter Brabeck-Letmathe ประธานคณะกรรมการของ GESDA กล่าว “โลกกำลังเผชิญกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่รวดเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน การค้นพบเหล่านี้จะพลิกวิธีที่เรามองตัวเองในฐานะมนุษย์ วิธีสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันในสังคม และการดูแลสิ่งแวดล้อม โดย ESDA จะมีบทบาทสำคัญในการคาดการณ์ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์แนวใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่าเราสามารถช่วงชิงศักยภาพความก้าวหน้าเหล่านั้นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีทั่วโลกและการพัฒนาที่ครอบคลุม พร้อมกับปกป้องสวัสดิภาพส่วนรวมของเรา”

“เทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง การแก้ไขจีโนม การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบประสาท การลดคาร์บอน และการทูตเชิงคำนวณ จะเข้ามามีอิทธิพลระดับโลกในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า” Patrick Aebischer รองประธาน GESDA และอดีตประธานสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในโลซาน กล่าว “GESDA จะทำหน้าที่เป็น “คลังสมอง” และ “นักลงมือ” โดยเชื่อมโยงชุมชนต่าง ๆ พร้อมกับทำให้มั่นใจได้ว่าเราสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อย่างที่คาดเอาไว้ เราต้องแน่ใจว่าเราพร้อมที่จะวางกรอบการกำกับดูแลโดยไม่ทำให้นวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนก้าวหน้าช้าลง โดยมองไปที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและความท้าทายระดับโลกที่กำลังจะมาถึง”

เกี่ยวกับ  Geneva Science and Diplomacy Anticipator (GESDA)

Geneva Science and Diplomacy Anticipator (GESDA) เป็นมูลนิธิสัญชาติสวิสและเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2562 เพื่อเป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และการทูตเชิงคาดการณ์เพื่อผลกระทบที่ใหญ่ขึ้นและประสิทธิภาพในระดับพหุภาคี

วิสัยทัศน์อันทะเยอทะยานของ GESDA ในการใช้อนาคตสร้างปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงความเร็วของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และพลวัตของเมืองเจนีวา อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของมูลนิธิซึ่งเป็นศูนย์กลางพหุภาคีระดับโลกและเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ในยุโรปขององค์การสหประชาชาติ รวมถึงองค์กรเอกชน ธุรกิจระหว่างประเทศ และสถาบันการศึกษาระดับโลกอื่น ๆ มากกว่า 2,000 แห่ง

GESDA ได้แก้ไขปัญหาพื้นฐาน 3 ประการเพื่อรับมือกับความท้าทายที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งขับเคลื่อนโดยชุมชนระดับโลกที่มาจากทั่วทุกมุมโลก ดังนี้

  • เราเป็นใครในฐานะมนุษย์ การเป็นมนุษย์ในยุคของหุ่นยนต์ การตัดต่อพันธุกรรม และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (augmented reality) มีความหมายอย่างไร
  • เราทุกคนจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร เทคโนโลยีใดที่สามารถนำไปใช้เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาความเป็นอยู่ และส่งเสริมการพัฒนาโดยรวม
  • เราจะสร้างหลักประกันความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติและอนาคตที่ยั่งยืนของโลกใบนี้ได้อย่างไร เราจะจัดหาอาหารและพลังงานที่จำเป็นให้กับประชากรในขณะที่สร้างโลกของเราขึ้นมาใหม่อีกครั้งได้อย่างไร

ในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ งานของมูลนิธิจึงประกอบด้วย

  • คาดการณ์ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่จะส่งผลกระทบต่อโลก โดยระบุว่า “กำลังดำเนินการอะไร” และจะได้ผลลัพธ์อะไรจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในอีก 5, 10 หรือ 25 ปีข้างหน้า (ไม่ว่าจะเป็นในทางวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ หรือมนุษย์) ผ่านทางระบบสอดแนมระดับโลกที่ปรับปรุงทุกปี โดยมุ่งเน้นถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้คน สังคม และโลกใบนี้
  • เร่งหารือเกี่ยวกับโอกาสที่ได้รับจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้กับบรรดานักการเมือง นักการทูต ผู้ใจบุญ ผู้ประกอบการ องค์กร NGO ประชาชนทั่วไป เพื่อออกแบบโซลูชันที่สามารถจัดการกับความท้าทายระดับโลกในปัจจุบันหรือที่เกิดขึ้นใหม่ที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ รวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2573 ขององค์การสหประชาชาติ
  • แปลงโซลูชันเหล่านี้ให้เป็นโครงการที่เป็นรูปธรรมและล้ำสมัย โดยรวบรวมความร่วมมือ พันธมิตร และนักลงทุนที่จำเป็น ในการดำเนินการร่วมกับสถาบันพหุภาคีต่าง ๆ ซึ่งเจนีวาเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานของสหประชาชาติ
ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ สำหรับสื่อมวลชน
Stephane Decoutere Olivier Dessibourg
เลขาธิการ ผู้อำนวยการบริหารด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
[email protected] [email protected]
+41 79 292 50 80 +41 78 712 88 68
สำหรับนักลงทุน ติดตามทางออนไลน์
Sandro Giuliani เว็บไซต์: www.gesda.global
ผู้อำนวยการบริหารกองทุน Impact Fund  Linkedin: https://www.linkedin.com/company/gesda-global/
[email protected] Twitter: https://twitter.com/GESDAglobal
+41 79 303 06 00

โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/1486243/GESDA_Logo.jpg

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์