ใกล้เข้ามาแล้วกับการประกาศใช้ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) แบบเต็มรูปแบบในปี 2564 นี้ หลายคนเริ่มเข้าใจถึงสาระสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมายนี้และเริ่มนำไปปรับใช้กันในองค์กรบ้างแล้ว
แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าแล้วเราจะดูแลอย่างไรให้ข้อมูลส่วนบุคคลของเราปลอดภัยจริง ตามหลัก PDPA วันนี้เราจึงจะมาทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีดูแลข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามกฎหมายกันอย่างถูกต้อง
อย่างแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่อะไรบ้าง
ADD เลยนำตัวอย่างข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลและที่ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลมาแยกแยะให้ทุกคนเข้าใจง่ายขึ้น.
ข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล
เป็นข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ทั้งแบบ online และ offline ในทางตรงและทางอ้อม
- ชื่อ-นามสกุล
- ที่อยู่
- เบอร์โทรศัพท์
- รูปถ่าย
- เลขบัตรประชาชน
- วันเกิด
- เชื้อชาติ
- อายุ
- ประวัติการทำงาน
- ข้อมูลสุขภาพ
- ข้อมูลด้านการเงิน
- Biometric (เช่น ลายนิ้วมือ)
- ความคิดเห็นต่างๆ
- อื่นๆ
ข้อมูลที่ไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล
- เลขทะเบียนบริษัท
- ข้อมูลติดต่อทางธุรกิจที่ไม่ได้ระบุถึงตัวบุคคล
- ข้อมูลผู้ตาย
หากองค์กรต้องการนำข้อมูลไปใช้ไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม ต้องได้รับความยินยอมจากข้อมูลก่อนเสมอ โดยต้องทำการขอคำยินยอม (Consent) อย่างถูกต้องและชัดเจน
หลังจากเราทราบประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลไปเบื้องต้นแล้ว ทีนี้เรามารู้จักวิธีดูแลข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยตามหลัก PDPA กันเลย ซึ่งการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลที่ปลอดภัยสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
วิธีดูแลข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยตามหลัก PDPA
- Encryptionปกป้องข้อมูลที่พบด้วยการเข้ารหัสและกำหนดนโยบายรักษาความปลอดภัย
- Access Controlการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล เพื่อไม่ให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลนั้นๆได้ เช่น การกำหนดสิทธิให้แค่ฝ่าย HR สามารถเข้าถึงข้อมูลของพนักงานได้ ส่วนฝ่ายบัญชีสามารถเข้าถึงได้เฉพาะข้อมูลเงินเดือนของพนักงาน หากฝ่ายบัญชีต้องการเข้าถึงข้อมูลส่วนอื่นๆของพนักงานก็จะไม่สามารถเสดงข้อมูลได้ครบถ้วน (Data Masking) ซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งนโยบายของบริษัท เป็นต้น
- ติดตามการใช้งานข้อมูลและแอปพลิเคชันบนระบบคลาวด์ของผู้ใช้หากใครใช้ Windows จะสามารถเข้าใช้ Microsoft 365 ที่มีชุดเครื่องมือสามารถ ติดตาม ตรวจสอบ และป้องกัน การใช้งานไฟล์ที่มีข้อมูลส่วนตัวไปใช้งานบนแอปพลิเคชันบนระบบคลาวด์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ขององค์กรได้
- มีการระบุความเสี่ยงโดยองค์กรควรร่างนโยบายเกี่ยวกับ Data Privacy/Data Protection Impact Assessment และ Risk Assessment เพื่อเป็นมาตรการในการวางแผนป้องกันข้อมูลและรองรับในกรณีที่ข้อมูลเกิดการรั่วไหล
- มีระบบ Monitoringสำหรับ Monitor พฤติกรรมการใช้งานของ user ในระบบ ถ้าหากมีพฤติกรรมการใช้งานที่ผิดปกติ ระบบควรมีการแจ้งเตือนให้ผู้ดูแลระบบทราบ
- จัดอบรมเกี่ยวกับการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรงทั้งในรูปแบบ IT และ Non-IT
- ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ใช้แล้วอย่างถูกต้องเนื่องจากหลายองค์กรจะมีข้อมูลที่ค่อนข้างมากอยู่ในระบบ และมักจะมีข้อมูลที่ไม่ใช้แล้วหลงเหลืออยู่โดยที่คิดว่าการกดลบหรือ ลบลงRecycle Bin จะทำให้ลบข้อมูลส่วนบุคคลออกไปหมดได้ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงานที่ลาออกไปแล้ว หรือข้อมูลความลับองค์กรก็ตาม
แต่!!…
เพียงแค่การกดลบออกจากถังขยะ หรือการ Format ข้อมูลยังไม่สามารถเคลียข้อมูลออกไปหมดได้ ซึ่งหากข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลสำคัญขององค์กรเหล่านี้ตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดี อาจสร้างความเสียหายในเชิงธุรกิจของคุณอย่างมหาศาลและอาจจะทำให้องค์กรของคุณเสียชื่อเสียงในฐานะองค์กรที่ทำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นรั่วไหล และโดนบทลงโทษตามกฎหมาย PDPA อีกด้วย
ซึ่งการทำลายข้อมูลควรเลือกหน่วยงานเฉพาะด้านหรือ Third Party ที่ดูแลจัดการข้อมูลอย่างปลอดภัย และควรเป็นหน่วยงานที่เชื่อถือได้ มีมาตรการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นอย่างปลอดภัย ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงมีหลักฐานการทำลายข้อมูลที่ชัดเจน
เพราะสาเหตุหลักๆที่เราพบเห็นกันตามข่าวเกี่ยวกับข้อมูลขององค์กรรั่วไหลมักเกิดขึ้นหลังจากองค์กรเหล่านั้นเลิกใช้อุปกรณ์ IT ต่างๆ หรือการนำไปทำลายกับบุคคล/หน่วยงานที่ไม่มีมาตรฐาน เลยทำให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์ของข้อมูลเหล่านั้นอยู่บ่อยๆ
แต่สำหรับ Asia Data Destruction เราเป็นหน่วยงานที่ดูแลจัดการข้อมูลของคุณโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลความลับองค์กรต่างๆที่ต้องการทำลายทิ้งและไม่อยากให้รั่วไหลออกไป รวมถึงเรายังใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยการรับซื้ออุปกรณ์ IT ของคุณหลังจากทำลายข้อมูลอย่างหมดจดแล้ว ด้วยที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นยังสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ โดยปราศจากข้อมูลของคุณในเครื่องอีกด้วย
ที่มา : microsoft, Chula Law, Sirisoft
ที่มา: เอเชีย ดาต้า เดสตรัคชั่น