โดย Partha Narasimhan, CTO of Aruba, a Hewlett Packard Enterprise company
ปี 2564 นี้เริ่มต้นขึ้นด้วยสถานการณ์ที่แตกต่างจากช่วงต้นปี 2563 ส่งผลให้บทบาทของระบบเครือข่ายและระบบ IT ได้กลายเป็นพระเอกที่เข้ามาช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงท่ามกลางภัยโรคระบาดนี้ แต่สำหรับบางองค์กรอาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้
อย่างไรก็ดีสำหรับสถานการณ์นับจากนี้ไป CIO ต้องมองไปสู่อนาคตเพื่อกำหนดแนวทางและกลยุทธ์สำหรับโลกยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19
อรูบ้า (Aruba) มองเห็นปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่ CIO จะต้องเผชิญ ซึ่งเป็นตัวแปรหลักที่จะเข้ามาช่วยผลักดัน หรือในทางตรงกันข้ามอาจเป็นอุปสรรคที่เข้ามาชะลอแผนการทางด้าน IT ขององค์กรได้ นั่นคือ:
– การเกิดขึ้นของการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Workforce) และพัฒนาการต่อไปในระหว่างและหลังการแพร่ระบาด
– บทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเครือข่ายที่ต้องครอบคลุมทุกส่วนบนระบบเครือข่าย
– ความเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดการทำงานของระบบเครือข่าย จากระยะเวลาที่เครือข่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไปสู่ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ด้วยการวิเคราะห์ระบบเครือข่ายแบบองค์รวมในฐานะของส่วนหนึ่งภายใต้เทคโนโลยีที่ใช้งานทั้งหมด
– การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการดูแลการดำเนินงานของระบบเครือข่ายมากขึ้น เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจาก LAN, WAN และ Cloud
การทำงานแบบไฮบริดที่จะคงอยู่ต่อไป
แม้จะมีความคืบหน้าในด้านวัคซีนป้องกัน COVID-19 แต่พนักงานในองค์กรหลายตำแหน่งอาจยังกลับเข้าทำงานได้ไม่เต็มที่จนกว่าจะถึงปลายปี 2564 และในบางธุรกิจอาจจะยังเข้ามาทำงานในสำนักงานไม่ได้เลย
หลังจากพูดคุยกับ CIO จากทั่วโลกสิ่งที่ชัดเจนก็คือ รูปแบบการทำงานจากระยะไกลจะยังคงอยู่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเรื่องการเข้าใช้พื้นที่ในสำนักงาน วัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนการเชื่อมต่อและระบบเครือข่าย
หลาย ๆ องค์กรคิดว่าการสร้างระบบทำงานจากระยะไกล (Remote Setups) จะเป็นเพียงเรื่องชั่วคราวในช่วงที่อัตราการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขึ้นสูงเท่านั้น แต่การทำงานในลักษณะนี้กลับพัฒนามากขึ้น ไปสู่การทำงานแบบไฮบริดที่มีประสิทธิภาพและอัจฉริยะมากขึ้น โดยพนักงานสามารถจะทำงานจากที่บ้าน ที่ทำงานหรือที่ไหน ๆ ก็ได้ ด้วยการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้
สำหรับ IT แล้ววิกฤตครั้งนี้นับว่ามีความท้าทายอย่างมาก แต่ก็กระตุ้นให้ CIO และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรได้ตระหนักถึงผลกระทบที่ IT จะมีต่อธุรกิจ รวมถึงความรวดเร็วในการติดตั้งและใช้งานระบบใหม่ ๆ ซึ่งต้องดำเนินการได้แม้ในสถานการณ์ที่กดดัน
ตอนนี้ CEO รวมถึงผู้บริหารระดับสูง กำลังคิดถึงบทเรียนที่ได้รับจากการระบาดครั้งใหญ่นี้เพื่อให้ระบบเครือข่าย, ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย และโครงการทางด้าน IT มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น
ซึ่งผลลัพธ์ก็คือการที่ฝ่าย IT ได้เข้าไปมีบทบาทในการผลักดันการทำ Digital Transformationมากขึ้น รวมถึงยังมีส่วนในการเร่งแผนงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ท่ามกลางความมั่นใจของพนักงานในองค์กรที่ต้องปรับตัวไปสู่ ความปรกติรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ได้นั่นเอง
มุมมองต่อความมั่นคงปลอดภัยที่ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด – จาก Endpoint ไปยัง the Edge ไปจนถึง the Cloud
ด้วยการเติบโตเต็มที่ของระบบคลาวด์และการขยายตัวของ Edge Networking ซึ่งมีจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ามาที่จุด Endpoint เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว – ทั้งหมดนี้ถูกเร่งขึ้นจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ IoT – วิธีการที่กำหนดและสร้างระบบความมั่นคงปลอดภัยที่ใช้ในขณะนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการออกแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมระบบเครือข่าย ซึ่งไม่ได้เป็นแค่เพียงส่วนเสริมของระบบ IT ในองค์กรอีกต่อไป
จากการเติบโตของสภาพแวดล้อมในการทำงานจากระยะไกลและการทำงานแบบไฮบริด เหล่า CSO และ CIO นั้น ต่างก็เรียกร้องหาแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เชื่อมโยงถึงกัน
เมื่อพิจารณาถึงหลักการออกแบบระบบครือข่ายในอดีตที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยนั้นจะเริ่มต้นจากการกำหนดนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และออกแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายที่สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว ซึ่งหมายถึงการที่ระบบโครงสร้างเครือข่ายและนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยจะเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก
อย่างไรก็ดีแนวทางดังกล่าวนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก เพราะโซลูชันด้านระบบเครือข่ายได้วิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการแบ่งแยกส่วนของระบบเครือข่ายได้ในหลายระดับ ในขณะที่นโยบายนั้นก็ถูกเปลี่ยนไปเป็นในลักษณะเพิ่มความสามารถในการตั้งค่าการควบคุมการทำงานเฉพาะในเวลาและตำแหน่งที่จำเป็นเท่านั้น
โซลูชันสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบ Zero Trust จะยังคงเป็นแกนหลักของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพด้วยระบบงานไอทีแบบเดิมที่ย้ายออกจาก Edge ไปสู่สภาพแวดล้อมระบบคลาวด์หรือ SaaS แทน รวมถึงมีการใช้งาน OT/IoT workloads เกิดขึ้นที่ Edge อย่างมากมาย
นอกจากนี้ด้วยการนำ 5G มาใช้ สถาปัตยกรรมเครือข่ายจะต้องต่อสู้กับปริมาณงานจากการประมวลผลแบบหลายช่องทางการเข้าถึงจาก Edge (Multi-Access Edge Compute: MEC) ทั้งแบบส่วนตัวและสาธารณะ ยิ่งต้องการวิธีคิดและการปฏิบัติที่ยืดหยุ่นในการกำหนดนโยบายความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งต้องพัฒนาให้ก้าวล้ำไปกว่าแนวคิดการรักษาความปลอดภัยแบบผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ไปสู่การออกแบบระบบเครือข่ายโดยยึดข้อมูลเป็นศูนย์กลาง หรือ Zero Trust ที่ลงตัวที่สุดสำหรับวันนี้
ความพึงพอใจของผู้ใช้คือเป้าหมายสูงสุด
ตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านไอทีที่สำคัญ (Key IT Metrics) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน การทำให้โครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่ายทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่เพียงพออีกต่อไป ต้องมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการทำงานตามปกติประจำวัน (Metric Du Jour) คือการสร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้ ซึ่งในมุมมองของ CIO นั้นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คือผลต่อผลกำไรของธุรกิจ
ขณะที่ทีมงานดูแลระบบเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัย พวกเขาต้องให้ความสำคัญกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของผู้ใช้ปลายทาง และคาดหวังกับบริการและแอปพลิเคชันที่เลือกใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ดังนั้นทีมงานดูแลระบบเครือข่าย ต้องปรับวิธีคิดและวิธีการทำงาน โดยแทนที่จะถามเพียงว่า อุปกรณ์ประเภทใดที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย พวกเขายังต้องให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการเชื่อมต่อในขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมความเสี่ยงให้ได้อีกด้วย
ที่สำคัญ ต้องมีเป้าหมายในการควบคุมดูแลระบบเครือข่ายไปพร้อมกับการสร้างความคล่องตัวทางธุรกิจ ด้วยการใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม CIO จะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับสภาพแวดล้อมไอทีให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
ในที่สุด CIO ต้องการข้อมูลเชิงลึกมากกว่าค่าพื้นฐานต่าง ๆ จากระบบเครือข่าย นั่นหมายถึงความพร้อมใช้งานของระบบเครือข่ายและประสิทธิภาพของการใช้งานแอปพลิเคชันผ่านระบบเครือข่ายที่ผู้ใช้และผู้บริหารให้ความสำคัญ พวกเขาไม่ได้สนใจในความซับซ้อนของเครือข่ายว่าทำงานอย่างไร แต่พวกเขากังวลถึงประสบการณ์และความพึงพอใจจากการใช้งานแอปพลิเคชันประชุมทางไกลมากกว่า
นำระบบอัตโนมัติมาใช้จัดการการดำเนินงานของระบบเครือข่ายให้มากขึ้น
ความสามารถในการทำความเข้าใจกับความต้องการและประสบการณ์ของผู้ใช้ได้นี้ ทำให้ระบบเครือข่ายอัตโนมัติเติบโตขึ้น แต่ความก้าวหน้าของระบบอัตโนมัตินั้นยังไม่ได้ถูกพัฒนาให้เทียบเท่า สม่ำเสมอกันในทุกส่วนของระบบเครือข่ายทั้งหมด
เช่น ในศูนย์ข้อมูลซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ WAN หรือ LAN การนำระบบอัตโนมัติไปใช้จะง่ายและทำได้มากกว่าเพราะการเปลี่ยนแปลงในศูนย์ข้อมูลส่วนใหญ่เกิดตามโครงสร้างลำดับชั้นโดยธรรมชาติของมัน ดังนั้นจึงง่ายต่อการทำความเข้าใจและจัดการผ่านสคริปต์ที่เขียนให้ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ
แต่ในทางกลับกัน Edge (ทั้ง LAN และ WAN) เป็นสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากปัจจัยที่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมของ IT โดยสิ้นเชิง นั่นคือรูปแบบพฤติกรรมของมนุษย์และอุปกรณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการใช้ประโยชน์จาก AI และ Machine Learning เพื่อรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงได้ทันทีที่เกิดขึ้นและตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดในช่วงเวลาสั้น ๆ นั้นในทันที การเติบโตของโซลูชันซึ่งมีองค์ประกอบของการเรียนรู้แบบอัตโนมัติที่ Edge จะดีขึ้นอย่างมากในปี 2564 นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าที่สำคัญในการรวมสิ่งเหล่านี้เข้ากับ API และเครื่องมืออัตโนมัติอื่น ๆ ซึ่งจะมอบประสิทธิภาพและข้อมูลเชิงลึกที่ผู้นำด้าน IT ต้องการ
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังคงเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความสนใจในระบบเครือข่ายอัตโนมัติที่ Edge ในบรรดา CIO และผู้นำด้านไอที จากการสำรวจล่าสุดของผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที 2,400 คนทั่วโลกพบว่า 35% วางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในระบบเครือข่ายที่ใช้ AI เนื่องจากพวกเขาแสวงหาโครงสร้างพื้นฐานที่ทำงานโดยคล่องตัวและอัตโนมัติสำหรับสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด
ทำให้ปี 2564 ประสบความสำเร็จ
ในปี 2563 ธุรกิจและเศรษฐกิจได้รับการช่วยเหลือจากเทคโนโลยีการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เรื่องของความมั่นคงปลอดภัยในการเชื่อมต่อระบบคลาวด์ ไปจนถึงแอปพลิเคชันที่มีการจัดการและรองรับผ่านเครือข่าย
ขณะนี้ในปี 2564 ปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่ระบุไว้ข้างต้น สามารถช่วยให้ CIO และผู้นำด้านไอทีมีเครื่องมือที่พร้อมสำหรับทิศทางที่คาดเดาไม่ได้ในปัจจุบันและในอนาคต แม้ว่าการระบาดใหญ่นี้จะยังคงอยู่ หรือความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ตลอดจนวัฒนธรรมการทำงานและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปก็ตาม มันจะสามารถช่วยให้ผู้นำด้านไอทีตั้งแต่ระดับบนลงล่างไปจนถึงตำแหน่งไอทีที่มีผลต่อการวางกลยุทธ์ประสบความสำเร็จ
“สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย trend ทั้ง 4 ที่กล่าวมา สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยในประเทศไทยภาวะการระบาดที่เกิดขึ้นยิ่งทำให้มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในทุกภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่เปลี่ยนไปและเพื่อให้สามารถแข่งขันต่อไปได้ในช่วงวิกฤตินี้ อรูบ้าได้พัฒนาระบบเครือข่ายในส่วนของ แคมปัส ดาต้าเซ็นเตอร์ และ SD-WAN โดยคำนึงถึงความท้าทายใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับ trend ของการใช้งาน รวมถึงความท้าทายทางการลงทุนในระบบเครือข่าย เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้งานและดูแลระบบเครือข่ายจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้” กล่าวเสริมโดยคุณประคุณ เลาหกิตติกุล (ภาพ) ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยของ Aruba บริษัทในเครือ Hewlett Packard Enterprise
ที่มา: นิวเวฟ มาร์เก็ตติ้ง เน็ตเวิร์ค